ทีดีอาร์ไอเปิดเวทีเสวนา "เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ชูกรณีศึกษา Grab ช่วยขับเคลื่อน GDP สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแสนล้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงานเสวนาในหัวข้อ "นิยามใหม่ของสังคม: พลิกโฉมประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม" โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมเวทีเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในประเทศไทย ตลอดจนโอกาสและความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล รวมทั้งบทบาทของธุรกิจแพลตฟอร์มที่ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะกลุ่ม Gig Worker รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับมหภาค พร้อมยกกรณีศึกษาของแอปพลิเคชัน Grab ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครอบคลุมหลายบริการ โดยพบว่าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1.79 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 1%ของ GDP ประเทศไทย พร้อมนำเสนอแนวทางในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มของหน่วยงานภาครัฐโดยมุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทีดีอาร์ไอเปิดเวทีเสวนา "เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ชูกรณีศึกษา Grab ช่วยขับเคลื่อน GDP สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแสนล้าน

ดร.นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสจากทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอได้ศึกษาบทบาทและผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยยกกรณีศึกษาของแอปพลิเคชัน Grab ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การเดินทาง สั่งอาหาร และขนส่ง โดยมีบทบาทในการสร้างประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับเศรษฐกิจไทย รวมถึงการสร้างรายได้และโอกาสทางอาชีพใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและแรงงานอิสระ

"ในปี 2566 กิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรธุรกิจของ Grab ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) ซึ่งมีมูลค่า 1.79 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทย ช่วยสร้างงานกว่า 280,000 ตำแหน่ง และรายได้ครัวเรือนราว 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระดับมหภาค นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยานยนต์ พลังงาน การสื่อสาร การเงิน อาหาร และค้าปลีก โดยสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ในวงกว้าง" ดร.นณริฎ ระบุ

ด้าน รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า การพัฒนาทางเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตลอดจนการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มดิจิทัล ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทิศทางและรูปแบบการทำงานในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานอิสระหรือ Gig Worker ที่มีแนวโน้มเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะคน Gen Y ในช่วงปลาย และ Gen Z เนื่องจากตอบโจทย์ในเรื่องความยืดหยุ่น ความเป็นอิสระ รวมทั้งสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้คนอยากแสวงหารายได้เพิ่มเติม ซึ่งรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปนี้ส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมหภาค จึงถือเป็นโจทย์สำคัญที่ภาครัฐต้องเตรียมความพร้อมและกำหนดนโยบายให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

"ทิศทางการทำงานในโลกอนาคตเปลี่ยนไปมาก ถ้าไม่เตรียมความพร้อมให้เหมือนกันนานาประเทศที่เตรียมตัวไปค่อนข้างมากแล้ว โดยเฉพาะภาคการศึกษา ภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน ก็คงจะไม่ทันต่อเทรนด์ของโลก ซึ่งมีทั้งในเรื่องของการอัพสกิล รวมทั้งนโยบายแรงงานที่ต้องออกมาตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ จากการสำรวจตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้นพบว่า มี 170 ล้านตำแหน่งทั่วโลก แต่จะมีตำแหน่งงานที่หายไป 92 ล้านตำแหน่ง ซึ่งพบว่ามีจำนวนตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าลดลง ดังนั้นต้องตั้งโจทย์ถามภาครัฐว่า ภาครัฐได้เตรียมความพร้อมไว้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะตำแหน่งงานใหม่ที่เกิดขึ้นค่อนข้างมากนี้เชื่อว่าเป็นตำแหน่งงานที่อยู่บนแพลตฟอร์มจำนวนมาก"

รศ.ดร.ดนุวัศ กล่าวเสริมว่า นิด้าได้ศึกษาบทบาทของแพลตฟอร์มดิจิทัลโดยเน้นไปที่ระบบเศรษฐกิจแบบกิ๊ก (Gig Economy) โดยพิจารณา 4 องค์ประกอบหลัก (หรือ 4P) อันได้แก่ แพลตฟอร์ม (Platform) ผู้ใช้บริการ (People) พันธมิตร (Partner) และหน่วยงานภาครัฐ (Public Sector) และได้พัฒนาออกมาเป็นต้นแบบของนโยบาย โดยมีให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐ ให้มุ่งส่งเสริมการแข่งขัน หรือการตลาดแบบเสรีควบคู่กับการสนับสนุนให้กลุ่มแรงงานอิสระสามารถเข้าถึงหลักประกันพื้นฐานทางสังคมของภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเพื่อสร้างสมดุล และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะกลางถึงยาวอย่างยั่งยืน

ขณะที่ นายศุภโชค จันทรประทิน จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ให้ความเห็นในมุมของเรกกูเลเตอร์ที่ดูแลธุรกิจแพลตฟอร์มว่า "การกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ดีต้องรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการ และการส่งเสริมนวัตกรรมควบคู่กันไป หน่วยงานภาครัฐจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์ที่โปร่งใส เป็นธรรม และเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่หรือสตาร์ทอัพไทยที่ต้องการขยายตลาดไปสู่ระดับสากล ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญของเราไม่ใช่แค่การควบคุม แต่เป็นการสร้างระบบนิเวศที่ทุกฝ่ายสามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน"


ข่าวสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย+สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศวันนี้

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย"

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" Kick off พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน รณรงค์ พ.ร.บ. ปี 2568 พร้อมจัดเวทีเสวนาถอดรหัส ถนน 304 เสนอบังคับใช้ กม. ออกมาตรการลดเสี่ยง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่ง ถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" ภายใต้

The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ... The Active Thai PBS จับมือ TDRI "ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่" ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านพลังงาน — The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ สะท...

Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนา... ไทยพีบีเอส จัดงาน Thai PBS World Forum เตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงสื่อยุค AI — Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนาคตของห้องข่าว' เตรียมพร้อมรับ...

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพ... วางผังภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล — ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นประธานในงาน ...