ฟิทช์ เรทติ้งส์: ความสามารถในการทำกำไรที่อ่อนแอลงของบริษัทหลักทรัพย์ไทยอาจกระตุ้นให้เกิดการควบรวมกิจการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวในรายงานฉบับใหม่ว่า "ความสามารถในการทำกำไรที่อ่อนแอของบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยอาจนำไปสู่แรงกระตุ้นที่สูงขึ้นสำหรับการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กที่ไม่ได้อยู่ภายใต้กลุ่มบริษัทแม่ (independent companies) และมีเครือข่ายธุรกิจ (franchise) ที่ค่อนข้างอ่อนแอ" ทั้งนี้ ความสามารถในการทำกำไรในภาคอุตสาหกรรมในปี 2566 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี เนื่องจากสภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่อ่อนแอและการแข่งขันที่รุนแรง

การควบรวมกิจการอาจเป็นปัจจัยบวกต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมในระยะกลาง การมีจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ที่ค่อนข้างมากในอุตสาหกรรมและมีรายได้ที่ผันผวนนั้นเป็นข้อจำกัดต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธุรกิจหลักทรัพย์ อีกทั้งแรงกดดันต่อความสามารถในการทำกำไรน่าจะเป็นปัจจัยที่จำกัดโอกาสของการปรับเพิ่มอันดับเครดิตในระยะสั้น สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตจากสถานะทางเครดิตของตัวบริษัทเอง (standalone credit profile)
ปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างมากจากจุดสูงสุดในปี 2564 โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนรายย่อย อีกทั้งอัตราค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์โดยเฉลี่ยก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน ในขณะที่แหล่งรายได้จากธุรกิจอื่นนั้นยังคงไม่เพียงพอที่จะชดเชยการปรับตัวลดลงของรายได้จากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้สภาวะการลงทุนของตลาดการเงินในประเทศยังได้รับผลกระทบจากเรื่องอื้อฉาวทางบัญชีของบริษัทขนาดใหญ่บางแห่งและการผิดนัดชำระหนี้ในช่วงปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่าผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมธุรกิจหลักทรัพย์น่าจะเริ่มปรับตัวมีเสถียรภาพหรือปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566-2567 โดยมีจำนวนบริษัทที่รอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (IPO) คงค้างเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหนุนผลการดำเนินงาน ในขณะที่ผลการดำเนินงานและปริมาณธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์อาจได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของสถานะการณ์ตลาดโลก

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก รายงานเรื่อง "Thailand Securities Sector: November 2023" ที่ www.fitchratings.com


ข่าวภาวะตลาดหลักทรัพย์+บริษัทหลักทรัพย์วันนี้

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2566

ในเดือนตุลาคมปี 2566 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปี 2566 อยู่ที่ 2.7% จากเดิม 3.4% และในปี 2567 อยู่ที่ 3.2% จากเดิม 3.6% สาเหตุหลักมาจากการเติบโต GDP ในไตรมาส 2/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ล่าช้าและการส่งออกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี IMF คาดว่าสถานการณ์ของไทยจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2566 ผู้ลงทุนมีความกังวลจากการปรับ

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) สมาคมนักวิเคร... FETCO IAA ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอเชิญร่วมสัมมนา "โอกาสหุ้นไทย ภายใต้เศรษฐกิจโลกผันผวน" 8 พ.ย. นี้ — สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA)...

จากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกล... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนมีนาคม 2566 — จากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลถึงวิกฤติในธนาคารบางราย...

แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยน... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนธันวาคม 2565 — แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อีกทั้งความเสี่...

หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอก... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤศจิกายน 2565 — หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ...

ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาข... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนตุลาคม 2565 — ตัวเลขเศรษฐกิจจริงของประเทศสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 ปี 2565 ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปเริ่ม ชะลอลงแ...

ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของส... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกันยายน 2565 — ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐ (FOMC) สะท้อนมุมมองว่าธนาคารกลางสหรัฐต้องการควบคุมเงินเฟ้อ...

จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภค... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกรกฎาคม 2565 — จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลายประเทศเผชิญกับภาวะ...

ความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้... สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนพฤษภาคม 2565 — ความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นทำให้ธนาคารหลายแห่งทั่วโลกจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินแบบตึ...