ดีพร้อม ติดอาวุธ Hero Brand เติมความรู้ "เทรนด์ความงาม ปี 2025" เปิดมุมมองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลักดันเครื่องสำอางไทยก้าวสู่เวทีสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงและมีความหลากหลายมากขึ้น "เทรนด์" กลายเป็นหนึ่งเครื่องมือทรงพลังที่จะผลักดันธุรกิจให้ก้าวสู่เวทีสากล กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ร่วมกับสาขาเคมีผลิตภัณฑ์และธุรกิจเครื่องสำอาง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดประตูให้ Hero Brand พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยและปรับตัวให้เข้ากับความต้องการใหม่ของตลาด ผ่าน "กิจกรรมการพัฒนาภาพลักษณ์แบรนด์และผลิตภัณฑ์สู่ Fashion Hero Brand สาขาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและความงามไทย" ในหัวข้อ Future of Beauty: Trends and Forecasts 2025

ดีพร้อม ติดอาวุธ Hero Brand เติมความรู้ "เทรนด์ความงาม ปี 2025" เปิดมุมมองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลักดันเครื่องสำอางไทยก้าวสู่เวทีสากล

นายเกียรติภูมิ แสงศร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอร์สเมติค อินโนวาทีค แลบ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง กล่าวว่า อุตสาหกรรมความงามและการดูแลส่วนบุคคลทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จากการขับเคลื่อนของเทคโนโลยี ความยั่งยืน และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องความยั่งยืน ที่แบรนด์ต่าง ๆ ให้การยอมรับและเน้นทำผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งข้อมูลจากแหล่งวิจัยชั้นนำชี้ให้เห็นถึง 4 เทรนด์สำคัญในปี 2025 ดังนี้

  1. ความยั่งยืนและความโปร่งใส (Sustainability & Transparency)

หนึ่งในแกนหลักของอุตสาหกรรมความงามโลกปี 2025 และต่อเนื่องถึงอนาคต เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ไม่เพียงต้องการ "ผลลัพธ์ที่ดี" แต่ยังต้องการให้ผลิตภัณฑ์และแบรนด์ "ดีต่อโลก" ด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตราย และใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ หรือรีไซเคิลได้ อีกทั้งต้องมีความโปร่งใสของส่วนผสม ซึ่งผู้บริโภคต้องการทราบถึงส่วนผสมและแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยและจริยธรรมของผลิตภัณฑ์ สะท้อนจากผลสำรวจผู้บริโภคที่พบว่า 67% ของ Gen Z ในเอเชียให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากกว่าราคาถูก และ 78% ของผู้บริโภคในยุโรปและอเมริกาเหนือเลือกแบรนด์ที่มีความโปร่งใสเรื่องส่วนผสม รวมถึงแบรนด์ที่เน้นความโปร่งใสมียอดขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 10-20%

  1. เทคโนโลยีและการปรับแต่งเฉพาะบุคคล (Technology & Personalization)

เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ความงามระดับโลกที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2025 และต่อเนื่องไปอีกหลายปี โดยคาดการณ์ว่าตลาด AI ในเครื่องสำอางจะเติบโตจาก 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 สู่ 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ซึ่งการใช้ AI และ AR ในการวิเคราะห์สภาพผิวและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลกำลังได้รับความนิยม เพื่อมอบประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่แม่นยำและตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะราย โดย AI ช่วยให้แบรนด์นำข้อมูลของผู้บริโภคไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์และประสบการณ์การใช้งานให้ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคล รวมทั้งแก้ pain point เช่น วิเคราะห์จากภาพถ่าย หรือการสแกนใบหน้า เพื่อประเมินความชุ่มชื่น, จุดด่างดำ หรือริ้วรอย ในขณะที่การใช้ AR ให้ผู้ใช้ลองเมคอัพเสมือนจริงผ่านกล้องมือ ช่วยลดปัญหาการคืนสินค้าในอีคอมเมิร์ซ

  1. ความเป็นอยู่ที่ดีและการดูแลตนเอง (Wellness & Self-Care)

