ม.มหิดล เปิดห้องเรียนพฤกษศาสตร์สร้างสุนทรียะ ด้วย "ศิลปะกินได้" จากสมุนไพรรอบตัว

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

"สุนทรียศาสตร์" ไม่ได้เป็นเพียงปรัชญาแห่งการชื่นชมความงามทางด้านดนตรี หรือศิลปะ แต่ยังรวมถึงธรรมชาติของพืชพันธุ์ต่างๆ ที่นอกจากจะได้ดื่มด่ำกับความงามที่สามารถนำมาทำเป็นยาแล้ว ยังได้เพิ่มพูนความรอบรู้ทางสุขภาวะ(Health Literacy) เป็น "ตำราแห่งชีวิต" ที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพดี และมีความรู้ซึ่งจะพึ่งพาตัวเองได้ต่อไปในอนาคต

ม.มหิดล เปิดห้องเรียนพฤกษศาสตร์สร้างสุนทรียะ ด้วย "ศิลปะกินได้" จากสมุนไพรรอบตัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงเบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะอาจารย์ผู้ก่อตั้งรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป "สมุนไพรในชีวิตประจำวัน" สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ม.มหิดล เปิดห้องเรียนพฤกษศาสตร์สร้างสุนทรียะ ด้วย "ศิลปะกินได้" จากสมุนไพรรอบตัว

ด้วยเทคนิคการออกแบบชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม แม้ในบางส่วนจะเป็นการเรียนแบบออนไลน์ ในช่วงที่มีสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล จากหลากหลายคณะ และชั้นปี แต่รายวิชาเปิดให้นักศึกษาทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรี และการบ้านที่ให้นักศึกษาได้ลองไปสำรวจสมุนไพรรอบตัวที่บ้าน แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง ทำให้ชั้นเรียนเต็มไปด้วยความคึกคักมีชีวิตชีวา

ในชั้นเรียนที่นักศึกษาได้สัมผัส และลงมือปฏิบัติจริง เช่น การใช้สีจากสมุนไพร การทำยาดมสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพรอีกทั้งยังได้ให้นักศึกษาลองรับประทานผักพื้นบ้านที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการคู่สำรับอาหารไทย เพื่อให้ได้รู้จักและเข้าถึงสมุนไพรน่ารู้ต่างๆ อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงเบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร ยังได้ขยายผลสู่ประชาชนทั่วไป โดยได้ก่อตั้งเพจ "Herbal Appreciation" เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์และสมุนไพรที่ไม่มีวันสิ้นสุดโดยที่ผ่านมาทางภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการจัดโครงการ "Herbal Walk" สำรวจสมุนไพรในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ทำความรู้จักพฤกษศาสตร์ของพืชสมุนไพร และการทำตัวอย่างพรรณไม้แห้งอย่างง่าย "Herbarium" ที่สามารถนำไปศึกษา หรือสร้างสรรค์งานศิลปะได้ต่อไปอีกมากมาย

ก้าวต่อไปเตรียมพัฒนาสู่รายวิชาออนไลน์ทาง MUx เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้สมุนไพรสู่ประชาชนทั่วไปอย่างไร้ขีดจำกัด พร้อมรับประกาศนียบัตรออนไลน์จากมหาวิทยาลัยมหิดลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงเบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร ได้ฝากความเห็นทิ้งท้ายไว้ว่า สมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันและอยู่คู่สังคมไทยมาแต่แรกอยู่แล้ว เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่เข้ามาอาจทำให้การใช้สมุนไพรดูเป็นเรื่องไกลตัวมากขึ้

ทั้งที่จริงๆ แล้วในชีวิตคนเรา ตั้งแต่ตื่นนอนก็พบเจอสมุนไพรในอาหาร ออกจากบ้านก็เจอต้นไม้พืชสมุนไพรปลูกอยู่ตามทาง สีสันหลายอย่างก็มาจากพืชสมุนไพร เพียงแค่เปิดประตูออกไปสูดอากาศและสัมผัสธรรมชาติที่อยู่ภายนอก จะพบความงดงามที่ทำให้เกิดความสุขทางใจ และพบประโยชน์มากมายจากนานาพืชสมุนไพรที่อยู่รอบตัว

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

.

 


ข่าวมหาวิทยาลัยมหิดล+คณะเภสัชศาสตร์วันนี้

มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ มอบรางวัลอายิโนะโมะโต๊ะอวอร์ด แก่นักวิจัยดีเด่นด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ นำโดย ธีระชัย ขันธิกุล กรรมการ รองเลขาธิการ และผู้ช่วยรองเหรัญญิก มอบโล่รางวัล Ajinomoto TSB สำหรับนักเทคโนโลยีชีวภาพที่มีความโดดเด่น ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม เน้นด้านสุขภาพและการแพทย์ ประจำปี 2566 พร้อมทุนสนับสนุนงานวิจัยมูลค่า 100,000 บาท ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิง นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ สังกัด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่อง การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้... วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าสู่การเป็น Zero Food Waste Business School — มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิง...

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ... เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568 — คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...