ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 ปี 2565 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่ม ชะลอลงแต่ยังสูงกว่าระดับเป้าหมายนโยบายการเงิน ส่งผลให้ผู้ลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีกในปีหน้า อีกทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกในปี 2566 ลงจาก 2.9% ไปที่ 2.7% พร้อมส่งสัญญาณกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยซึ่งเป็นผลจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อชะลอเงินเฟ้อ ทำให้ต้นทุนการเงินโลก และค่าเงินดอลล่าร์ปรับตัวแข็งค่าอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการฟื้นตัวของประเทศอื่นๆ ที่สถานะเศรษฐกิจยังเปราะบาง ไม่สามารถต้านทานความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย จนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มสูงขึ้น
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า IMF ประเมินตัวเลขการเติบโตของ GDP ไทยยังคงโตต่อเนื่องทั้งในปี 2565 และ 2566 อยู่ที่ 2.8% และ 3.7% ตามลำดับ จากการกลับมาเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงครึ่งหลังปี 2565 และจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2566 อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าใกล้เคียงกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2566 จากแรงกดดันด้านอุปทานที่ค่อยๆ ลดลงตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ขณะที่แรงกดดันด้าน อุปสงค์มีอยู่จำกัด ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยยังแข็งแกร่ง โดย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2565 SET Index ปรับเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาค
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย
ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
"SET…Make it Work for Everyone"
ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปี 2566 อยู่ที่ 2.7% จากเดิม 3.4% และในปี 2567 อยู่ที่ 3.2% จากเดิม 3.6% สาเหตุหลักมาจากการเติบโต GDP ในไตรมาส 2/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ล่าช้าและการส่งออกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี IMF คาดว่าสถานการณ์ของไทยจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2566 ผู้ลงทุนมีความกังวลจากการปรับ
สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกรกฎาคม 2564
—
การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธ์เดลต้าในไทยเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม...
EXIM BANK ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจและส่งออกไทยปี 68 แตะระดับ 3% เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างยั่งยืน
—
ดร.รักษ์ วรกิจ...
MPA SWU หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
—
M.P.A. (Public Policy) รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรี...
EXIM BANK จับมือ Amazon และกระทรวงพาณิชย์ สนับสนุนทัพสินค้าไทยรุกตลาดการค้า E-commerce
—
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข...
"เศรษฐกิจซบเซา-กำลังซื้อยังไม่ฟื้น" อุปสรรคสำคัญของคนอาเซียนที่อยากมีบ้าน
—
ทุกประเทศในอาเซียนเจ็บป่วยจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นอกจาก...