ไตรมาสที่ 3 ปาล์มน้ำมันราคาดี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--สศก. สศก. รายงานสถานการณ์ปาล์มน้ำมันว่ามีผลผลิตลดลงเนื่องจากประสบกับสภาพอากาศแห้งแล้ง ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้เกษตรกรขายปาล์มน้ำมันได้ในราคาที่สูงขึ้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ว่าในปี 2545 เนื้อที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันทั้งปีจะมีประมาณ 1.526 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 69,929 ไร่ เนื่องจากในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมานี้ เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันกันค่อนข้างมาก ทำให้พื้นที่ปลูกได้เริ่มทยอยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในปีนี้ แต่สภาพภูมิอากาศตั้งแต่ปลายปี 2544 จนถึงต้นปี 2545 ทางภาคใต้มีสภาพอากาศแห้งแล้ง ส่งผลให้ดอกปาล์มเปลี่ยนเป็นดอกตัวผู้มาก จึงคาดว่าผลผลิตต่อไร่จะลดลงจากปี 2544 ส่วนภาพรวมของผลผลิตทั้งประเทศลดลง เป็นผลมาจากผลผลิตต่อไร่ที่ลดลงค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เก็บเกี่ยวเป็นรายเดือน (ในช่วงมกราคม - มีนาคม 2545) ที่ผ่านมา จะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มทะลาย ประมาณ 926,447 ตัน คิดเป็นร้อยละ 23.74 ของผลผลิตทั้งหมด ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 3.902 ล้านตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 186,625 ตัน ช่วงครึ่งปีแรกราคาของปาล์มอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากผลผลิตออกน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการส่งผลให้สต็อกภายในปรับตัวลดลง อนึ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ผลปาล์มออกมาก คาดว่าราคาจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี ถึงแม้จะลดลงจากช่วงต้นปีเล็กน้อย เพราะตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศค่อนข้างแจ่มใส จีนและอินเดียคาดว่าจะเพิ่มการนำเข้า เนื่องจากจีนเพิ่มปริมาณการนำเข้าน้ำมันปาล์มภายใต้ WTO จากเดิม ซึ่งนำเข้าปกติปีละ 1.4 ล้านตัน เป็น 2.4 ล้านตัน สำหรับราคาในสัปดาห์นี้เฉลี่ยทั่วประเทศของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 2.26 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 2.15 บาท--จบ-- -ศน-

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+เศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

แปลงใหญ่ยางพารากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยา อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ยกระดับรายได้ด้วยมาตรฐาน EUDR

นางสาวภิรมศรี บุญทน รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เนื่องจากตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ อีกทั้งยางพารายังเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ปลูกได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้จากสมุนไพร-แมลงเศรษฐกิจ — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)...

นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิ... สศท.8 เผยผลศึกษาการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากมังคุด ตามแนวทาง BCG Model เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร — นายนิกร สงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 ส...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมอาชีพประมง เพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำ หนุนสร้างรายได้เกษตรกร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสห...

นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศร... สศท.3 หนุนสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 'สับปะรดท่าอุเทน' GI ขึ้นแท่นผลไม้เศรษฐกิจเด่น จ.นครพนม — นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่...

นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเ... 'กระท้อนนาปริก' จ.สตูล สินค้า GI มุ่งยกระดับคุณภาพ พัฒนาตลาด สร้างรายได้อย่างยั่งยืน — นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา...