ฟิทช์ ประเทศไทย ปรับลดอันดับเครดิตของตราสารหนี้ค้ำประกันของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ของหุ้นกู้ค้ำประกันภายใต้ Medium-Term Note Programmes และตั๋วแลกเงินค้ำประกันที่ออกโดยบริษัทไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด (“ไพรมัส”) เป็น ‘BB+(tha)’ จากระดับ ‘BBB-(tha)’ (BBB ลบ (tha)) แนวโน้มอันดับเครดิตยังคงเป็นลบ การปรับลดอันดับเครดิตดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการที่ฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิตIssuer Default Ratings (“IDRs”) ของ บริษัทฟอร์ด มอเตอร์ (“ฟอร์ด”) และ บริษัทฟอร์ด มอเตอร์เครดิต (“ฟอร์ด เครดิต”) เป็น ‘B’ จาก ‘B+’ ไพรมัสเป็นบริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยของ ฟอร์ด เครดิต แห่งสหรัฐอเมริกา โดยฟอร์ด เครดิตยังเป็นผู้ค้ำประกันตราสารหนี้ของไพรมัส อันดับเครดิตภายในประเทศของตราสารหนี้ค้ำประกันที่ออกโดยไพรมัส มีพื้นฐานมาจากการค้ำประกันอย่างไม่มีเงื่อนไขและเต็มจำนวนจาก ฟอร์ด เครดิต และความน่าเชื่อถือของ ฟอร์ด และ ฟอร์ด เครดิต ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของไพรมัส บริษัททั้งสองนี้ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา การปรับลดอันดับเครดิต IDR ของฟอร์ด เครดิต หรือการปรับเพิ่มอันดับเครดิตของประเทศไทย (ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว IDR ที่ระดับ ‘A’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ) ในอนาคต จะยังคงส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของตราสารหนี้ค้ำประกันของไพรมัส โดยทั่วไปแล้ว แนวโน้มอันดับเครดิตจะบ่งชี้ถึงทิศทางการปรับอันดับเครดิตที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วง 1 – 2 ปีข้างหน้า ตามที่ได้ระบุไว้ในประกาศของฟิทช์ วันที่ 18 สิงหาคม 2549 การปรับลดอันดับเครดิตและแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบของฟอร์ดมีพื้นฐานมาจากการปรับลดการผลิตอย่างมีนัยสำคัญในไตรมาสที่ 3 และ 4 ซึ่งสะท้อนถึงการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภัณฑ์หลักประเภทต่างๆที่มากขึ้น กระแสเงินสดที่เป็นลบ ซึ่งได้รวมต้นทุนในการปรับโครงสร้างต่างๆแล้ว อาจจะมีมูลค่าเกิน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 ซึ่งได้นับรวมกระแสเงินสดจ่ายจากสินทรัพย์เพื่อการดำเนินงานและจากการปรับโครงสร้าง กระแสเงินสดจ่าย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการปรับโครงสร้างจะยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในปี 2550 ถึงแม้ว่าผลขาดทุนจากการดำเนินงานอาจจะลดลงสืบเนื่องมาจากความพยายามในการลดต้นทุน การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือสภาวะทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงในปี 2550 น่าจะส่งผลให้กระแสเงินสดจ่ายของบริษัทยังคงอยู่ในระดับที่สูงและสภาพคล่องยังคงลดลงต่อไป ถึงแม้ว่าสภาพคล่องจะยังคงเพียงพอ ความคืบหน้าในการลดโครงสร้างต้นทุนและการรักษาระดับความเชื่อมั่นของเจ้าหนี้การค้าจะยังคงมีความสำคัญในระยะสั้น อันดับเครดิต IDR ของฟอร์ด เครดิต ยังคงสัมพันธ์กับอันดับเครดิตของฟอร์ด เนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ใกล้ชิดระหว่างกัน ฟิทช์คาดการณ์ว่า ผลกำไรและเงินปันผลของฟอร์ด เครดิตน่าจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากยอดสินเชื่อและอัตรากำไรส่วนต่างดอกเบี้ยที่ลดลง ฟอร์ด เครดิต ได้รับประโยชน์จากค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญที่ลดลง เนื่องจากคุณภาพสินเชื่อของบริษัทที่ดีขึ้น แต่อัตราการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นดังกล่าวนี้ได้รับการคาดการณ์ว่าจะช้าลงในอนาคต ฟิทช์เชื่อว่าฟอร์ดเครดิตจะยังคงรักษาระดับสภาพคล่องได้ในระดับที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับอันดับเครดิตของบริษัท ความสามารถของฟอร์ด เครดิต ในการขายสินทรัพย์ซึ่งมีหลายประเภทของบริษัท หรือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่นสินเชื่อลูกค้ารายย่อย สินทรัพย์ที่ให้เช่า และสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ นอกจากนี้ ฟอร์ด เครดิตยังคงถือเงินสดในสัดส่วนที่สูง รวมทั้งสินทรัพย์ของบริษัทจะหมดอายุสัญญาเร็วกว่าหนี้สินของบริษัท ในฐานะที่เป็นบริษัทสนับสนุนการให้สินเชื่อของรถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศของฟอร์ด ไพรมัสนับว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินงานของฟอร์ดในประเทศไทย ยอดสินเชื่อเช่าซื้อของไพรมัสลดลงถึง 14% ในปี 2548 โดยมีสาเหตุมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น แม้ว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม รายได้ของบริษัทยังคงต้องพึ่งพายอดขายของรถยนต์ ฟอร์ด, มาสด้า, แลนด์ โรเวอร์ และ วอลโว่ ซึ่งยอดขายดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบหากความเสียหายของฟอร์ดรุนแรงขึ้น คุณภาพสินทรัพย์ของไพรมัสในขณะนี้ยังคงแข็งแกร่งอยู่ โดยอัตราส่วนยอดรวมสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และหนี้สูญตัดบัญชีต่อยอดสินเชื่อทั้งหมด อยู่ในระดับที่ต่ำ ที่ 1% ณ สิ้นปี 2548 ระดับสำรองหนี้สูญของบริษัทมีมูลค่ามากกว่า 2 เท่าของยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ สิ้นปี 2548 การเติบโตที่สูงของสินเชื่อของไพรมัสซึ่งต้องพึ่งพาการจัดหาเงินทุนจากการก่อหนี้ ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับสูง ถึงแม้ว่าอัตรานี้จะลดลงมาจาก 19.4 เท่า ณ สิ้นปี 2547 เป็น 12.6 เท่า ณ สิ้นปี 2548 ความกังวลของฟิทช์เกี่ยวกับอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูงของบริษัทถูกลดทอนด้วยการค้ำประกันหุ้นกู้ของฟอร์ด เครดิต ติดต่อ ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์, Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4762/4759 David Marshall, ฮ่องกง +852 2263 9963 หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตระดับเพื่อการลงทุน หรือมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับต่ำแม้จะอยู่ในระดับเพื่อการลงทุน อันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศจะอยู่ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นถูกออกแบบมาเพื่อนักลงทุนภายในประเทศในแต่ละประเทศนั้นๆ และมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับแต่ละประเทศ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศนั้นไม่สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฏข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน

ข่าวฟอร์ด มอเตอร์เครดิต+ฟิทช์ เรทติ้งส์วันนี้

BAFS เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ ชูดอกเบี้ย 4.75 - 5.10% ต่อปี คาดเปิดจองซื้อแก่ "สถาบัน-รายใหญ่" วันที่ 9 - 14 พ.ค. นี้ รองรับการขยายตัวธุรกิจในอนาคต

BAFS เตรียมออกหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 9 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ [ 4.75 5.10 ] % ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ "BBB (tha)" จาก ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) เตรียมเสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายใหญ่ คาดจองซื้อระหว่างวันที่ 9 และ 13 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย), บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส และ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

ฟิทช์ ประเทศไทย ปรับลดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ค้ำประกันและตั๋วแลกเงินค้ำประกันของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง เป็น ‘BBB-(tha)’

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ของหุ้นกู้ค้ำประกันภายใต้ Medium-Term Note Programmes และตั๋วแลกเงินค้ำประกันที่ออกโดยบริษัท...

ฟิทช์ ประเทศไทย ปรับลดอันดับเครดิตของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง เป็น ‘BBB+(tha)’

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ค้ำประกันภายใต้ Medium-Term Note Programmes และตั๋วแลกเงินค้ำประกันที่ออกโดยบริษัทไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด (ไพรมัส) เป็น ‘BBB+(tha)’ แนว...

ฟิทช์ ประเทศไทย ปรับลดอันดับเครดิตของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง เป็น ‘A-(tha)’

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ค้ำประกันภายใต้ Medium-Term Note Programmes และตั๋วแลกเงินค้ำประกันที่ออกโดยบริษัทไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด (ไพรมัส) เป็น ‘A-(tha)’ แนวโน้มอันดับ...

ฟิทช์ ประเทศไทย ประกาศอันดับเครดิตภายในประเทศแก่หุ้นกู้ค้ำประกันของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศที่ระดับ ‘A+(tha)’ แก่หุ้นกู้ค้ำประกันภายใต้ Medium-Term Note (MTN) Programme อายุ 3 ปี มูลค่า 500 ล้านบาท ที่ออกโดยบริษัทไพรมัส ลีสซิ่ง...

ฟิทช์ ประเทศไทย ปรับลดอันดับเครดิตของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง เป็น‘A+(tha)’

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ค้ำประกันภายใต้ Medium-Term Note Programmes และตั๋วแลกเงินค้ำประกันที่ออกโดยบริษัทไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด (ไพรมัส) เป็น ‘A+(tha)’ จากเดิม ‘AA(tha)’...

ฟิทช์ ประเทศไทย ปรับลดอันดับเครดิตของบริษัท ไพรมัส ลีสซิ่ง เป็น‘AA(tha)’

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ค้ำประกันภายใต้ Medium-Term Note Programmes และตั๋วแลกเงินค้ำประกันที่ออกโดยบริษัทไพรมัส ลีสซิ่ง จำกัด (ไพรมัส) เป็น ‘AA(tha)’ จากเดิม ‘AA+(tha)’...