ไทยประกาศนโยบายก้าวสู่ความเป็นเลิศการวิจัยทางคลินิก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--อย. ประเทศไทยมุ่งมั่นก้าวสู่ศูนย์กลางความเป็นเลิศการศึกษาวิจัยทางคลินิก เริ่มก้าวแรกด้วยการประกาศนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิจัยทางคลินิก พร้อมจัดประชุมระดมสมองนักวิชาการจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์ หวังผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพมากขึ้น น.พ.มงคล ณ สงขลา ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ รศ.สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมด้วย น.พ.วิชัย โชติวิวัฒน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังพิธีลงนามนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิจัยทางคลินิกว่า การศึกษาวิจัยทางคลินิกหรือการทดลองในมนุษย์โดยเฉพาะการทดลองยานี้ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพิสูจน์และยืนยันถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษา ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการรักษาพยาบาลใหม่ ๆ ซึ่งประเทศไทยขณะนี้ยังขาดนโยบาย ตลอดจนทิศทางระดับชาติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางคลินิก ทำให้การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาผู้ป่วยที่นับวันจะต้องการการดูแลรักษาที่ได้ผลและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงสมควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานควรร่วมมือกันเพื่อพัฒนาการศึกษาวิจัยทางคลินิกในประเทศให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์จัดการประมสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับดับชาติ เรื่อง "ประเทศไทยก้าวสู่ศูนย์กลางความเป็นเลิศการศึกษาวิจัยทางคลินิก : นโยบายแห่งชาติและแผนยุทธศาสตร์" การประชุมประจำปีครั้งที่ 1 (Thailand Towards Center of Excellence in Clinical Trials The First Annual Update : National Policy & Strategic Plans) ในระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2543 โดยในการประชุมนี้กระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญยิ่งกับการศึกษาวิจัยทางคลินิกได้ลงนามร่วมกันเพื่อประกาศนโยบายกแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิจัยทางคลินิกว่า "ประเทศไทยมุ่งมั่นสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาวิจัยทางคลินิกตามาตรฐานสากล การปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Praotice) เพื่อผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศในการศึกษาวิจัยทางคลินิกในระดับแนวหน้าของโลก" นอกจากนี้ ในการประชุมดังกล่าวยังได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาการศึกษาวิจัยทางคลินิกในประเทศไทยให้เป็นอย่างมีระบบตามนโยบายแห่งชาติที่กำหนดไว้ โดยระดมสมองนักวิชาการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่มาเข้าร่วมประชุม เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสัมฤทธิ์ผล การลงนามร่วมกันในนโยบายแห่งชาติดังกล่าวระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยลัยนับเป็นการกำหนดทิศทางระดับชาติที่ชัดเจนของการศึกษาวิจัยทางคลินิก จึงเป็นการก้าวสำคัญในการพัฒนาให้เประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นเลิศของการศึกษาวิจัยทางคลินิก ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ รวมทั้งจะทำให้การคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต--จบ-- -นศ-

ข่าวการศึกษาวิจัยทางคลินิก+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยง "Pinfenon" (S) (R) คว้าสิทธิบัตรครั้งแรกของโลก

บริษัท Scarecrow Incorporated - สิทธิบัตรดังกล่าวครอบคลุมการประดิษฐ์คิดค้นยารักษาและยาป้องกันโรคสำหรับลดระดับตัวบ่งชี้โรคหัวใจในสุนัข รวมถึงวิธีการผลิต - บริษัท Scarecrow Incorporated ในเขตชิบูยะ กรุงโตเกียว มีความยินดีที่จะประกาศว่า บริษัทได้รับสิทธิบัตรฉบับแรกของโลก (*) สำหรับผลิตภัณฑ์ Pinfenon (S) (R) ซึ่งเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ผลิตในญี่ปุ่น โดยครอบคลุมถึงยารักษาและยาป้องกันโรคสำหรับลดระดับฮอร์โมน Atrial Natriuretic Peptide (ANP) รวมถึงวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนี้

คอนเซปต์ เมดิคอล ได้รับสถานะ IDE รายการที่สี่ เพื่อศึกษาบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส เมจิกทัช ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงต้นขาชั้นตื้น

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) อนุมัติสถานะเครื่องมือแพทย์ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก (Investigational Device Exemption หรือ IDE) ให้แก่บอลลูน...

"เม็ดอัลไลแอนซ์" เปิดรับผู้ป่วยรายแรกในสหรัฐร่วมเป็นอาสาสมัครในการวิจัย SFA SELUTION4SFA

โครงการวิจัยบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส (SELUTION4SFA) ได้เปิดรับผู้ป่วยรายแรกในสหรัฐร่วมโครงการแล้ว โดยดร.อาเธอร์ ลี (Arthur Lee) ณ สถาบันหัวใจและหลอดเลือดในฟลอริดา โครงการนี้มีขึ้นเพื่อประเมินเซลูชัน เอสแอลอาร์ ...

คอนเซปต์ เมดิคอล ได้รับอนุมัติสถานะ IDE เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสายสวนบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส "เมจิกทัช" สำหรับรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบขนาดเล็ก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) อนุมัติสถานะผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก (Investigational Device...

คอนเซปต์ เมดิคอล ได้รับสถานะ IDE เดินหน้าพัฒนาบอลลูนเคลือบยาไซโรลิมัส เมจิกทัช เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดบริเวณใต้เข่า

คอนเซปต์ เมดิคอล อิงค์ (Concept Medical Inc. หรือ CMI) ได้รับสถานะผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ในการศึกษาวิจัยทางคลินิก (Investigational Device Exemption หรือ IDE) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร...

เม็ดอัลไลแอนซ์เผยบอลลูนเคลือบยาเซลูชัน เอสแอลอาร์ ผ่านการรับรองสถานะ IDE จาก FDA สำหรับใช้ทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ

หลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ "คอร์ดิส" (Cordis) เตรียมเข้าซื้อกิจการ "เม็ดอัลไลแอนซ์" (MedAlliance) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุดเม็ดอัลไล...

โครงการการศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเท... มหิดล-อ๊อกซ์ฟอร์ด เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยทางคลินิก — โครงการการศึกษาการติดเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยส่วนที่สอง (MIST2) เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมการว...

PharmaMar ได้รับอนุญาตจากสำนักงานยาสเปนให้ทำการวิจัยทางคลินิก APLICOV-PC สำหรับการใช้ยา Aplidin(R) (Plitidepsin) ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

- วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา plitidepsin ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล - Plitidepsin ...