น้ำท่วมก็ไม่กลัว แล้งก็ไม่หวั่น.. "ธนาคารน้ำใต้ดิน" โมเดลเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสของเกษตรกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ในวันที่สภาพอากาศสุดขั้วกลายเป็นเรื่องปกติใหม่ของโลก "น้ำ" กลายเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของเกษตรกรไทย ฝนตกหนักจนน้ำท่วม หรือฝนแล้งจนไม่มีน้ำทำการเกษตร ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทำให้หลายชุมชนเริ่มมองหาแนวทางบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน หนึ่งในแนวคิดที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นคือ "ธนาคารน้ำใต้ดิน" ระบบกักเก็บน้ำธรรมชาติที่ช่วยลดความเสี่ยงจากทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง เปลี่ยนวิธีคิดจาก "รอฝน" เป็น "เก็บน้ำ" และส่งต่อโอกาสให้การเกษตรเดินหน้าได้อย่างมั่นคง

น้ำท่วมก็ไม่กลัว แล้งก็ไม่หวั่น.. "ธนาคารน้ำใต้ดิน" โมเดลเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสของเกษตรกร

"เมื่อปี 2564 หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าของเรา มีปัญหาภัยแล้งซ้ำซากอย่างหนัก ทำให้ต้องซื้อน้ำมาใช้ในการเลี้ยงหมูและปลูกพืช แต่พอฝนตกหนัก กลับมีปัญหาน้ำท่วมขัง จึงต้องหาแนวทางแก้ปัญหา จนพบแนวคิด "ธนาคารน้ำใต้ดิน" ซึ่งเป็นระบบเติมน้ำฝนหรือน้ำส่วนเกินในฤดูฝน ลงไปเก็บในชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน เหมือนการออมทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้ยามจำเป็น เราจึงเริ่มทำโครงการนับตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีปัญหาภัยแล้งหรือน้ำท่วมขังอีกเลย" ภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เล่าถึงที่มา น้ำท่วมก็ไม่กลัว แล้งก็ไม่หวั่น.. "ธนาคารน้ำใต้ดิน" โมเดลเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสของเกษตรกร

โครงการเริ่มต้นด้วยการร่วมมือกันของเกษตรกรในหมู่บ้านฯ และทีมงานซีพีเอฟที่เป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนหมู่บ้านฯ มาตลอด 48 ปี ควบคู่กับการถ่ายทอดความรู้อย่างลึกซึ้ง จากสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ โดยผนวกความรู้ทางธรณีวิทยา การไหลของน้ำ และแนวคิดพึ่งพาตนเอง จนสามารถพัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งแบบเปิดและแบบปิดได้อย่างครบวงจร ช่วยหล่อเลี้ยงทั้งการเลี้ยงหมูและการปลูกพืชซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชนได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่น้ำที่เพียงพอ แต่ยังช่วยลดต้นทุนค่าน้ำได้ถึงปีละ 1 ล้านบาท แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำเน่าเสีย เพิ่มความชุ่มชื้นในดิน ยกระดับสุขอนามัยในชุมชน จนทำให้หมู่บ้านฯ แห่งนี้กลายเป็น "ศูนย์เรียนรู้ธนาคารน้ำใต้ดิน" ที่หลายชุมชนเข้ามาศึกษาและนำไปปรับใช้

จากความสำเร็จของหนองหว้า ที่เป็นต้นแบบของการ "ฝากน้ำไว้กับดิน" ขยายผลสู่ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำหน้าแล้งมายาวนาน

"ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และซีพีเอฟ ร่วมมือกันภายใต้แนวคิด "ขีด คิด ร่วม ข่าย" ริเริ่มโครงการธนาคารน้ำใต้ดินอย่างเป็นระบบ โดยศึกษาดูงานจากหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ไปจนถึงการขุดบ่อธนาคารน้ำแบบเปิดและปิดภายในพื้นที่ รวม 10 บ่อ ชาวชุมชนสามารถนำพื้นที่เดิมที่ถูกน้ำท่วมขังกลับมาใช้ประโยชน์ทางเกษตรได้มากกว่า 50 ไร่ มีน้ำใช้ในการเลี้ยงหมูและปลูกพืชได้ตลอดปี พร้อมต่อยอดสู่โครงการ "1 บ้าน 1 บ่อ" ให้ครอบคลุมครบ 40 ครัวเรือนภายในปี 2569" พิเชษฐ์ ใหญ่แก่นทราย ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร บอกอย่างภูมิใจ

