แรงงานไทยปรับตัวพัฒนาคุณภาพ – ฝีมือ สู้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--7 ต.ค.--วช.

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการส่งออกและการจ้างงาน แต่อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมนี้จะสามารถปรับตัวในการแข่งขันในอนาคตได้หรือไม่ หรือแม้กระทั่งคุณภาพของแรงงานไทยจะสามารถปรับตัวไปในทิศทางใด เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนของผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างฐานผลิตในเมืองไทยด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยแก่ นายนิพนธ์ พัวพงศ์กร และนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ทำการวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของคุณภาพแรงงานต่อการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต : ศึกษากรณีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์” โดยการวิจัยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ผู้จัดการฝ่ายบุคคล 4 อุตสาหกรรมคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้บริโภค อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และสารกึ่งตัวนำ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไต้หวัน แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมนี้ยังมีจุดอ่อนหลายประการ เช่น การนำชิ้นส่วนในประเทศมาใช้น้อย อุตสาหกรรมมีมูลค่าต่ำ ขาดความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม อื่นในประเทศ การที่โครงสร้างภาษีศุลกากรบิดเบือน นอกจากนี้ แรงงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มักมีระดับการศึกษาไม่สูงมากนัก ประมาณ 8 – 12.4 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่ผลิตฮาร์ตดิสก์และมอนิเตอร์เป็นกลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำสุดประมาณ 8 – 9 ปีเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า ตั้งแต่ระดับคนงานในสายการผลิตไปจนถึงช่างเทคนิคและวิศวกรมีปัญหาคุณภาพแรงงานค่อนข้างมากตลอดจนขาดความรู้พื้นฐานด้านงานช่าง ขาดความสามารถในการสื่อสารและทักษะในการแก้ปัญหา ซึ่งงานวิจัยได้ให้คำเสนอแนะว่า ควรมีการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างอุตสาหกรรมต่าง ๆ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันวิจัยภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ยกระดับการศึกษาของประชากรในประเทศไทย ปฏิรูประบบการฝึกอบรมในภาครัฐ พิจารณาจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ศึกษาบทบาทของบรรษัทข้ามชาติ และศึกษาสาเหตุกลไกของภาครัฐในการสนับสนุนภาคเอกชนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน--จบ-- --อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย+สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติวันนี้

ทีดีอาร์ไอ จัดสัมมนา เรื่อง “ระบบการประเมินผลการวิจัยและพัฒนาของประเทศ : จากกรอบแนวคิดสู่แนวทางการปฎิบัติ”

การวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการทำการประเมินผลการวิจัยและพัฒนาของประเทศอย่างเป็นระบบและเต็มรูปแบบ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้มอบหมายให้คณะผู้วิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดำเนินโครงการวิเคราะห์สถานะการวิจัยและพัฒนาของประเทศ และจัดทำระบบการประเมินผลการวิจัยและพัฒนาของประเทศ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลสำหรับใช้ในการเปรียบเทียบผลงาน

วช. เผยความคืบหน้าวิจัยแก้ปัญหานโยบายค่าแรงงานและเงิน ป.ตรี เตรียมส่งต่อรัฐฯ

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง “โครงการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 15,000 บาท...

ภาพข่าว: ค่าแรงงานขั้นต่ำ

ค่าแรงงานขั้นต่ำ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดสัมมนาระดมสมอง ครั้งที่ ๒ เรื่อง “โครงการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรีไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท ที่มีผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ...

The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ... The Active Thai PBS จับมือ TDRI "ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่" ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านพลังงาน — The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ สะท...

Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนา... ไทยพีบีเอส จัดงาน Thai PBS World Forum เตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงสื่อยุค AI — Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนาคตของห้องข่าว' เตรียมพร้อมรับ...

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพ... วางผังภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล — ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นประธานในงาน ...