สศก. รายงานราคาไก่เนื้ออ่อนตัวลงมากจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สศก. รายงานราคาไก่เนื้ออ่อนตัวลงมาก ผลมาจากการพบสารไนโตรฟูแรนส์ในเนื้อไก่ไทย จึงทำให้การส่งออกไป EU ชะลอตัวลงตั้งแต่มีนาคมที่ผ่านมา เพราะเครื่องตรวจสารตกค้างมีไม่เพียงพอ ผู้ประกอบการไม่กล้าเสี่ยงส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดไก่ในประเทศ ส่งผลให้ราคายังคงอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)รายงานถึงราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ อ่อนตัวลงมากตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องมาจากกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา EU ได้ตรวจพบสารไนโตรฟูแรนส์ในเนื้อไก่ของไทย จึงทำให้การส่งอออกไป EU ชะลอตัวลง กอปรกับที่ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่จึงตัดสินใจไม่ส่งสินค้าที่เรียกคืนกลับจาก EU ไปขายใน EU อีก เพราะการออกผลการตรวจสารตกค้างที่เข้ามายังกรมปศุสัตว์นั้นไม่เป็นไปตามคาดหมาย และส่งผลให้เกษตรกรผู้ผลิตไก่เนื้อในภาคกลาง ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งในเดือนมีนาคม 45 ราคาไก่เนื้อในภาคกลาง เฉลี่ย กก.ละ 29.18 บาท เดือนเมษายน ลดลงเหลือ กก.ละ 22.16 บาท และในเดือน พฤษภาคม กก.ละ 23.67 บาท ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับลดปริมาณการผลิตลงร้อยละ 10-20 จึงส่งผลให้ราคาไก่เนื้อขยับขึ้นในเดือนมิถุนายน เป็นกก.ละ 25.35 บาท ในการตรวจหาสารดังกล่าวนั้นต้องใช้เครื่องตรวจ LC-MS-MS ซึ่งตรวจได้เครื่องละประมาณ 30 ตัวอย่างต่อวัน แต่การที่มีตัวอย่างที่รอการตรวจจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าเสี่ยงในการส่งสินค้าที่ไม่มั่นใจออกขายต่างประเทศ ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดไก่ในประเทศที่มีผลผลิตเกินความต้องการจำนวนมาก ขณะที่การส่งออกในตลาดญี่ปุ่นชะลอตัวเช่นเดียวกัน ผลมาจากในช่วงต้นปีญี่ปุ่นนำเข้าเนื้อไก่จำนวนมาก และมีสต็อกเหลืออยู่ รวมทั้งในช่วงนี้เป็นฤดูฝนความต้องการในประเทศจึงลดง เพราะประชาชนหันไปบริโภคอาหารที่จับจากธรรมชาติ จึงส่งผลให้ราคาไก่เนื้อในภาคกลางสัปดาห์นี้ลดลงจาก กก.ละ 23.41 บาท เหลือ กก.ละ 21.00 บาท โดยต้นทุนการผลิตเฉลี่ยประมาณ กก.ละ 26.87 บาท ในขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้จัดซื้อเครื่องตรวจการแตกตัวของกลุ่มไนโตรฟูแรนส์ จำนวน 2 เครื่อง และทำการตรวจสอบได้แล้ว และผู้ประกอบการได้ซื้อเพิ่มอีก 4 เครื่อง ทำให้สามารถตรวจได้เพิ่มมากขึ้น และในต้นเดือนกันยายนนี้คณะผู้แทนไทยจะไปชี้แจง EU ในการแก้ไขปัญหาของไทย และจะเสนอให้ EU ทบทวนการใช้มาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดกับไทย โดยขอให้ให้มาตรการตรวจสอบลักษณะเดียวกับประเทศผู้นำเข้าของ EU รายอื่นที่เป็นคู่แข่งของไทย คือ บราซิล--จบ-- -นห-

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+เศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.

"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าในปี 2565 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซัง และฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้นเพื่อ

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกร... ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร — ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...