ที่นี่ไม่ได้หยุดอยู่แค่การจัดการน้ำ แต่ยังพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ ที่เปิดให้ชุมชนอื่นๆ เข้ามาศึกษาดูงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนรุ่นใหม่ หน่วยงานท้องถิ่น และเกษตรกรจากทั่วประเทศ สิ่งที่น่าทึ่งไม่ใช่แค่เทคโนโลยีหรือโครงสร้างของบ่อธนาคารน้ำ แต่คือ "กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน" ที่ทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นว่า พวกเขาสามารถดูแลทรัพยากรของตนเองได้จริง

วันนี้ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ ต่อยอดความสำเร็จของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินทั้งสองหมู่บ้าน สู่สถานประกอบการของบริษัทอีก 8 แห่ง ทั้งที่ ฟาร์มสุรินทร์ ฟาร์มยโสธร ฟาร์มจอมทอง ฟาร์มวังชมภู ฟาร์มอุดมสุข ฟาร์มราชบุรี รวมถึงที่โรงชำแหละสุกรจันทบุรีและยโสธร ให้หันมากักเก็บน้ำไว้ใช้เอง ลดการพึ่งพาน้ำดิบจากธรรมชาติ

โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งที่หนองหว้า กำแพงเพชร รวมถึงฟาร์มและโรงชำแหละของซีพีเอฟ สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง แต่เป็นการผสานพลังของชุมชน ภาคเอกชน และองค์ความรู้ท้องถิ่นเข้าด้วยกัน ธนาคารน้ำใต้ดินจึงไม่ได้เป็นแค่บ่อเก็บน้ำใต้ดิน แต่กลายเป็นสัญลักษณ์ของการ "คิดอย่างเป็นระบบ ทำอย่างมีส่วนร่วม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง" ที่ช่วยให้ชุมชนมีทรัพยากรน้ำเพียงพอ รองรับวิถีชีวิตเกษตรกรรม และสร้างความมั่นคงทางน้ำในระยะยาว เพราะการฝากน้ำไว้กับดิน คือการวางรากฐานเพื่อความมั่นคงในอนาคต./

คลิกชมคลิป YouTube >> https://youtube.com/shorts/QbCxr7OjnzE?si=zi65FzAkUczibiBO

คลิกชมคลิป TikTok >>https://www.tiktok.com/@cpf.journey/video/7527128878117031188?is_from_webapp=1&sender_device=pc&web_id=7416584634233243154


ข่าวบริหารจัดการน้ำ+ธนาคารน้ำใต้ดินวันนี้

แหล่งเรียนรู้ "ธนาคารน้ำใต้ดิน หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า" นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำยั่งยืน

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ และยังช่วยรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ต่างๆด้วย หากแต่ปริมาณน้ำบนโลกนี้เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เหลืออีกเพียงร้อยละ 3 เป็นน้ำจืด ถ้าหากแบ่งในปริมาณน้ำจืดนี้เป็น 100% พบว่าเป็นธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็งมากถึง 70% ส่วนอีก 29% เป็นน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล และมีเพียง 1% เป็นน้ำผิวดิน การเก็บกักน้ำไว้บนผิวดินเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ กลายเป็นทั้งเรื่องที่จำเป็น

กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยา... เกาะติดข้อเท็จจริง การบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูฝน ปี 2568 — กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ได้มีการคาดการณ์ว่าปี 2...

สทนช. ติดตามการขุดลอกแม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำรวก พร้อมรับมืออุทกภัยปีนี้

สทนช. บูรณาการหน่วยงานประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าชั่วคราวฯ ลุ่มน้ำโขงเหนือ เร่งติดตามความก้าวหน้าการขุดลอกแม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำรวก การก่อสร้างพนังกั้นน้ำ และการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ รับมืออุทกภัยปีนี้ พร้อมชู "จ....

เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จ.พะเยา ติดตามค... สทนช. ติดตามการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา พร้อมรับมืออุทกภัยตลอดฤดูฝนปีนี้ — เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จ.พะเยา ติดตามความก้าวหน้ามาตรการรับมือฤดูฝน ปี 68 แ...

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกร... สกพอ. จับมือ 9 หน่วยงานรัฐ เอกชน ร่วมสร้างสมดุลการใช้น้ำ สู่พื้นที่อีอีซีอย่างยั่งยืน — นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภ...