TCELS เปิดประตูความร่วมมือด้านชีววิทยาศาสตร์กับประเทศเกาหลี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--6 พ.ย.--TCELS

TCELS เปิดประตูความร่วมมือด้านชีววิทยาศาสตร์กับประเทศเกาหลี ประเดิมด้วยวัคซีนหวัดนก เอดส์เพื่อแก้ปัญหาระดับโลก ผอ.TCELS เล็งดึงจุดแข็งแดนโสม เตรียมแลกเปลี่ยนนักวิจัย ฝึกอบรม พัฒนาองค์ความรู้ด้านอาหารและยา ขยายฐานสู่ภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ประธานสถาบันอุตสาหกรรมสุขภาพเมืองกิมจิ เผยหากนักธุรกิจไทยต้องการไปลงทุนด้านสุขภาพ พร้อมให้ความสะดวกด้านการขึ้นทะเบียนเต็มที่ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 พฤศจิกายน นายแพทย์ธงชัย ทวิชาชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ลงนามความร่วมมือกับ ดร.ยง ฮุน รี ประธานบริหารสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสุขภาพของประเทศเกาหลี (Korea Health industry Development Institute : KHIDI) ณ อาคารวิทยาลัยการจัดการมหิดล ถ.วิภาวดีรังสิต โดยมีนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธี นายแพทย์ธงชัย กล่าวว่า จากการประชุมเวทีชีวิทยาศาตร์เอเปค( APEC Life Sciences Innovation Forum) ซึ่ง TCELS และ KHIDI ในฐานะเป็นหน่วยประสานงานหลักของแต่ละประเทศ ได้ทำการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสรรหานวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ที่โดดเด่น ทำให้ทราบว่า เกาหลีมีศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน จึงมีการเจรจากันว่าน่าจะได้มีโอกาสร่วมมือกัน เพื่อเปิดประตูความร่วมมือด้านชีววิทยาศาสตร์ เพราะเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก ความร่วมมือในครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมงานวิจัยและการผลิตด้านชีววิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งแม้ในเกาหลีจะไม่มีโรคนี้ แต่ก็จะร่วมมือกับทั่วโลก โดยได้ลงทุนปีละ 170 ล้านบาท พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก เริ่มต้นในปีนี้เป็นต้นไป โดยได้ประสานความร่วมมือกับสำนักวิจัยนานาชาติเช่นของสหรัฐอเมริกา และองค์การอนามัยโลก ขณะเดียวกัน KHIDI ยังสนใจพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์และไข้หวัดใหญ่ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงศักยภาพของประเทศในแถบเอเชียในการร่วมแก้ไขปัญหาของโลก นอกจากนี้ TCELS และ KHIDI จะร่วมมือกันพัฒนายาใหม่ และสรรหานวัตกรรม เครื่องมือเครื่องจักรด้านชีววิทยาศาสตร์ตลอดจนอุปกรณ์ด้านไอทีที่ทันสมัย ให้เป็นสินค้าและบริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะ KHIDI มีลักษณะการทำงานเหมือน TCELS และเป็นองค์กรของรัฐเหมือนกันดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่จะเชื่อมโยงภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อยอดงานด้านชีววิทยาศาสตร์ไปสู่การลงทุน ซึ่งคาดว่าจะมีหลายโครงการที่จะตามมาภายใน 2 ปีนี้อย่างแน่นอน “ เกาหลีเองมีจุดแข็งด้านชีววิทยาศาสตร์หลายอย่าง โดยเฉพาะเทคโนโลยีการจัดการ ดังนั้นหากนักวิจัยใจไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้จะสามารถขยายฐานความคิดโดยการนำผลวิจัยไปต่อยอดทางอุตสาหกรรมได้ และจากความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้ทั้งเกาหลีและไทยเป็นเสมือนองค์กรกลางในการประสานงานและนำเข้าอาหารและยาของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจสามารถที่จะลงทุนหรือขึ้นทะเบียนในด้านนี้ได้อย่างคล่องตัวไม่ต้องเสียเวลาค้นหาด้วยตัวเองเหมือนที่ผ่านมา” นายแพทย์ธงชัย กล่าว ด้าน นายยง ฮุน รี กล่าวว่า KHIDI เป็นองค์กรที่ก่อตั้งมา 7 ปี สามารถเชื่อมโยงและต่อยอดงานวิจัยไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการได้หลายโครงการ ความร่วมมือกับ TCELS ในครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดีของทั้งสองประเทศ เพราะจะเป็นกระตุ้นการลงทุนด้านชีววิทยาศาสตร์ของทั้งในประเทศไทยและเกาหลี และในอนาคตจะขยายไปสู่ภูมิภาคได้ นอกจากนี้หากประเทศไทยต้องการไปลงทุนด้าน อาหาร เครื่องสำอาง หรือ เครื่องมือแพทย์ ซึ่งขณะนี้ธุรกิจด้านความงามกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในเกาหลี ก็สามารถทำได้ ซึ่ง KHIDI ยินดีจะประสานไปยังสำนักงานอาหารและยา (อย.) ของเกาหลี เพื่อให้มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+สถาบันอุตสาหกรรมวันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์... TCELS จัดอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา TRIUP Act และ FTO — ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร "ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ...