รมว.คลังซาอุฯ ปลื้ม หลัง IMF ออกแถลงการณ์ยกย่องเศรษฐกิจในรายงานการประเมินภาวะเศรษฐกิจ ประจำปี 2565

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

เจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกแถลงการณ์สรุปยกย่องสถานภาพทางเศรษฐกิจและทางการเงินของราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในช่วงสุดท้ายของการเยือนประเทศเพื่อรายงานการประเมินภาวะเศรษฐกิจของซาอุฯ ประจำปี 2565 (Article IV Consultation) โดยเน้นย้ำถึงแนวโน้มเชิงบวกทางเศรษฐกิจของซาอุฯ ในระยะสั้นและระยะกลาง พร้อมทั้งการฟื้นตัวของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการเสริมแกร่งจุดยืนทางเศรษฐกิจภายนอกของซาอุฯ

ถ้อยแถลงสรุประบุว่า IMF คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของซาอุฯ จะเติบโตขึ้น 7.6% ในปี 2565 ภาคเศรษฐกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (non-oil) จะเติบโตขึ้นราว 4.2% บัญชีเดินสะพัดเกินดุลจะไต่ระดับขึ้นไปที่ 17.2% ของ GDP และอัตราเงินเฟ้อโดยรวมยังคงอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยที่ 2.8%

ถ้อยแถลงระบุว่าซาอุฯ ประสบความสำเร็จในการรับมือการระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมเน้นย้ำว่าซาอุฯ อยู่ในจุดที่สามารถก้าวข้ามความเสี่ยงอันเกิดจากวิกฤตการณ์ในยูเครนและวงจรนโยบายการเงินแบบตึงตัวในประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ซาอุฯ ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตึงตัวแค่ในระดับเล็กน้อย เนื่องจากภาคธนาคารมีสภาพคล่องและเงินทุนในระดับสูง นอกจากนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเองก็พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและการปฏิรูปของรัฐบาลตามวิสัยทัศน์ปี 2573 (Vision 2030)

แถลงการณ์ยังเน้นย้ำอีกว่า แนวโน้มทางเศรษฐกิจของซาอุฯ ในอนาคต เป็นไปในเชิงบวกในระยะสั้นและระยะกลาง โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อได้รับการควบคุม และจุดยืนทางเศรษฐกิจภายนอกของซาอุฯ มีการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เจ้าหน้าที่ IMF ตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิรูปโครงสร้างอย่างต่อเนื่องช่วยให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ครอบคลุม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสังเกตได้จากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดจากโควิด-19 ซึ่งบ่งชี้ว่า แรงสนับสนุนจากการคลังสาธารณะ, ทิศทางการปฏิรูป, ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ช่วยให้ซาอุฯ ฟื้นตัวได้อย่างยอดเยี่ยม โดย GDP ที่แท้จริงจากภาคเศรษฐกิจที่ไม่ใช่น้ำมันเติบโตขึ้น 4.9% ในปี 2564 โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและภาคค้าปลีก (รวมถึงอี-คอมเมิร์ซ) และภาคพานิชย์

นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังระบุว่า อัตราการว่างงานของซาอุฯ ลดลงสู่ระดับ 10.1% ในไตรมาสที่ 1/2565 อันเป็นผลมาจากอัตราการจ้างงานชาวซาอุฯ เพิ่มสูงขึ้นในภาคเอกชน พร้อมกล่าวยกย่องโครงการริเริ่มในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ 2573 ของซาอุฯ

ในแง่ของนโยบายการคลัง คณะผู้แทนของ IMF ยกย่องความมุ่งมั่นของซาอุฯ ในการสร้างการคลังสาธารณะที่มีความยั่งยืน ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการวิ่งตามแนวโน้มทางของวัฏจักรเศรษฐกิจโดยการกำหนดขีดจำกัดการใช้จ่ายที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน นอกจากนี้ IMF ยังคาดด้วยว่าการคลังสาธารณะจะดีกว่าการคาดการณ์งบประมาณที่ตั้งไว้ในปี 2565 และสัดส่วนหนี้สินต่อ GDP จะลดลง

นอกจากนี้ คณะผู้แทนของ IMF ยังเน้นย้ำให้เห็นว่า ความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางการเงินถูกควบคุมไว้ได้อย่างดี เนื่องจากความสามารถในการทำกำไร, สภาพคล่อง และเงินทุนอยู่ในระดับที่ดีตามระบบการธนาคาร และผลกระทบจากภาวะนโยบายการเงินโลกที่ตึงตัวจึงถูกจำกัดไว้ด้วยการเติบโตของสินเชื่อและ GDP ของภาคเศรษฐกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน แต่ส่งผลบวกต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร

แถลงการณ์สรุปจากเจ้าหน้าที่ IMF ได้ยกย่องความพยายามของซาอุฯ เกี่ยวกับนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นว่าทางการซาอุฯ กำลังทำงานเพื่อส่งเสริมการลงทุนในการผลิตไฮโดรเจนสีน้ำเงินและสีเขียว เพิ่มเติมจากความพยายามอย่างต่อเนื่องในการวิจัยและพัฒนาโดยมุ่งเน้นที่การมีเศรษฐกิจคาร์บอนหมุนเวียน

ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายโมฮัมเหม็ด บิน อับดุลลาห์ อัล-จาดาน กล่าวว่า ถ้อยแถลงดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงดัชนีบ่งชี้ในปัจจุบันและแนวโน้มอนาคตที่ดีของเศรษฐกิจซาอุฯ ที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคและความท้าทายมากมายที่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ยังรักษาความยั่งยืนทางการเงิน เสริมสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งของเศรษฐกิจซาอุฯ เอาไว้ได้ พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเชิงโครงสร้างของซาอุฯ ภายใต้วิสัยทัศน์ปี 2573 รวมถึงการมีส่วนสนับสนุนในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมคนทุกกลุ่มในสังคม

ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรู้สึกยินดีอย่างยิ่งจากแถลงการณ์ยกย่องความพยายามของซาอุฯ ในการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ตลอดจนเน้นย้ำว่าขณะนี้ซาอุฯ กำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นจากโควิด โดยอาศัยช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นโอกาสในการเร่งการปฏิรูปที่ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย 2573

ทั้งนี้ คณะผู้แทนของ IMF ออกแถลงการณ์เบื้องต้นหลังจากสิ้นสุดการประเมินภาวะเศรษฐกิจกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในปี 2565 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2565 โดยแถลงการณ์สรุปฉบับดังกล่าวนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงผลการประเมินในแถลงการณ์ฉบับก่อนหน้า


ข่าวกองทุนการเงินระหว่างประเทศ+ระหว่างประเทศวันนี้

EXIM BANK ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจและส่งออกไทยปี 68 แตะระดับ 3% เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน ยกระดับธุรกิจไทยแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างยั่งยืน

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุน และการบริโภค ควบคู่กับความต้องการจากต่างประเทศในภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกซึ่งมีแนวโน้มขยายตัว เป็นผลจากเศรษฐกิจโลกขยายตัวต่อเนื่อง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกปี 2568 จะขยายตัว 3.2% (เท่ากับปี 2567) และการค้าโลกปี 2568 จะขยายตัว 3.4%

ซาอุดีอาระเบียได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ (IMFC)

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ (International...

ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่าง... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2566 — ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปี 2566 อยู่ที่ 2.7% จากเดิม...

M.P.A. (Public Policy) รัฐประศาสนศาสตรมหา... MPA SWU หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ — M.P.A. (Public Policy) รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรี...

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนา... EXIM BANK จับมือ Amazon และกระทรวงพาณิชย์ สนับสนุนทัพสินค้าไทยรุกตลาดการค้า E-commerce — ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข...

CGTN: การประชุมเอเปค: จีนส่งเสริมการพัฒนาอย่างครอบคลุมและเปิดกว้างในเอเชียแปซิฟิก พร้อมเรียกร้องยกระดับเศรษฐกิจในภูมิภาค

อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และโรคระบาดครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ ล้วนมีส่วนทำให้มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ...

ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาข... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2565 — ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 ปี 2565 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่ม ชะลอลงแ...

ทุกประเทศในอาเซียนเจ็บป่วยจากวิกฤติการแพร... "เศรษฐกิจซบเซา-กำลังซื้อยังไม่ฟื้น" อุปสรรคสำคัญของคนอาเซียนที่อยากมีบ้าน — ทุกประเทศในอาเซียนเจ็บป่วยจากวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่นอกจาก...

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธ์เดล... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกรกฎาคม 2564 — การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธ์เดลต้าในไทยเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม...