SET9: ตลท.รับหน่วยลงทุน สลิป/แคป ตัวแรกเข้าตลาดเริ่ม 3 กันยายนนี้

02 Sep 1999

กรุงเทพ--2 ก.ย.--ตลท.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ประกาศรับหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้น บุริมสิทธิ-หุ้นกู้ด้อยสิทธิของ บมจ. ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ เข้าซื้อขายในตลาดเป็นตัวแรก

เริ่มเทรด 3 กันยายนนี้เป็นต้นไปอัตราค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขายต่อรองได้เสรี แนะนักลงทุนและโบรกเกอร์ ควรศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขเรื่องการถือหน่วยลงทุน และการ โอน ตามประกาศของ ก.ล.ต. ให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลงทุนประเภทบุคคล ธรรมดา ที่ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งจัดเป็นผู้ลงทุนสถาบันประเภทที่ 17 ตามประกาศ ก.ล.ต.

ตามที่ กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน 14 ส.ค. 2541 ให้สถาบันการเงินที่ขอเข้าโครงการสนับสนุนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1) สามารถเพิ่มทุนด้วยการออกตราสารใหม่ "หุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ"หรือที่เรียก กันทั่วไปว่า SLIPs หรือ CAPs หรือ SUPER CAPs และกำหนดให้สถาบันการเงิน ดังกล่าวสามารถนับเงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เข้าเป็นเงินกอง ทุนขั้นที่ 1 ได้ไม่เกินร้อยละ 25 นั้น ปรากฏว่ามีธนาคารพาณิชย์ให้ความสนใจระดมทุนด้วย การออกตราสารใหม่นี้เป็นจำนวนมาก

นายสุรัตน์ พลาลิขิต รองผู้จัดการ ผู้ทำการแทนผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนให้หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิควบ หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตลท. ได้รับหน่วยลงทุนของกองทุน รวมหุ้นบุริมสิทธิควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ บมจ.ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ เข้ามาเป็นหลักทรัพย์ แรกที่จะจดทะเบียนซื้อขาย เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2542 เป็นต้นไป จำนวนทั้งสิ้น 666,700,000 หน่วย มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10 บาท รวมมูลค่า 6,667 ล้านบาท โดย ใช้ชื่อย่อในระบบซื้อขายว่า TDBCAP และได้กำหนดหลักเกณฑ์รองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ ประเภทนี้ ดังต่อไปนี้

วิธีการซื้อขาย

ซื้อขายได้ทั้งวิธี Automated Order Matching (AOM)

บนกระดาษหลัก และวิธี Put Through บนกระดานรายใหญ่

ช่วงราคา

ไม่นำกฎเกณฑ์เรื่องช่วงราคามาใช้

การเคลื่อนไหวของราคา ราคาสูงสุดและต่ำสุดของการซื้อขายประจำวัน เท่ากับ +30%

จากราคาปิดวันก่อนหน้า หรือ ราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย

อัตราค่าธรรมเนียมการเป็น ต่อรองกันได้เสรี นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน

หลักเกณฑ์การถือหน่วยลงทุน - ผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องเป็นผู้ลงทุนสถาบัน 17 ประเภทตาม

ประกาศของคณะกรรมการ ก.ล.ต.ที่ กจ 13/2539 และ

ที่ กน. 45/2541 ฉบับที่ 2

  • กองทุนจะต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ราย
  • ผู้ถือหน่วยลงทุนแต่ละรายสามารถถือหน่วยลงทุนได้สูงสุดไม่

เกินร้อยละ 10 ของหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

ข้อจำกัดการโอนหน่วยลงทุน นายทะเบียนอาจปฎิเสธการโอนหน่วยลงทุนได้ หากการโอน

หน่วยลงทุนนั้น .....

  • เป็นการโอนให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบัน
  • ทำให้กองทุนมีผู้ถือหน่วยลงทุนน้อยกว่า 10 ราย
  • ทำให้กองทุนมีผู้ถือหน่วยลงทุนรายใดรายหนึ่งถือเกินร้อยละ

10 ของจำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าการลงทุนในหน่วยลงทุน ประเภทสลิป หรือ แคป อาจจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบัน แต่ผู้ ลงทุน และ บริษัทสมาชิกซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ผู้ลงทุน ควรศึกษาถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่ อาจเกิดขึ้น และเพิ่มความระมัดระวังในการซื้อขาย เนื่องจากหน่วยลงทุนประเภทนี้มีข้อ จำกัดเรื่องการถือหน่วยลงทุนและการโอน

ที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายของผู้ลงทุนบุคคลธรรมดา ที่ถือหน่วยลงทุน ตั้งแต่ 10 ล้านขึ้นไป ซึ่งตามประกาศของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ถือเป็นผู้ลงทุนสถาบัน ประเภทที่ 17 โดยตลาดหลักทรัพย์ได้จัดสัมมนาให้ความรู้แก่โบรกเกอร์ และซับโบรกเกอร์ ให้เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และข้อจำกัดต่างๆ ในการซื้อขายตราสารประเภท สลิป และ แคป นี้เรียบร้อยแล้ว (ยังมีต่อ)