คู่มือดูแลตัวเองในวัย 40

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ใครบ้างคะ...ที่ช่วงนี้กำลังอินกับพระเอกหนุ่มใหญ่ซีรีส์เกาหลี แม้อายุจะเข้าเลข 4 แต่ก็ยังหล่อโอปป้า ทำสาวไทยใจละลายโดนตกกันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่สาวไหนที่กำลังจะใกล้หลักสี่ อย่างพึ่งน้อยใจ สาวๆ วัยนี้ก็ดูดีได้ไม่แพ้กัน ความลับของการดูอ่อนกว่าวัยไม่ได้อยู่ที่ยาวิเศษ หรือการศัลยกรรม แต่อยู่ที่การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอค่ะ

คู่มือดูแลตัวเองในวัย 40

พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) มาบอกคู่มือดูแลตัวเองในวัย 40 ว่า วัยนี้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเกี่ยวกับผิวพรรณที่เริ่มมีริ้วรอย เมแทบอลิซึมที่ช้าลง และฮอร์โมนที่เริ่มแปรปรวน ดังนั้นถ้าอยากดูอ่อนกว่าวัย ต้องดูแลตั้งแต่ผิวพรรณ การปรับอาหารการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน ไปจนถึงการดูแลสุขภาพจิตใจ

1.ใส่ใจเรื่องการบำรุงผิว

ผู้หญิงวัย 40 ต้องการบำรุงผิวมากขึ้น เนื่องจากผิวสูญเสียคอลลาเจนและความยืดหยุ่น ส่งผลให้เกิดริ้วรอยความหย่อนคล้อยได้ง่าย คุณหมอแนะนำดังนี้

  • ใช้ครีมกันแดดทุกวัน ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป และมีค่า PA+++ จะช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB รวมถึงป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย โดยควรทาทุกวัน แม้ในวันที่ไม่ได้ออกจากบ้านก็ตาม
  • เพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว เลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูรอนิก และเซราไมด์ จะช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นในชั้นผิวได้ดี นอกจากนี้ ควรบำรุงด้วยซีรัมที่ช่วยฟื้นฟูผิวในช่วงกลางคืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผิวขณะหลับ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิว หากมีผิวแห้งควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อครีมเข้มข้น ในขณะที่ผิวมันควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมัน และไม่อุดตันรูขุนขน
  • อย่าลืมดูแลผิวรอบดวงตา เพราะเป็นบริเวณแรที่เกิดริ้วรอยได้ง่าย การใช้ครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของเปปไทด์ และวิตามิน E จะช่วยลดรอยคล้ำและริ้วรอยได้เป็นอย่างดี ควรนวดเบาๆ ขณะทาเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

2.ปรับอาหารการกิน

โภชนาการที่ดี เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญของวิธีดูแลตัวเองไม่ให้แก่ อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพและความงามจากภายใน

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักใบเขียว เช่น ผักโขม บรอกโคลี โปรตีนไขมันต่ำ จากปลา ไก่ และถั่ว ผลไม้น้ำตาลต่ำ เช่น สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่
  • ลดน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตขัดขาว เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ช่วยให้ระบบภายในทำงานได้ดีและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว โดยควรดื่มน้ำเปล่า และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือน้ำตาลสูง
  • บริโภคอาหารเสริม คอลลาเจนและวิตามิน C ช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ผิว เพิ่มความยืดหยุ่น ส่วน Omega-3 ช่วยลดการอักเสบและบำรุงสมอง อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกอาหารเสริมเพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดี

3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักและรักษาสุขภาพหัวใจแล้ว ยังช่วยชะลอวัย เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออีกด้วย โดยมีแนวทางดังนี้

  • ผสมผสานการออกกำลัง ทำทั้งคาร์ดิโอ และการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยแบ่งเป็นการทำคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น การยกน้ำหนัก เพื่อป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • โยคะหรือพิลาทิสช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการปวดเมื่อย อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดปรับสภาพจิตใจให้ผ่อนคลาย
  • เดินเล่น หรือออกกำลังกายกลางแจ้งบ้างในช่วงเช้า นอกจากจะช่วยให้ได้รับวิตามิน Dแล้ว ยังช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญและความสดชื่นให้สุขภาพจิตด้วย

4.พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยทำให้ร่างกายฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ให้ผิวพรรณดูอ่อนกว่าวัย

  • นอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน เวลา 00-02.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายซ่อมแซมตัวเองได้ดีที่สุด ลดการเกิดรอยคล้ำใต้ตาและริ้วรอย
  • งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน 1 ชั่วโมง แสงสีฟ้าจากจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คือตัวทำลายฮอร์โมนเมลาโทนิน ทำให้หลับยาก ควรปิดอุปกรณ์และทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือฝึกการหายใจเพื่อเตรียมตัวเข้านอน
  • ใช้หมอนหรือปลอกหมอนที่ช่วยลดการเสียสดสี ปลอกหมอนที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าซาตินจะช่วยลดการเสียดสี ป้องกันการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าในขณะนอนหลับ และยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผมอีกด้วย

5.จัดการความเครียด ความเครียดทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งมีผลต่อการเกิดริ้วรอย การจัดการความเครียด ทำให้สุขภาพกายและจิตใจสมดุลมากขึ้น

  • ฝึกสมาธิ หรือทำ Mindfulness ฝึกสมาธิวันละ 5-10 นาที ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล รวมถึงการทำ Mindfulness หรือฝึกจดจ่อกับปัจจุบัน ช่วยให้มีสติในการเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น
  • หางานอดิเรกที่ชอบ สามารถช่วยลดความตึงเครียดและเพิ่มความสุขในชีวิตได้
  • พบปะสังสรรค์ การได้หัวเราะและใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณรักจะช่วยสร้างฮอร์โมนแห่งความสุข และลดความเครียดได้อย่างดีเยี่ยม

ข่าวกฤดากร เกษรคำ แพทย์+ไลฟ์เซ็นเตอร์วันนี้

โรคเบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลสูง แต่อันตรายกว่านั้น

โรคเบาหวาน (Diabetes) ที่เราคุ้นเคยกันจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นโรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ (60-110 mg/dL) แบบเรื้อรัง โดยปกติอินซูลิน (Insulin) จะเป็นตัวนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ แต่ถ้ามีความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินได้น้อยลง หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี)j ได้อธิบายเพิ่มเติม

เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจก... อาหารที่ดีต่อหัวใจ — เดือนแห่งความรักนี้ มาลองเช็คสุขภาพหัวใจกันหน่อยค่า หัวใจแข็งแรงดีอยู่ไหม? เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ การรักษาสุขภาพหัวใจเป็น...

เริ่มต้นปีใหม่มาดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ต้นปี... ตรวจสุขภาพเชิงป้องกันสำหรับผู้สูงวัยสำคัญอย่างไร? — เริ่มต้นปีใหม่มาดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ต้นปีด้วยการตรวจสุขภาพกันนะคะ ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งจำเป็นเพ...

อยากมีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก ยุคนี้มีตัว... เปิดลิสต์ 7 อาหารช่วยชะลอวัย — อยากมีสุขภาพดีไม่ใช่เรื่องยาก ยุคนี้มีตัวช่วยมากมายทั้งวิตามินเทคโนโลยี แต่ถ้าอยากชะลอวัยแบบง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง สามารถ...

คงปฎิเสธไม่ได้ว่า "ความอ่อนเพลียระหว่างวั... เคล็ดไม่ลับแก้อาการอ่อนเพลียระหว่างวัน — คงปฎิเสธไม่ได้ว่า "ความอ่อนเพลียระหว่างวัน" คือศัตรูตัวร้ายของวัยทำงานโดยเฉพาะ ในช่วงเวลาหลังพักเที...

เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือช่วงอายุตั้งแต่ 50 ... อาหารสำหรับวัยทอง — เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ร่างกายก็เริ่มผลิตฮอร์โมนทางเพศได้ไม่เหมือนเดิม นำมาซึ่งอาการผิดปกติมากมาย ไม่ว่าจะ...

การตรวจสุขภาพพื้นฐานเป็นสิ่งที่ควรตรวจเป็... ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร จำเป็นไหม ใครควรตรวจ? — การตรวจสุขภาพพื้นฐานเป็นสิ่งที่ควรตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดโรค และนอกจ...

สมองล้า เพลีย ไม่ปลอดโปร่ง ความจำแย่ลง ระ... 5 สารอาหารช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท — สมองล้า เพลีย ไม่ปลอดโปร่ง ความจำแย่ลง ระบบประสาทเสื่อม เช่น ชาปลายมือ ปลายเท้า เหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้...

PM 2.5 หรือ ฝุ่นควันพิษ ยังคงเป็นปัญหาที่... How to ต่อสู้ฝุ่น PM2.5 — PM 2.5 หรือ ฝุ่นควันพิษ ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และยิ่งดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ ...