แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในฤดูร้อนอุณหภูมิโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 35 - 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทำให้เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น แบคทีเรีย โนโรไวรัส เป็นต้น หากปนเปื้อนอยู่ในอาหารจะทำให้อาหารบูดเสียง่าย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคติดต่อจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคดังกล่าว
นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก "5 ถูก" คือ 1) ซื้อถูกที่ การเลือกซื้ออาหารนั้นต้องเลือกซื้อจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานราชการ เช่น มาตรฐาน SAN สถานที่จำหน่ายอาหารนั้นต้องมีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ2) ล้างถูกวิธี อาหารสด ผัก และผลไม้ ที่ซื้อมาเพื่อนำมาประกอบอาหาร ควรมีการล้างทำความสะอาดก่อนนำมาปรุงประกอบอาหาร หากเป็นเนื้อสัตว์ ควรล้างด้วยน้ำสะอาด 2 - 3 ครั้งเพื่อลดกลิ่นคาว ส่วนผัก และผลไม้ แนะนำการล้าง 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 ล้างด้วยน้ำไหล โดยแช่ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านและคลี่ใบผักถูไปมานาน 2 นาที วิธีที่ 2 แช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด วิธีที่ 3 แช่ในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) ในอัตราส่วนครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้น ล้างด้วยน้ำสะอาด 3) ปรุงถูกสุขลักษณะ ในการปรุงอาหารนั้นต้องปรุงอาหารให้สุกด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไม่ควรปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ นอกจากนั้นผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขวิทยา ส่วนบุคคลที่ดี ได้แก่ การสวมผ้ากันเปื้อน สวมหมวกคลุมผม ตัดเล็บให้สั้น ล้างมือก่อนปรุงอาหารและหลังเข้าห้องส้วม และใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหาร ไม่ใช้มือสัมผัสอาหารโดยตรง 4) เก็บถูกต้อง สำหรับอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ เมื่อล้างทำความสะอาดแล้วยังไม่นำมาปรุงทันที ต้องเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส ส่วนอาหารปรุงสำเร็จที่รอรับประทานหรือรอจำหน่ายต้องใส่ในภาชนะที่ปลอดภัย มีการปกปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร ส่วนอาหารปรุงสำเร็จที่ซื้อมารับประทานหากไม่รับประทานทันที ก็ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส เช่นกัน 5) กินถูกหลัก การรับประทานอาหารในหน้าร้อนนั้น ต้องยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนอย่างทั่วถึง หากจะรับประทานอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็นรวมไปถึงอาหารที่ทำไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นให้เดือดด้วยความร้อนอย่างทั่วถึงก่อน น้ำดื่ม ควรดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำบรรจุขวดที่ได้มาตรฐานน้ำบริโภค รวมไปถึงน้ำแข็งต้องเป็นน้ำแข็งที่ผลิตเพื่อการบริโภคและได้มาตรฐานรับรอง และไม่รับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหาร หรือ สิ่งของอื่นใด นอกจากนี้ หากรับประทานอาหารร่วมกันควรใช้ช้อนกลางเพื่อป้องกันโรคติดต่อ และก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องส้วมต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่มากับมือเรา
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าหมายลดการคลอดก่อนกำหนดของหญิงไทย พร้อมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ เพื่อดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด เน้นย้ำ การตรวจคัดกรองโรคที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การคลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะที่ทารกยังพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงและอันตรายหลายด้าน อาทิ ปอดของทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะยังสร้างสารลดแรงตึงผิวได้ไม่เพียงพอ ทำให้ปอดขยายตัวได้ยาก
กรมอนามัย-AOT-อบต.หนองปรือ การันตรีด้วยมาตรฐาน SAN 102 ร้านอาหาร ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว
—
กรมอนามัย กระท...
ร้อนจัดอันตราย! ภูเก็ต ร้อนสุด กรมอนามัย แนะประชาชนเตรียมรับอากาศร้อน-พายุฤดูร้อน
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยจังหวัดภูเก็ต Heat Index อยู่ในระดับอันต...
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ สืบสานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารก เร่งป้องกันปัญหาการคลอดก่อนกำหนด
—
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกปลาบปลื้...
กรมอนามัย ร่วมงาน เวที "สานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัยไปด้วยกัน"
—
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายให้ แพทย์หญิงนงนุช ภัทรอนันตนพ รองอธิ...
สธ. ลงพื้นที่เฝ้าระวังสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก จังหวัดเชียงใหม่
—
วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่ม...
ผลตรวจฝุ่นในพื้นที่อาคาร สตง. พบโลหะหนัก แร่ใยหินในเกณฑ์ปกติ แต่มีฝุ่นละออง PM10 เกินมาตรฐาน แนะ สวมหน้ากากป้องกันการระคายทางเดินหายใจ
—
กรมอนามัย ลงพื้นท...
กรมอนามัย สุ่มตรวจคุณภาพน้ำประปาพื้นที่แม่อาย เชียงใหม่ ไม่พบการปนเปื้อนสารหนู และตะกั่วเกินมาตรฐาน
—
จากกรณีลำน้ำกกมีสีขุ่น และได้เก็บตัวอย่างน้ำผิวดินจา...
กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...