สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม 2564

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมการควบคุมสถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธุ์เดลต้าในไทยมีแนวโน้มดีขึ้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ประกอบกับการจัดงาน Thailand Focus ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน อีกทั้งผลการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เมือง Jackson Hole เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 มีมติคงสภาพคล่องการทำ Quantitative Easing ส่งผลให้ Sentiment ของผู้ลงทุนกลับมาอยู่ในเชิงบวกอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังเห็นสัญญาณเงินทุนเคลื่อนย้ายของ ผู้ลงทุนจากต่างชาติกลับไปยังสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหลักทรัพย์หลายแห่งในภูมิภาค ASEAN ส่งผลให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 32.34 บาทต่อดอลล่าร์ สรอ.

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม 2564

นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 SET Index ปิดที่ 1,638.75 จุด เพิ่มขึ้น 7.7% จากสิ้นเดือนก่อนหน้า เมื่อพิจารณาช่วง 8 เดือนแรกปี 2564 SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 13.1% ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มบริการ

ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย

  • ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 SET Index ปิดที่ 1,638.75 จุด เพิ่มขึ้น 7.7% จากสิ้นเดือนก่อนหน้า เมื่อพิจารณาช่วง 8 เดือนแรกปี 2564 SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 13.1% ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ
  • ในเดือนสิงหาคม 2564 หลายอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 ได้แก่กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มบริการ
  • ในเดือนสิงหาคม 2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 92,589 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 63.8% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยใน 8 เดือนแรกปี 2564 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 95,886 ล้านบาท
  • ผู้ลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเป็นเดือนแรกในปี 2564 โดยในเดือนสิงหาคม 2564 ผู้ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 5,584 ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2564 ผู้ลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม 89,975 ล้านบาท โดยผู้ลงทุนในประเทศมีสถานะเป็นผู้ซื้อสุทธิ 102,609 ล้านบาท นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ลงทุนในประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุดมาอย่างต่อเนื่อง
  • ในเดือนสิงหาคม 2564 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ใน SET 1 บริษัท และ 1 ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยใน 8 เดือนแรกปี 2564 SET มีมูลค่าระดมทุน (IPO) สูงที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ใน ASEAN
  • Forward และ Historical P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 19.3 เท่า และ 20.2 เท่าตามลำดับ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 14.7 เท่า และ 18.2 เท่าตามลำดับ
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 2.38% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 2.35%

ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในเดือนสิงหาคม 2564 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 473,152 สัญญา เพิ่มขึ้น 11.8% จากเดือนก่อน และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 533,152 สัญญา เพิ่มขึ้น 13.4% ที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นของ Single Stock Futures, Gold online futures และ USD Futures เป็นสำคัญ


ข่าวภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์+ภาวะตลาดหลักทรัพย์วันนี้

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2566

ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปี 2566 อยู่ที่ 2.7% จากเดิม 3.4% และในปี 2567 อยู่ที่ 3.2% จากเดิม 3.6% สาเหตุหลักมาจากการเติบโต GDP ในไตรมาส 2/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ล่าช้าและการส่งออกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี IMF คาดว่าสถานการณ์ของไทยจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2566 ผู้ลงทุนมีความกังวลจากการปรับ

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) สมาคมนักวิเคร... FETCO IAA ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอเชิญร่วมสัมมนา "โอกาสหุ้นไทย ภายใต้เศรษฐกิจโลกผันผวน" 8 พ.ย. นี้ — สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA)...

จากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกล... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมีนาคม 2566 — จากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลถึงวิกฤติในธนาคารบางราย...

แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยน... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนธันวาคม 2565 — แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อีกทั้งความเสี่...

หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอก... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤศจิกายน 2565 — หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ...

ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาข... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2565 — ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 ปี 2565 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่ม ชะลอลงแ...

ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของส... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกันยายน 2565 — ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ (FOMC) สะท้อนมุมมองว่าธนาคารกลางสหรัฐต้องการควบคุมเงินเฟ้อ...

จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภค... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกรกฎาคม 2565 — จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลายประเทศเผชิญกับภาวะ...

ความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤษภาคม 2565 — ความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นทำให้ธนาคารหลายแห่งทั่วโลกจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบตึ...

ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียทำให้ราคา... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมีนาคม 2565 — ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นมาก และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์...