กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายห้องปฏิบัติการสาธารณสุขระดับภูมิภาค ยกร่างแผนพัฒนาระบบและสมรรถนะห้องปฏิบัติการสุขภาพหนึ่งเดียวของประเทศไทย สร้างความเข้มแข็ง พร้อมตอบโต้ภัยคุกคามด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและสมรรถนะห้องปฏิบัติการ ประจำปี 2567 เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR) ในการพัฒนาศักยภาพระบบห้องปฏิบัติการของประเทศภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว และยกร่างแผนกลยุทธ์การพัฒนาระบบและสมรรถนะของห้องปฏิบัติการสุขภาพหนึ่งเดียวของประเทศไทย (พ.ศ. 2568 - 2570) ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและสมรรถนะห้องปฏิบัติการ ภายใต้คำสั่งคณะกรรมการกฎอนามัยระหว่างประเทศ ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการสาธารณสุขระดับภูมิภาค (Regional Public Health Laboratory Network: RPHL Network) จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและสมรรถนะห้องปฏิบัติการ ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ในด้านระบบห้องปฏิบัติการ และยกร่างแผนกลยุทธ์การพัฒนาระบบและสมรรถนะของห้องปฏิบัติการสุขภาพหนึ่งเดียวของประเทศไทย (พ.ศ. 2568 - 2570) (National 'One Health' Laboratory Strategic Plan for Thailand, 2025 - 2027) เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินกิจกรรมและขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับห้องปฏิบัติการของประเทศในทุกระดับให้มีความเข้มแข็ง พร้อมตอบโต้ภัยคุกคามด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว โดยมีคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและสมรรถนะห้องปฏิบัติการจากหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมการประชุมให้ข้อคิดเห็นต่อร่างแผนกลยุทธ์การพัฒนาระบบและสมรรถนะของห้องปฏิบัติการสุขภาพหนึ่งเดียวของประเทศไทย (พ.ศ. 2568 - 2570) อีกทั้งมีคณะทำงานจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์บูรณาการห้องปฏิบัติการระดับชาติและพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO Thailand) และหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (United States Agency for International Development: USAID) เข้าร่วมสังเกตการณ์และสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการประชุมนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia One Health University; SEAOHUN) ภายใต้โครงการเครือข่ายห้องปฏิบัติการสาธารณสุขระดับภูมิภาค (RPHL Network)
N Health Novogene จับมือ ศิริราชพยาบาล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เท็นกุ (Xcoo) บริษัทจากประเทศญี่ปุ่น พัฒนาแพลตฟอร์มแปลผลการกลายพันธุ์ของยีนมะเร็ง โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลจากโครงการจีโนมิกส์ประเทศไทย บริษัท เอ็นเฮลท์ โนโวยีน จีโนมิกส์ จำกัด ภายใต้การบริหารงานของ N Health ในเครือ BDMS ผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมที่ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลและรักษาสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล ผ่านห้องปฎิบัติการจีโนมิกส์โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ขั้นสูงและได้มาตรฐานสากล
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ผู้ประกอบการโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เฝ้าระวังตัวเรือด เชื้อลีจิโอเนลลา และเชื้อไวรัสโนโร ด้วย 3C
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ความเข้าใจ ระบบคุณภาพ OECD GLP สร้างความเข้มแข็งหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ
—
สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศา...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยโควิด 19 สายพันธุ์ JN.1* ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในไทย แนะกลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
—
นายแพทย์ยงย...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาคุณภาพการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพิ่มความแม่นยำในการรักษาเบาหวาน
—
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิท...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...