How to ต่อสู้ฝุ่น PM2.5

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

PM 2.5 หรือ ฝุ่นควันพิษ ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และยิ่งดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง กระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืด ภูมิแพ้ คัน พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ PM 2.5 เพิ่มเติมว่า นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแล้ว ในฝุ่นควันพิษยังมีสารโลหะหนักปนอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมียม และอื่นๆ เมื่อเราต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษไปนานๆทำให้เกิดของเสียสะสมในร่างกายได้ค่ะ ซึ่งถ้าปล่อยไว้เรื้อรังก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น

How to ต่อสู้ฝุ่น PM2.5
  • โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

คุณหมอได้แนะนำวิธีการดูแลตัวเองง่ายๆ เพื่อรับมือกับฝุ่นควันพิษและโลหะหนักสะสมดังนี้ค่ะ

  1. สวมหน้ากากอนามัย ที่สามารถกรองอนุภาคได้ละเอียด หรือ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือสถานที่มีฝุ่นควันพิษสะสม
  2. หลีกเลี่ยงหากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ควรหาเวลาพักในที่ร่มเป็นระยะ หรืออยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  3. เปิดเครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกรองอนุภาคได้อย่างละเอียด เมื่ออยู่ในบ้านหรืออาคาร
  4. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดหลังกลับจากบริเวณที่มีฝุ่นควันพิษ
  5. ทาครีมหรือโลชั่นที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของผิว
  6. ตรวจหาสารพิษสะสมเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และทำการล้างสารพิษ ด้วยวิธีทางการแพทย์หรือที่เรียกว่า Chelation โดยการใช้สารที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น EDTA ในการจับกับสารพิษและขับออกจากร่างกาย ซึ่งนอกจากช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายแล้ว ยังช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น เปรียบเสมือนการล้างหลอดเลือดให้สะอาดขึ้นค่ะ ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้ดีขึ้น แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้นค่ะ

ข่าวกฤดากร เกษรคำ แพทย์+ไลฟ์เซ็นเตอร์วันนี้

โรคเบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลสูง แต่อันตรายกว่านั้น

โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นโรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ (60-110 mg/dL) แบบเรื้อรัง โดยปกติอินซูลิน (Insulin) จะเป็นตัวนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แต่ถ้ามีความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินได้น้อยลง หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)j ได้อธิบายเพิ่มเติม

ใครบ้างคะ...ที่ช่วงนี้กำลังอินกับพระเอกหน... คู่มือดูแลตัวเองในวัย 40 — ใครบ้างคะ...ที่ช่วงนี้กำลังอินกับพระเอกหนุ่มใหญ่ซีรีส์เกาหลี แม้อายุจะเข้าเลข 4 แต่ก็ยังหล่อโอปป้า ทำสาวไทยใจละลาย...

เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจก... อาหารที่ดีต่อหัวใจ — เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจกันหน่อยค่า หัวใจแข็งแรงดีอยู่ไหม? เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ การรักษาสุขภาพหัวใจเป็น...

เริ่มต้นปีใหม่มาดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ต้นปี... ตรวจสุขภาพเชิงป้องกันสำหรับผู้สูงวัยสำคัญอย่างไร? — เริ่มต้นปีใหม่มาดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ต้นปีด้วยการตรวจสุขภาพกันนะคะ ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งจำเป็นเพ...

อยากมีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก ยุคนี้มีตัว... เปิดลิสต์ 7 อาหารช่วยชะลอวัย — อยากมีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก ยุคนี้มีตัวช่วยมากมายทั้งวิตามินเทคโนโลยี แต่ถ้าอยากชะลอวัยแบบง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง สามารถ...

คงปฎิเสธไม่ได้ว่า "ความอ่อนเพลียระหว่างวั... เคล็ดไม่ลับแก้อาการอ่อนเพลียระหว่างวัน — คงปฎิเสธไม่ได้ว่า "ความอ่อนเพลียระหว่างวัน" คือศัตรูตัวร้ายของวัยทำงานโดยเฉพาะ ในช่วงเวลาหลังพักเที...

เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือช่วงอายุตั้งแต่ 50 ... อาหารสำหรับวัยทอง — เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ร่างกายก็เริ่มผลิตฮอร์โมนทางเพศได้ไม่เหมือนเดิม นำมาซึ่งอาการผิดปกติมากมาย ไม่ว่าจะ...

การตรวจสุขภาพพื้นฐานเป็นสิ่งที่ควรตรวจเป็... ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร จำเป็นไหม ใครควรตรวจ? — การตรวจสุขภาพพื้นฐานเป็นสิ่งที่ควรตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดโรค และนอกจ...

สมองล้า เพลีย ไม่ปลอดโปร่ง ความจำแย่ลง ระ... 5 สารอาหารช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท — สมองล้า เพลีย ไม่ปลอดโปร่ง ความจำแย่ลง ระบบประสาทเสื่อม เช่น ชาปลายมือ ปลายเท้า เหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้...