การส่องกระจกบ่อยๆ เพื่อเช็คดูความเรียบร้อยของรูปร่างหน้าตาเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงทุกคน แต่! ใครจะรู้บ้างว่า พฤติกรรมการส่องกระจกที่มากเกินไปอาจมาจากอาการป่วยทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวเองนั่นก็คือ "โรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตัวเอง"หรือ Body Dysmorphic Disorder ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้...
"โรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตัวเอง"คือความรู้สึกที่ไม่พึงพอใจในรูปร่างและหน้าตาของตัวเองเกินปกติ จัดอยู่ในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ คือ มีอาการคิดซ้ำๆ มีความไม่พอใจและชอบเปรียบเทียบกับผู้อื่น ร่วมกับมีพฤติกรรมทำซ้ำ เช่น ส่องกระจกบ่อยๆ ถามผู้อื่นซ้ำๆ ด้วยความกังวล เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือส่งผลต่อการเรียนและการทำงาน และพบว่ามีการกระทำที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง เช่น การผ่าตัดศัลยกรรมบ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตามการไม่ชอบรูปร่างหน้าตาของตัวเองก็ไม่ได้จัดเป็นโรคหรืออาการป่วยเสมอไป ต้องพิจารณาตามความถี่ของอาการที่แสดง อย่างพฤติกรรมการสังเกตรูปร่างหน้าตาตัวเอง หากเป็นบ่อยครั้งโดยเฉลี่ย 3-8 ชั่วโมงต่อวัน จึงเข้าข่ายเป็นโรค อาจส่องกระจกทั้งวันจนไม่เป็นอันทำงานหรือเรียนหนังสือ มีความคิดที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา ผ่าตัดศัลยกรรมซ้ำซาก ไม่รู้สึกพอใจในตัวเองจนเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต แบบนี้ถือเป็นอาการป่วยที่ควรได้รับการรักษา
** แต่ถ้าหากเป็นการสังเกตตัวเองปกติ ส่องกระจกปกติ ทำศัลยกรรมบ้างเล็กน้อยก็รู้สึกพอใจแล้ว แบบนี้ถือเป็นเรื่องปกติไม่จัดเป็นโรคและไม่จำเป็นต้องรักษา
ส่วนปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตัวเองนั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่การที่ผู้ป่วยมีรูปร่างผอม อ้วน หรือมีหน้าตาที่ไม่โดดเด่นแต่อย่างใด แต่เกิดจากพื้นฐานภายในจิตใจของผู้ป่วยเอง ที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง อาจเกิดจากค่านิยมในครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตา หรืออาจเป็นผลมาจากค่านิยมในสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย ส่วนค่านิยมที่มาจากสื่อหรือคนดังที่นิยมทำศัลยกรรม อาจส่งผลบ้างแต่ไม่มากนัก เป็นเพียงปัจจัยเสริมเท่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงโดยตรง
** ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุอยู่ที่15-30 ปี และผู้หญิงมักเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนมากกว่าผู้ชาย จึงใส่ใจในตัวเองและพบข้อบกพร่องในตัวเองมากกว่าผู้ชาย
อาการแบบไหน? ที่เป็นสัญญาณบอกว่าเราอาจกำลังเผชิญอยู่กับ "โรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตัวเอง"
อาการที่ตัวผู้ป่วยเองหรือคนรอบข้าง สามารถสังเกตได้ คือ
ทำอย่างไร? ถึงจะเอาชนะ"โรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตัวเอง"ได้
ต้องบอกก่อนว่าโรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความคิดของเราโดยตรง ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ด้วยการหันมาคิดในเชิงบวก หาสิ่งที่ชอบในตัวเองและโฟกัสในสิ่งนั้น ค่อยๆลดหรือจำกัดเวลาในการส่องกระจกลง และพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสังคมหรือสถานการณ์ที่อึดอัดบ้างเพื่อก้าวข้ามการหลบหนีความจริงและก้าวข้ามความรู้สึกแย่ๆ ที่มีต่อตัวเองไปได้ แต่หากทำแล้วยังไม่รู้สึกดีขึ้นควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาและหาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วต่อไป
ในวันที่คุณต้องตื่นเช้าขึ้นมา ทั้งที่ยังรู้สึกหมดแรง ทั้งที่ใจไม่ไหว แต่ก็ต้องฝืนเดินต่อ คุณไม่ได้เผชิญสิ่งนี้เพียงลำพัง หลายคนอาจคิดว่า...เหนื่อยก็พัก เดี๋ยวก็หาย แต่ในความเป็นจริง เมื่อความเหนื่อยล้าสะสมทั้งกายและใจ จนเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ หรือหน้าที่การงาน นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของความเครียดเรื้อรัง หรือแม้แต่โรคซึมเศร้าโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนว่า...ใจคุณอาจไม่ไหวแล้ว รู้สึกหมดแรงแม้ไม่ได้ใช้แรงกาย นอนไม่หลับ หรือหลับมากเกินไป ไม่มีความสุขกับสิ่งที่เคยชอบ
การฆ่าตัวตาย ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุเสมอไป
—
เมื่อพูดถึง "การฆ่าตัวตาย" หลายคนมักนึกถึงโรคซึมเศร้าเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริง ปัจจัยที่ผลัก...
ซึมเศร้า - แพนิค - วิตกกังวล วิธีแยกอาการ และแนวทางการรักษา
—
ทุกวันนี้ คำว่า "ซึมเศร้า" "แพนิค" และ "วิตกกังวล" ถูกพูดถึงกันมากขึ้น แต่หลายคนยังแยกไม่ออก...
ทำไมความเศร้าบางครั้งอาจไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้า? รู้จัก "โรคไบโพลาร์" ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
—
ในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ จากการใช้ชีวิตใ...
ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น Masked Depression ภัยเงียบที่คุณอาจมองไม่เห็น
—
มาทำความความรู้จักกับ "ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น" หรือ Masked Depression เป็นภาวะที่หลายคน...
อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เปิดผลสำรวจเนื่องในวัน "Blue Monday": โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคแพนิค ครองแชมป์ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน
—
ความเครียดและควา...
ต้องทานยาไปตลอดชีวิตไหม? มาทำความเข้าใจการรักษาโรคซึมเศร้ากันเถอะ
—
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก แม้ว่...
4 ขั้นตอนการดูแลจิตใจตัวเองของผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยซึมเศร้า
—
"เหนื่อยไหม?" คำถามที่แพทย์มักถามญาติผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสมอ เพราะการดูแลคนที่เรารักที่กำลังเผชิญ...
โรคซึมเศร้าไม่มีทางออกจริงหรือ? รู้จักทางเลือกในการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
—
"โรคซึมเศร้า" อาจเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าโรคนี้สามารถร...
การพัฒนาแอปพลิเคชัน "PHUP โฮมฮัก ฮีลใจ วัยทีน"
—
สถานการณ์สุขภาพจิตในประเทศไทยจากรายงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภาวะด้านสังคม...