ฟิทช์ ให้อันดับเครดิตภายในประเทศ กับหุ้นกู้ค้ำประกันของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--26 มี.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) บริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้อันดับเครดิตภายในประเทศที่ระดับ 'AA+(tha)' แก่หุ้นกู้ค้ำประกันมูลค่า 1 พันล้านบาทที่ออกภายใต้ Medium-Term Note Program (MTN)โดยบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด (ไพรมัส) ขณะเดียวกัน ฟิทช์ได้คงอันดับเครดิตในประเทศของหุ้นกู้ค้ำประกันที่ออกภายใต้ MTN คราวที่แล้ว และตั๋วแลกเงินมีประกัน ที่ระดับ'AA+(tha)' โดยมีแนวโน้มเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตที่ฟิทช์จะให้แก่หุ้นกู้ค้ำประกันนี้มีพื้นฐานมาจากการค้ำประกันอย่างไม่มีเงื่อนไขจากบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ เครดิต (ฟอร์ด เครดิต) และ ความน่าเชื่อถือของบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ (ฟอร์ด) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของไพรมัส ซึ่งทั้งบริษัท ฟอร์ด เครดิตและ ฟอร์ด มอเตอร์ อยู่ในสหรัฐอเมริกา และถูกจัดอันดับเครดิตสากลไว้ที่ 'BBB+' แนวโน้มเครดิตเป็นลบ โดยเปรียบเทียบแล้ว อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศของประเทศไทยได้ถูกเลื่อนระดับขึ้นมาเป็น 'A-' แนวโน้มเป็นบวก ดังนั้นอันดับเครดิตของฟอร์ด เครดิตและไพรมัสเมื่อเทียบกับอันดับเครดิตของประเทศมีแนวโน้มที่จะถดถอยลง ในขณะนี้อันดับเครดิตภายในประเทศของไพรมัสอยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตของประเทศไทยหนึ่งระดับ ถ้าเกิดมีการเลื่อนระดับลงของอันดับเครดิตสากลของฟอร์ด หรือ ฟอร์ด เครดิต หรือมีการเลื่อนระดับขึ้นของอันดับเครดิตของประเทศไทย ก็จะส่งผลกระทบกับอันดับเครดิตภายในประเทศของไพรมัส และเนื่องจากแนวโน้มอันดับเครดิตโดยทั่วไปมักจะบ่งชี้ถึงทิศทางที่อันดับเครดิตจะเปลี่ยนไปในระยะเวลาหนึ่งถึงสองปีข้างหน้า อันดับเครดิตในประเทศของไพรมัสจึงมีแนวโน้มหรือมีความเสี่ยงที่จะถูกเลื่อนระดับลงในอนาคต ในฐานะที่เป็นบริษัทสนับสนุนการให้สินเชื่อของรถยนต์ของฟอร์ด ไพรมัสนับว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินงานของฟอร์ดในประเทศไทย ในปี 2546 ไพรมัสมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อ 5% ถึงแม้ว่าที่อัตราผลตอบแทนจากสินเชื่อเช่าซื้อได้ลดลงมาเนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง อัตราผลกำไรส่วนต่างของดอกเบี้ยและการทำกำไรยังคงอยู่ในระดับที่สูง กำไรสุทธิในปี 2546 ลดลงมาจากปีก่อนหน้าเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและภาษี รายได้ของไพรมัสยังคงต้องพึ่งพายอดขายของรถยนต์ ฟอร์ด, มาสด้า, แลนด์ โรเวอร์ และ วอลโว่ แม้ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2546 เพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งทางการตลาดของ ฟอร์ด (รวมไปถึงมาสด้า, แลนด์ โรเวอร์ และวอลโว่) ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 7% อย่างไรก็ตามการออกรถรุ่นใหม่ๆ ของฟอร์ดในปี 2547 น่าจะช่วยเพิ่มยอดขายของฟอร์ด ถึงแม้ว่ารถญี่ปุ่นจะยังคงเป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย เนื่องจากการทำตลาดในเชิงรุกด้วยการวางเงินดาวน์ที่ต่ำ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของไพรมัส เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เป็น 84 ล้านบาทในปี 2545 จาก 43 ล้านบาทในปีก่อน สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (หนี้ที่ไม่ได้รับการชำระเกินกว่า 90วัน ) ต่อมูลหนี้ทั้งหมดเพิ่มขึ้น เป็น 0.58% ในปี 2545 จาก 0.44% ในปี 2544 ดังนั้นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้เพิ่มขึ้นเป็น 145 ล้านบาทในปี 2546 จาก 91 ล้านบาทในปี 2545 อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2546 ไพรมัสได้ตัดหนี้สูญ และทำตลาดตามนโยบายเดิม ทำให้สามารถลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เหลือ 33 ล้านบาทในปี 2546 และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อมูลหนี้รวม ลดลงไปอยู่ที่ 0.22% ถึงแม้ว่าสัดส่วนเงินสำรองต่อผลขาดทุนจากการตัดหนี้สูญลดลงเหลือ 3.1 เท่าในปี 2546 จาก 3.6 เท่าในปี 2545 การใช้การกู้ยืมเพื่อสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อที่สูงของไพรมัสทำให้ สัดส่วนหนี้ต่อทุนซึ่งรวมสำรองหนี้สูญอยู่ในระดับสูงประมาณ 16.5 เท่าในปี 2546 อย่างไรก็ตามความกังวลของฟิทช์ ต่อสัดส่วนหนี้ต่อทุนที่สูง และ เงินกองทุนที่ต่ำถูกทำให้คลี่คลายลง โดยการประกันหุ้นกู้ของฟอร์ด เครดิต หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ "AAA" และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น "AAA(tha)" ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์, Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4762/4759 David Marshall, ฮ่องกง +852 2263 9963--จบ-- -นห-

ข่าวฟิทช์ เรทติ้งส์+ไพรมัส ลีสซิ่งวันนี้

BAFS เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ ชูดอกเบี้ย 4.75 - 5.10% ต่อปี คาดเปิดจองซื้อแก่ "สถาบัน-รายใหญ่" วันที่ 9 - 14 พ.ค. นี้ รองรับการขยายตัวธุรกิจในอนาคต

BAFS เตรียมออกหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 9 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ [ 4.75 5.10 ] % ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ "BBB (tha)" จาก ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) เตรียมเสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายใหญ่ คาดจองซื้อระหว่างวันที่ 9 และ 13 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย), บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส และ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บจก.แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ในเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ (Rating Watch Negative; RWN) ของอันดับเครดิต บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท...