DITP เปิดตัวต้นแบบสินค้า CO-BRAND สุดครีเอท จาก 7 พันธมิตรชั้นนำ ผนึกกำลังนักออกแบบรุ่นใหม่ ร่วมโชว์ไอเดียกว่า 69 รายการ ภายใต้โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก

24 Oct 2023
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัวต้นแบบสินค้าจากกิจกรรม CO-BRAND ระหว่าง 7 พันธมิตรชั้นนำและนักออกแบบรุ่นใหม่ กว่า 69 รายการ ภายใต้โครงการส่งเสริม นักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ปี 2566 หรือ Designers' Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023 ที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถให้นักออกแบบ เพื่อยกระดับแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก พร้อมแสดงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ เตรียมต่อยอดโอกาสทางการค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจากนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, นายพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ และนางสาวประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า รวมทั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และรุ่นพี่ศิษย์เก่า Alumni Teamมาร่วมแสดงความยินดีและ ชื่นชมผลงานความสำเร็จกันอย่างคับคั่งนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์
DITP เปิดตัวต้นแบบสินค้า CO-BRAND สุดครีเอท จาก 7 พันธมิตรชั้นนำ ผนึกกำลังนักออกแบบรุ่นใหม่ ร่วมโชว์ไอเดียกว่า 69 รายการ ภายใต้โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก

กล่าวว่า "โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลกเป็นโครงการที่กรมให้ความสำคัญ ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์จากทั่วประเทศ สามารถนำการออกแบบมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ พัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับ ยกระดับสินค้าไทย ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดสากล โดยกรมจะเดินหน้าผลักดันและส่งเสริมนักออกแบบไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชีย"นางสาวประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า"ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 20 ปี กรมได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการส่งออกไปแล้วกว่า 744 ราย เพื่อผลักดันให้สามารถพัฒนาธุรกิจและปรับตัว ให้ตอบสนองกับความต้องการของตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวสู่การเป็น "แบรนด์นักออกแบบ" หรือ "เป็นผู้ประกอบการส่งออกรายใหม่" ที่สร้างมูลค่าทางการค้าและมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ ในปีนี้มีนักออกแบบที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศ จำนวน 60 แบรนด์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามประเภทสินค้า/บริการ ได้แก่ นักออกแบบกลุ่มสินค้าแฟชั่น Designers' Room 34 ราย นักออกแบบกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ Talent Thai 22 ราย และนักออกแบบกลุ่มธุรกิจบริการออกแบบ Creative Studio 4 ราย ทั้งนี้ นักออกแบบที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ ให้สอดรับกับเศรษฐกิจยุคใหม่ และแนวโน้มเมกะเทรนด์โลก โดยผ่านการอบรม 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรความรู้พื้นฐานการเป็นนักออกแบบระดับสากลและหลักสูตรค่ายบ่มเพาะนักออกแบบไทยสู่สากลโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ปี 2566 ได้บ่มเพาะความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นรอบด้านแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ทั้ง 60 แบรนด์ที่ผ่านเข้าร่วมโครงการฯ จากทั้งผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานต่างๆ และเหล่าพันธมิตร ที่มาร่วมมอบองค์ความรู้ คำแนะนำ และโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างแบรนด์ (CO-BRAND) จนออกมาเป็นผลงานแห่งความสำเร็จสุดสร้างสรรค์ร่วมกับพันธมิตรทั้ง 7 ได้แก่Q DESIGN AND PLAY โดยคุณประพัฒน์ สมบูรณ์สิทธิ์ แบรนด์แฟชั่นผู้ชายที่หยิบยกประเด็นจากสิ่งรอบตัวในสังคมมาเล่าใหม่ผ่านงานออกแบบอย่างมีอารมณ์ขันเชิงประชดประชัน มีแนวคิดการ Collaboration โดยนำเสนอสินค้าที่มีจุดเด่นเข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ อาทิ แบรนด์ Honnan ที่นำเสื้อสูทมาUpcycle ใหม่เป็นกระเป๋า