สศก. การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--สศก. สศก.เผยถึงพื้นที่การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรว่า ได้ดำเนินงานโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของพื้นที่และความสอดคล้องด้านการตลาด ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์แล้ว 12 สินค้า ดร.อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเปิดเผยถึงการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิดว่า การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และใช้เป็นกรอบพื้นที่ในการจัดทำแผนพัฒนาพืชแต่ละชนิดเป็นรายสินค้า ซึ่งหากเกษตรกรทำการเกษตรในเขตเกษตรเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ จะช่วยให้ทำการผลิตได้ตรงกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสินค้านั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงและมีปริมาณผลผลิตและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และยังช่วยให้การสนับสนุนของรัฐเป็นไป อย่างสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐอีกด้วย ในการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจพิจารณาจากปัจจัยทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยทางกายภาพเป็นข้อมูลเชิงแผนที่และตัวเลขในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ ชุดดิน ปริมาณน้ำฝน เขตน้ำชลประทานเขตการใช้ที่ดินทางการเกษตร เขตป่าไม้ตามกฎหมาย เขตการปกครอง และเส้นทางคมนาคม ส่วนข้อมูลทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยผลผลิตต่อไร่ ขนาดพื้นที่ดำเนินการ สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการแปรรูปและการตลาด ศักยภาพในการพัฒนาองค์กรเพื่อดำเนินธุรกิจด้านการตลาดของสถาบันเกษตรกรและการลงทุนด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่ได้ดำเนินการไปแล้วนำมาทำการวิเคราะห์ กำหนดหาพื้นที่เหมาะสมต่อการผลิตสินค้าเกษตร และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์แล้ว และพร้อมประกาศเป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจรวม 12 สินค้า ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ถั่วเหลือง ยางพารา ทุเรียน ลำไย กาแฟ ปาล์มน้ำมัน และอ้อยโรงงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ข้าวนาปี พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับข้าวนาปี มีทั้งหมด 57 ล้านไร่ ผลผลิต 21 ล้านตัน รวม 71 จังหวัด 664 อำเภอ 5,673 ตำบล 2. ข้าวนาปรัง พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับข้าวนาปรัง มีทั้งหมด 8 ล้านไร่ ผลผลิต 6 ล้านตัน รวม 28 จังหวัด 143 อำเภอ 1,327 ตำบล 3. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีทั้งหมด 7.5 ล้านไร่ ผลผลิต 5.2 ล้านตัน รวม 32 จังหวัด 171 อำเภอ 1,064 ตำบล 4. มันสำปะหลัง พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับมันสำปะหลัง มีทั้งหมด 6.7 ล้านไร่ ผลผลิต 20.80 ล้านตัน รวม 33 จังหวัด 179 อำเภอ 1,232 ตำบล 5. สับปะรดโรงงาน พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสับปะรดโรงงาน มีทั้งหมด 0.5 ล้านไร่ ผลผลิต 2.2 ล้านตัน รวม 8 จังหวัด 28 อำเภอ 132 ตำบล 6. ถั่วเหลือง พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับถั่วเหลือง มีทั้งหมด 1.5 ล้านไร่ ผลผลิต 375,000 ตัน รวม 28 จังหวัด 138 อำเภอ 811 ตำบล 7. ยางพารา พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับยางพารา มีทั้งหมด 12 ล้านไร่ ผลผลิต 2.4 ล้านตัน รวม 34 จังหวัด 237 อำเภอ 1,593 ตำบล 8. ทุเรียน พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับทุเรียน มีทั้งหมด 0.86 ล้านไร่ ผลผลิต 995,000 ตัน รวม 12 จังหวัด 42 อำเภอ 287 ตำบล 9. ลำไย พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับลำไย มีทั้งหมด 0.65 ล้านไร่ ผลผลิต 427,000 ตัน รวม 6 จังหวัด 30 อำเภอ 225 ตำบล 10. กาแฟ พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับกาแฟ มีทั้งหมด 0.4 ล้านไร่ ผลผลิต85,000 ตัน รวม 8 จังหวัด 30 อำเภอ 170 ตำบล ซึ่งจำแนกเป็น - พันธุ์อาราบิก้า จำนวน 2 จังหวัด 7 อำเภอ 44 ตำบล - พันธุ์โรบัสต้า จำนวน 6 จังหวัด 23 อำเภอ 126 ตำบล 11. ปาล์มน้ำมัน พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับปาล์มน้ำมัน มีทั้งหมด 1.858 ล้านไร่ ผลผลิต 4.410 ล้านตัน รวม 13 จังหวัด 77 อำเภอ 489 ตำบล 12. อ้อยโรงงาน พื้นที่ที่กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับอ้อยโรงงาน มีทั้งหมด 6 ล้านไร่ ผลผลิต 54 ล้านตัน รวม 35 จังหวัด 181 อำเภอ 1,310 ตำบล--จบ-- -ศน-

ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร+อดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจวันนี้

วว. พัฒนาชุดบ่มเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพย่อยสลายตอซังข้าว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วทน.

"ข้าว" เป็นสินค้าเกษตรส่งออกหลักของประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าในปี 2565 มีพื้นที่นาข้าวประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่นาข้าวมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ ซึ่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว จะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ตอซัง และฟางข้าว โดยพบว่า พื้นที่นาข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม ดังนั้นเพื่อ

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษ... สศท. 7 เผยผลศึกษาการบริหารจัดการ "ฟางข้าว" ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคกลาง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม — นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ช...

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกร... ไทย - จีน จับมือสร้างความสัมพันธ์ พร้อมเปิดตลาดสินค้าด้านการเกษตร — ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกั...

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงา... โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในระดับชุมชนสร้างอาชีพมั่นคง ต่อยอดมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร — นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร...

นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักง... ไทยส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคเกษตร ผลักดันความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ในเวที CFS ครั้งที่ 51 — นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ...

สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินด... สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา — สศก. ติดตามโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเกษตรกรรม และระบบนิเวศครบครัน นายฉันทานนท์...

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศ... สศก. ขึ้นรับรางวัล 'Excellent Open Data Hub' หน่วยงานเปิดเผยชุดข้อมูลเปิดภาครัฐ โครงการ DIGI DATA AWARDS — นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจ...