เอชเอสบีซี เผยตลาดหุ้นไตรมาส 4/2008 น่าสนใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--9 ธ.ค.--ธนาคารเอชเอสบีซี

***ผู้จัดการกองทุนเชื่อแนวโน้มตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังเป็นกลางกับตลาดหุ้น จีน*** ***เงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ในไตรมาส 3/2008 สูงสุดในรอบสองปี*** ผลสำรวจความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำทั่วโลกรอบล่าสุด โดยธนาคารเอชเอสบีซี เผยผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่คาดตลาดหุ้นมีแนวโน้ม ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4/2008 แต่ยังเห็นแตกต่างกันสำหรับตลาดพันธบัตรและเงินสด มิสบอนนี เท ผู้อำนวยการธุรกิจเอชเอสบีซี พรีเมียร์ การบริหารความมั่งคั่งและกลุ่มตลาดขนาดกลาง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี เผยว่า ถึงแม้ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ยังกังวลกับผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีต่อตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว แต่พวกเขาได้หันมาให้ความสนใจลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เอเชีย- แปซิฟิก และตลาดหุ้นเกิดใหม่เพราะราคาและมูลค่าหุ้นที่น่าสนใจขึ้นเรื่อย ๆ การสำรวจความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 13 แห่ง1 ที่ธนาคารเอชเอสบีซีจัดทำเป็นรายไตรมาส ยังได้วิเคราะห์ปริมาณ เงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (Fund under management: FUM) กระแสเงินลงทุนทั่วโลก (Global money flows) และความเห็นของผู้จัดการกองทุนเกี่ยวกับ การลงทุนในตลาดตราสารต่างๆ โดยกระแสเงินลงทุนสุทธิ (Net money flow)2 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบ กับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2008 ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุน 13 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้อยู่ที่ 3.84 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 17.45 ของปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Total global FUM)3 ผลการสำรวจพบว่าในช่วงไตรมาส 3/2008 มีเงินทุนสุทธิไหลออกรวม 46.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการ ของผู้จัดการกองทุนดังกล่าวลดลงถึงร้อยละ 10.74 โดยมีเงินทุนไหลออกจากกองทุนหุ้นราว 30.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไหลออกจากกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตร ประมาณหนึ่งในสาม หรือคิดเป็นเงิน 79.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และไหลออกจากกองทุนผสมที่ลงทุนทั้งในหุ้นและพันธบัตรจำนวน 59.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ กองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินและกองทุนประเภทอื่นๆ มีเงินทุนไหลออกจำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ มิสบอนนี เท กล่าวว่า “ความกลัวเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรทั่วโลกตกต่ำในช่วงไตรมาสที่ 3/2008 โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งตลาดหุ้นในประเทศเกิดใหม่ ซึ่งมีปริมาณเงินลงทุนไหลออกสูงสุด เพราะนักลงทุนเกรงว่าวิกฤติการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งผลกระทบทำให้การ ลงทุนในตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงมากขึ้น ตลาดพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐอเมริกามีเงินทุนไหลเข้าสูงสุดเพราะนักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดตราสารที่มั่นคง ปลอดภัยกว่า กระแสเงินลงทุนสุทธิ เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ประเภทตลาด และตราสาร สิ้นไตรมาส3/2008 สิ้นไตรมาส2/2008 ตลาดหุ้นเกิดใหม่(Emerging markets equities) - 11.1% ddddd + 4.1% ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) - 5.5% -5.5% - 20.1% (Asia-Pacific ex-Japan equities) ตลาดหุ้นจีน(Greater China equities) - 4.6% ddd + 2.0% ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา(US bonds) + 9.4% - 0.2% ความเห็นของผู้จัดการกองทุนต่อตลาดตราสารประเภทต่างๆ ในไตรมาสที่ 4/2008 มีสาระสำคัญดังนี้ - ตลาดหุ้น: ร้อยละ 50 ของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกับการลงทุนในตลาดหุ้น เทียบกับร้อยละ 22 ที่มี ความเห็นเช่นนี้ในไตรมาสก่อนหน้า และมีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 30 ที่เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น เทียบกับร้อยละ 44 ในไตรมาสก่อนหน้า - ตลาดพันธบัตร: ร้อยละ 50 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าตลาดพันธบัตรน่าสนใจและควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุน เพิ่มจากร้อยละ 44 ในการสำรวจครั้ง ก่อน ร้อยละ 20 เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุน เทียบกับการสำรวจครั้งก่อนที่ไม่มีใครลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตรเลย - เงินสด: มีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 25 ที่เห็นว่าควรให้น้ำหนักกับการถือครองเงินสด เทียบกับร้อยละ 38 ที่มีความเห็นนี้ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 13 เห็นว่าควรลดการถือครองเงินสด เทียบกับไตรมาสก่อนที่ผู้จัดการกองทุนทุกรายให้ความสำคัญกับการถือครองเงินสด มิสเท กล่าวเสริมว่า “ความเห็นของผู้จัดการกองทุนในครั้งนี้เป็นการมองแนวโน้มระยะยาวในขณะที่ตลาดยังมีความผันผวน แนวโน้มด้านจิตวิทยา นักลงทุนหันมาสนใจตลาดหุ้นมากขึ้น เพราะมูลค่าและราคาหุ้นน่าสนใจขึ้น แต่ยังคงสะท้อนความระมัดระวังในการลงทุนในพันธบัตรและเงินสด อันจะเห็นได้จาก ความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนที่ยังแตกต่างกันอยู่ ความเห็นของผู้จัดการกองทุนต่อการลงทุนในตลาดภูมิภาคต่างๆ ในไตรมาสที่ 4/2008 มีสาระสำคัญดังนี้ - ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น): ร้อยละ 56 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) ในไตรมาสที่ 4/2008 นี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน ขณะที่ผู้จัดการกองทุนที่มีความเห็นเป็นกลางมีจำนวนลดลงจาก ร้อยละ 33 เหลือร้อยละ 22 ในการสำรวจคราวนี้ - ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging markets equities): ร้อยละ 56 ของผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักกับตลาดนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 50 ใน การสำรวจเมื่อไตรมาสที่แล้ว ขณะที่มีผู้จัดการกองทุนที่ “เมิน” ตลาดหุ้นเกิดใหม่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13 มาเป็นร้อยละ 33 ในการสำรวจคราวนี้ - ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา: ร้อยละ 30 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุน เทียบกับร้อยละ 22 ในการสำรวจคราวก่อน ขณะที่ยัง มีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 50 เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุน เพิ่มจากร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน - ตลาดหุ้นจีน (Greater China equities): ผู้จัดการกองทุนที่ให้น้ำหนักกับการลงทุนในตลาดหุ้นจีนลดน้อยลง จากร้อยละ 63 เหลือเพียงร้อยละ 25 ในการสำรวจคราวนี้ และร้อยละ 13 ยังเห็นว่าควรลดการลงทุน เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดมีความเห็นเช่นนี้เลย - ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา: ผู้จัดการกองทุนร้อยละ 11 เริ่มกลับมาเน้นการลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ในไตรมาสนี้ เทียบกับไตรมาสที่แล้ว ที่ทุกรายพร้อมใจกัน “เมิน” อย่างไรก็ตาม มีผู้จัดการกองทุนเกินกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 56 คงความเห็นว่าตลาดดังกล่าวยังไม่น่าลงทุน เทียบกับร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน - ตลาดพันธบัตรในยุโรป: ร้อยละ 56 หันมาให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตรยุโรป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 ในไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 33 มี ความเห็นเป็นกลาง ลดลงจากร้อยละ 67 ในไตรมาสที่แล้ว มิสบอนนี เท อธิบายว่า “ความเห็นเชิงบวกต่อแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก และตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่า ผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลกยังคงมั่นใจในศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของภูมิภาคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มกังวลกับภาวะเศรษฐกิจ ชะลอตัวลงในประเทศจีน ซึ่งส่งผลกระทบถึงความเห็นที่มีต่อการลงทุนในตลาดหุ้นจีนด้วย ขณะที่ตลาดพันธบัตรในยุโรปน่าสนใจขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ ธนาคารกลางหลายแห่งในยุโรปเข้ามาช่วยอัดฉีดสภาพคล่อง พยุงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแรงเสริมจิตวิทยาเชิงบวกแก่นักลงทุน” “โดยสรุปคือ นักลงทุนรายย่อยมีโอกาสกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง โดยเลือกตลาดตราสารในบางภูมิภาคที่มูลค่าและราคาน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัวที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความไม่แน่นอนยังมีอยู่สูง ความผันผวนของตลาดยังคงมีอยู่ต่อไป นักลงทุนจึงมีแนวโน้ม ลงทุนอย่างระมัดระวัง โดยเน้นการถือครองเงินสดและการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร และแบ่งเงินลงทุนกลับเข้ามาในตลาดหุ้นบ้าง โดยเลือกเฉพาะตลาด ที่ให้ผลตอบแทนน่าสนใจ กลยุทธ์หลักสำหรับการลงทุนในช่วงนี้ จึงยังคงเน้นการกระจายเงินลงทุนไปที่ตลาดตราสาร ภาคอุตสาหกรรม และภูมิภาคที่ให้ผล ตอบแทนดีและมีความผันผวนน้อย ตลอดจนใช้แผนการลงทุนตามปกติที่เน้นประโยชน์จากต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุน ซึ่งทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ระยะยาวอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606

ข่าวธนาคารเอชเอสบีซี+ธนาคารเอชเอสบีวันนี้

ธนาคารเอชเอสบีซี ได้รับการโหวตเป็น ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของไทย

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของประเทศไทย" หรือ Best Trade Finance Bank พร้อมรั้งตำแหน่งผู้นำด้านการให้บริการลูกค้า ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ และผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศ จากผลสำรวจ Euromoney Trade Finance Survey 2025 (ยูโรมันนี่ เทรด ไฟแนนซ์ เซอร์เวย์ 2025) ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 13,000 ราย จากธุรกิจในกว่า 100 ประเทศและเขตแดนทั่วโลก ธนาคารเอชเอสบีซี ยังได้รับการโหวตให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของโลก"

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย มอบเงินจำนวน 2... ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย บริจาค 2.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ — ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย มอบเงินจำนวน 2.2 ล้านบาท แก่มูลนิ...

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกีย... ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย คว้ารางวัล Best Places to Work — ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัล Best Places to Work ซึ่งเป็นการรับ...

ธนาคารเอชเอสบีซี ออกบทวิเคราะห์จีดีพีประเ... เอชเอสบีซี เผยบทวิเคราะห์จีดีพีไทย ชี้การใช้จ่ายภาครัฐช่วยหนุนการเติบโตเศรษฐกิจ — ธนาคารเอชเอสบีซี ออกบทวิเคราะห์จีดีพีประเทศไทย ระบุจีดีพีไตรมาส 3 ปี 256...

Funding Societies ได้รับวงเงินสินเชื่อครั้งที่ 3 จาก HSBC เพื่อขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับ MSME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้อยู่ภายใต้กองทุน "ASEAN Growth Fund" ของ HSBC ซึ่งเป็นเม็ดเงินรวมกว่า 3.4 พันล้านบาท ตั้งแต่การเริ่มเป็นพันธมิตรกับ Funding Societies ...

นางอุทุมภรณ์ วีรานุวัตติ์ ผู้อำนวยการอาวุ... ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย มอบเงินสนับสนุนกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ — นางอุทุมภรณ์ วีรานุวัตติ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริการดูแลและรับฝากหลักท...

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ ร่วมกับ ธนาคารเอชเอสบ... มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ เปิดงานแสดงสินค้าโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ — มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ ร่วมกับ ธนาคารเอชเอสบีซี เปิดงานแสดงสินค้า "โครงการสร้าง...