ปัจจุบันผู้บริโภคไม่ได้ต้องการเพียง "ผิวที่ดี" แต่ยังต้องการสุขภาพจิตดี การนอนหลับดี ความสมดุลของร่างกายและอารมณ์ ส่งผลให้เกิดนวัตกรรม "Well-Beauty Integration" ซึ่งเชื่อมโยง "สกิน แคร์ บวก สุขภาพ บวก จิตใจ" เข้าด้วยกัน Wellness & Self-Care จึงกำลังกลายเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมความงามปี 2025 ไม่ว่าจะเป็นการบูรณาการสุขภาพและความงาม อาทิ สกินแคร์ที่ช่วยในการนอนหลับ ผลิตภัณฑ์ช่วยลดความเครียด และการดูแลตนเองแบบองค์รวม โดยผู้บริโภคมองหาผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแค่ดูแลผิวพรรณ แต่ยังส่งเสริมสุขภาพจิตและความเป็นผู้ที่ดูดีโดยรวม ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงพฤติกรรมผู้บริโภค ระบุว่า 72% ของผู้บริโภค Gen Z และ Millennials ใช้สกินแคร์เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพจิต และตลาดสินค้า Beauty + Wellness คาดว่าจะมีมูลค่ารวมกว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

  1. ความงามที่ครอบคลุมและหลากหลาย (Inclusivity & Diversity)

เทรนด์นี้กำลังกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของความงามทั่วโลกในปี 2025 โดยผู้บริโภคคาดหวังให้แบรนด์ "ยอมรับและเคารพตัวตนที่แตกต่าง" ทั้งในเรื่องสีผิว เพศ วัยศาสนา ความพิการ และอัตลักษณ์ทางเพศ (LGBTQ+) ผ่านผลิตภัณฑ์ การสื่อสาร และการตลาดอย่างจริงใจ ซึ่งปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ กำลังขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ เพื่อรองรับความหลากหลาย เพื่อให้ทุกคนรู้สึกเป็นที่ยอมรับ รวมถึงทำการตลาดที่ครอบคลุม ผ่านการใช้โมเดลและมีผู้อิทธิพลจากหลากหลายภูมิหลังในแคมเปญการตลาด เพื่อสะท้อนถึงความหลากหลายของผู้บริโภค

นายเกียรติภูมิ แสงศร กล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจาก 4 เทรนด์หลักแล้ว พฤติกรรมผู้บริโภคยังเปลี่ยนมาซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ โซเชียลมีเดีย หรือช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ มากขึ้น ทั้ง TikTok เฟซบุ๊ค ไอจี ซึ่งเป็นอีกเทรนด์ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ โดยหากมีการใช้แพลตฟอร์มออนล์ ร่วมกับ AI หรือ AR จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจง่ายขึ้น และช่วยลดต้นทุนให้เจ้าของแบรนด์จากการไม่ต้องมีหน้าร้าน นอกจากนี้ อินฟลูเอนเซอร์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ดาราเบอร์หนึ่งอย่างเดียวในการประชาสัมพันธ์


ข่าวกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม+มหาวิทยาลัยศิลปากรวันนี้

ดีพร้อม ดึง อย. ติวเข้มผู้ประกอบการเครื่องสำอาง Hero Brand กลยุทธ์ปั้นแบรนด์ผ่านมาตรฐานสินค้า พร้อมโฆษณาให้ถูกกฎหมาย ไม่ต้องเสี่ยงเสียค่าปรับ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ร่วมกับหลักสูตรเคมีผลิตภัณฑ์และธุรกิจเครื่องสำอาง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขับเคลื่อน Hero Brand สู่แบรนด์ระดับสากล ผ่าน "กิจกรรมการพัฒนาภาพลักษณ์แบรนด์และผลิตภัณฑ์สู่ Fashion Hero Brand สาขาอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและความงามไทย" เติมเต็มความรู้เรื่อง "คุณภาพมาตรฐาน ข้อควรระวังในสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง" และ "การโฆษณาและการจัดทำฉลากตามกฎหมายเครื่องสำอาง" ให้กับผู้ประกอบการเครื่องสำอาง โดยมีเภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานอาหารและยา (อย.)

กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาห... ดีพร้อม พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล จัดใหญ่2025 — กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ขอเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม...