ทีเซลส์ ผนึกเครือข่ายด้านชีววิทยาศาสตร์ จัดงาน Bio Asia Pacific 2022 หนุนงานวิจัยทางการแพทย์-สุขภาพ ออกสู่ตลาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ VNU Asia Pacific (วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค) ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายด้านชีววิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค จัดงาน Bio Asia Pacific 2022 ภายใต้แนวคิด Power of Collaboration in Pushing Forward the Life Sciences Industry ผสานพลังความร่วมมือเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์ สุขภาพ และชีววิทยาศาสตร์ ตั้งเป้าเชื่อมโยงนักวิจัยและนักลงทุน ผลักดันผลงานวิจัยออกสู่ตลาด รองรับกับสถานการณ์ในอนาคตพร้อมเปิดโอกาสสู่การลงทุน

ทีเซลส์ ผนึกเครือข่ายด้านชีววิทยาศาสตร์ จัดงาน Bio Asia Pacific 2022 หนุนงานวิจัยทางการแพทย์-สุขภาพ ออกสู่ตลาด

พบกับนิทรรศการและการประชุมสัมมนา นำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยี ด้านการแพทย์และสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของภูมิภาค และความร่วมมือจากหลากหลายองค์กรเพื่อสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ อาทิ กิจกรรม Pitch & Partner ,Company Presentations,กิจกรรม One-on-One Partnering, การลงนาม MOU และอีกหลากหลายกิจกรรมเพื่อตอกย้ำพลังแห่งความร่วมมือด้านการแพทย์และสุขภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยจัดร่วมกับงาน Thailand LAB INTERNATIONAL และงาน FutureCHEM INTERNATIONAL 2022 ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2565 ณ ฮอลล์ 102 ไบเทค บางนา และบนแพลตฟอร์มออนไลน์ https://bioasiapacific.com/ ทีเซลส์ ผนึกเครือข่ายด้านชีววิทยาศาสตร์ จัดงาน Bio Asia Pacific 2022 หนุนงานวิจัยทางการแพทย์-สุขภาพ ออกสู่ตลาด

ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า "จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ตอกย้ำให้เห็นว่างานวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตของมนุษย์ หลากหลายงานวิจัยได้ถูกนำมาพัฒนาทั้งเพื่อการป้องกัน การรักษา ไปจนถึงการฟื้นฟู เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเราได้เห็นถึงความร่วมมือครั้งสำคัญของนานาประเทศ ในการแบ่งปันองค์ความรู้ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยจากห้องทดลอง ให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นแล้ว ความร่วมมือดังกล่าว ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพก้าวขึ้นมามีบทบาทในหลากหลายมิติ ทั้งด้านคุณภาพชีวิต และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สำหรับประเทศไทย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการเชื่อมโยง การดำเนินงานทางด้านชีววิทยาศาสตร์ การแพทย์และสุขภาพ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือด้านการแพทย์และสุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และมองไปถึงโอกาสในอนาคต จึงได้ร่วมกับ VNU Asia Pacific พร้อมด้วยเครือข่าย องค์กร หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ  จัดงาน Bio Asia Pacific 2022 ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลักดันให้ผลงานวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพได้ออกจากห้องแลปสู่การใช้งานจริง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ    กับความท้าทายของระบบสุขภาพและโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ตลอดจนต่อยอดสู่การเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

โดยการจัดงาน Bio Asia Pacific 2022 ในครั้งนี้ ได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน ศกนี้ ทั้งในรูปแบบ On-Site ณ ฮอลล์ 102 ไบเทค บางนา และในรูปแบบ Online บนแพลตฟอร์ม https://bioasiapacific.com/  ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดนิทรรศการและการประชุมสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญของไทยและนานาชาติกับหัวข้อที่น่าสนใจ เช่น Lesson Learned from COVID-19:Innovations for the Next Pandemic,Thailand Medical Technology Landscape,2022 Thailand Life Sciences Industry Updates, MedTech Trends to Watch in 2022, Kick-Off ความร่วมมือ TCELS & LIVE FINCORP (LiVE platform), Synthetic Biology: Biotechnology for Future of Thai Bio Industries, Taiwan-Thailand Pharma CDMO Business Seminar, Regulatory Sciences กับการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านการแพทย์สู่เชิงพาณิชย์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงความร่วมมือทางธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวิจัยเพื่อเข้าสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ อาทิ Pitch & Partner และ Company Presentations การเปิดพื้นที่นำเสนอแนวคิดและแผนงานธุรกิจด้านการแพทย์และสุขภาพเพื่อร่วมพัฒนางานวิจัยออกสู่ตลาด, กิจกรรม One-on-One Partnering การแสวงหาความร่วมมือในหลากหลายมิติเพื่อต่อยอดสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ และการลงนาม MOU ระหว่างองค์กรชั้นนำเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถของงานวิจัยให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดงาน Bio Asia Pacific 2022 ในครั้งนี้ ได้จัดร่วมกับงาน Thailand LAB INTERNATIONAL งานแสดงสินค้าและงานประชุมนานาชาติด้านเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมกับงาน FutureCHEM INTERNATIONAL 2022 งานแสดงผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านเคมีเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้การจัดงานครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ การแพทย์และสุขภาพได้อย่างครบวงจร

พบกับพลังแห่งความร่วมมือด้านการแพทย์และสุขภาพครั้งสำคัญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก้าวสู่ความท้าทายและโอกาสอันไร้ขีดจำกัดของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในงาน Bio Asia Pacific 2022 ระหว่างวันที่ 14 - 16 กันยายน ศกนี้ ที่ ฮอลล์ 102 ไบเทค บางนา และบนแพลตฟอร์มออนไลน์  https://bioasiapacific.com/ รับชมวิดีโอการจัดงานได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=R2Ijv0A0MBk


ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+กระทรวงการอุดมศึกษาวันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์... TCELS จัดอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา TRIUP Act และ FTO — ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร "ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ...