สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤษภาคม 2565

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นทำให้ธนาคารหลายแห่งทั่วโลกจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจากมาตรการ Lockdown อย่างเข้มงวดเพื่อสกัดการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 โดยเฉพาะในมณฑลเซี่ยงไฮ้ เป็นสองปัจจัยซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ได้จึงเกิดการปรับฐานของหลายสินทรัพย์ทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์จากหลายแห่งเริ่มให้ความเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อโลกได้เร่งตัวเข้าไปใกล้ระดับสูงสุดแล้วจึงอาจมีแนวโน้มลดลงในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งตัวเลข Purchasing Managers Index (PMI) จีนที่กลับมาขยายตัวในเดือน พ.ค. และจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลง ทำให้มีแนวโน้มที่ทางการจะคลายมาตรการ Lockdown ในเดือนมิ.ย. จึงมีโอกาสที่เงินลงทุนจะไหลกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นอีกครั้ง โดยเห็นสัญญาณจาก ผู้ลงทุนต่างชาติย้ายเงินทุนกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นในภูมิภาค ASEAN

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤษภาคม 2565

นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ใน 5 เดือนแรกปี 2565 ผู้ลงทุนต่างชาติย้ายเงินทุนกลับเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมากเนื่องจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการส่งออกตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนตัว อีกทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังภาครัฐดำเนินนโยบายเปิดประเทศ อย่างไรก็ดี ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 SET Index ปิดที่ 1,663.41 จุด ปรับลดลง 0.2% จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2564 SET Index ยังปรับเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤษภาคม 2565

ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย

  • ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 SET Index ปิดที่ 1,663.41 จุด ปรับลดลง 0.2% จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2564 SET Index ยังปรับเพิ่มขึ้น 0.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค
  • SET Index ใน 5 เดือนแรกปี 2565 ได้แรงหนุนจากอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากการกลับมาเปิดเมือง โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2564 ได้แก่ กลุ่มบริการ กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
  • ในเดือนพฤษภาคม 2565 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 80,095 ล้านบาท ลดลง 26.8% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ใน 5 เดือนแรกปี 2565 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 90,695 ล้านบาท โดย ผู้ลงทุนต่างชาติกลับมามีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดที่ระดับ 47.49% ของมูลค่าการซื้อขายรวม ทั้งนี้ผู้ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยในเดือนพฤษภาคม 2565 ผู้ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 20,937 ล้านบาท ทำให้ใน 5 เดือนแรกปี 2565 ผู้ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิรวม 139,058 ล้านบาท
  • ในเดือนพฤษภาคม 2565 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ใน SET 2 บริษัท ได้แก่ บมจ. โรแยล พลัส (PLUS) บมจ. ฟังก์ชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (FTI) และใน mai 2 บริษัท ได้แก่ บมจ. บริหารสินทรัพย์ ไนท คลับ แคปปิตอล (KCC) บมจ. ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ (BIS)
  • Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 17.3 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 13.1 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 18.5 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 13.9 เท่า
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 2.69% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 2.64%

ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

  • ในเดือนพฤษภาคม 2565 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 472,021 สัญญา เพิ่มขึ้น 24.3% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นของ SET50 Index Futures และ Single Stock Futures อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 ปีเดือนแรกของปี 2565 TFEX ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 556,830 สัญญา เพิ่มขึ้น 2.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ข่าวภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์+ภาวะตลาดหลักทรัพย์วันนี้

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2566

ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปี 2566 อยู่ที่ 2.7% จากเดิม 3.4% และในปี 2567 อยู่ที่ 3.2% จากเดิม 3.6% สาเหตุหลักมาจากการเติบโต GDP ในไตรมาส 2/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ล่าช้าและการส่งออกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี IMF คาดว่าสถานการณ์ของไทยจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2566 ผู้ลงทุนมีความกังวลจากการปรับ

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) สมาคมนักวิเคร... FETCO IAA ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอเชิญร่วมสัมมนา "โอกาสหุ้นไทย ภายใต้เศรษฐกิจโลกผันผวน" 8 พ.ย. นี้ — สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA)...

จากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกล... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมีนาคม 2566 — จากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลถึงวิกฤติในธนาคารบางราย...

แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยน... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนธันวาคม 2565 — แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อีกทั้งความเสี่...

หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอก... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤศจิกายน 2565 — หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ...

ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาข... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2565 — ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 ปี 2565 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่ม ชะลอลงแ...

ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของส... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกันยายน 2565 — ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ (FOMC) สะท้อนมุมมองว่าธนาคารกลางสหรัฐต้องการควบคุมเงินเฟ้อ...

จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภค... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกรกฎาคม 2565 — จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลายประเทศเผชิญกับภาวะ...

ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียทำให้ราคา... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมีนาคม 2565 — ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นมาก และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์...