โดยดึงอัตลักษณ์สไตล์สตรีทของ Q DESIGN AND PLAY มาผสานกับ jigsaw design concept ของแบรนด์ Honnan กลายเป็นกระเป๋าที่สามารถถอดประกอบได้และยังคงรูปลักษณ์ของเสื้อสูทSARRAN แบรนด์เครื่องประดับที่ถ่ายทอดเรื่องราวและความงดงามของผู้หญิงไทย โดยคุณศรัณญ อยู่คงดีและแบรนด์น้ำหอมน้องใหม่ MADE IN SOUL ภายใต้การดูแลของคุณศรัณญ ที่มาปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับนักออกแบบมากมาย อาทิ Marionsiam แบรนด์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่ออกคอลเลคชั่นใหม่เป็น Limited Edition Hawaii Shirt โดยลวดลายและสีสันบนเสื้อได้รับแรงบันดาลใจมาจากVincent Van Gogh ที่ดูสนุก เข้าใจง่าย และสวมใส่สบายMOBELLA GALLERIA โดยคุณอนุพล อยู่ยืน แบรนด์ฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นด้านการนำเอกลักษณ์ความเป็นไทยมาผสานเข้ากับรูปแบบฟอร์นิเจอร์ได้อย่างลงตัว นำมาสู่ผลงานการต่อยอดรูปแบบต่าง ๆ อาทิ แบรนด์กระเป๋า MINCE ที่นำเอา "เก้าอี้ช้าง" ของ MOBELLA มาผสมผสานกับการออกแบบกระเป๋า จนออกมาเป็นเก้าอี้ช้างที่มีลูกเล่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลายขึ้นQUALY แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดีไซน์ ที่เชื่อในพลังของการออกแบบเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนไปพร้อมกับการปกป้องโลกและสิ่งแวดล้อม โดยคุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ที่มีแนวคิดการ CO-BRAND เพื่อสร้างผลงานที่กระตุ้นให้สังคมตระหนักเรื่องความยั่งยืนร่วมกับนักออกแบบรุ่นใหม่ อาทิ แบรนด์ Wastematters ที่ออกแบบแจกัน "Way of Waste" ที่สื่อถึงความสมดุลของคนและธรรมชาติ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการจัดแจกัน Ikebana ที่แปลว่า ดอกไม้มีชีวิต SC Grand มีบทบาทเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sustainable Textileจากโรงงานผลิต ซึ่งมีนักออกแบบให้ความสนใจมาร่วมสร้างผลงานจากวัสดุและเศษผ้าเหลือใช้จำนวนมาก อาทิ แบรนด์ SEDAR W. ที่นำด้ายหรือเศษผ้าจาก SC GRAND มาม้วนเป็นก้อนกลม เพื่อทำเป็นก้อนกักเก็บกลิ่นและกระจายกลิ่น หรือ "Scented ball" พร้อมถาดวางลูกบอลที่นำเศษผ้าไปผสมปูนสร้างสีสันและลวดลายจากเศษผ้าที่เหลือบนถาดบ้านและสวน ถือเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนนักออกแบบในโครงการ ตั้งแต่การจัดหาข้อมูลอินไซต์กลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบการแต่งบ้าน ไปจนถึงโปรโมตผลงานของนักออกแบบในช่องทางออนไลน์ เพื่อให้นักออกแบบสามารถดึงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่ ภายใต้โจทย์ Techno Local โดยมีนักออกแบบที่ดึงเสน่ห์ท้องถิ่นมาประยุกต์กับความเป็นสมัยใหม่ได้อย่างลื่นไหล อาทิ แบรนด์ Tayaliving ที่นำกระติ๊บจากภาคอีสานมาพัฒนาให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้งานในยุคปัจจุบัน ที่สามารถทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใส่ข้าวเหนียวหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ปรับแต่งได้ตามใจชอบและสุดท้าย Limited Education โครงการภายใต้การดูแลของร้อยพลังการศึกษา (TCFE)มูลนิธิเพื่อ "คนไทย" ที่มีเป้าหมายในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้เด็กไทย ผ่านยอดระดมทุนจากการจำหน่ายสินค้าที่ดำเนินงานร่วมกับนักออกแบบในโครงการฯ โดยในปีนี้มีการแบ่งทีมนักออกแบบเป็น 5 ทีม และสื่อสารปัญหาการศึกษาภายใต้โจทย์ 5 วิชาสามัญ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ 5 อย่าง ได้แก่ เครื่องประดับ "ลูกเก๋า", ผ้าห่ม "ลอสสะตาร์", ชุดเสื้อผ้า "วัตถุฮาไว", กระเป๋า "ฮาว อา ยู ทูเด๊?" และกระเป๋าผ้า "Tote bag for SOCIETY"ทั้งนี้ ทางโครงการฯ และเหล่าพันธมิตร ยังเตรียมต่อยอดโอกาสทางการค้าให้นักออกแบบอีกมากมาย เช่น งานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair 2024 ระหว่างวันที่ 21 - 25 กุมภาพันธ์ 2567 งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 20 - 24 มีนาคม 2567 การเข้าร่วมงาน Milan Design Week ระหว่างวันที่ 13 - 18 เมษายน 2567 การเข้าร่วม Showroomณ นครเซี่ยงไฮ้ ช่วงเดือนเมษายน 2567 การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า MAISON & OBJET ณ กรุงปารีส 2024 และเจรจาการค้าผ่านแพลตฟอร์ม m.o.m. ช่วงเดือนกันยายน 2567 รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่าง ๆ