เอชเอสบีซีเผยผู้จัดการกองทุนทั่วโลก เล็งตลาดหุ้นอเมริกาเหนือน่าลงทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--ธนาคารเอชเอสบีซี

***ผู้จัดการกองทุนจำนวนมากขึ้นที่ให้ความสนใจปานกลางในตลาดหุ้นเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นจีน*** ***ผู้จัดการกองทุนทุกรายมองพันธบัตรเอเชียน่าสนใจ*** ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลสำรวจความคิดเห็นบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำล่าสุด พบว่า ผู้จัดการกองทุนทุกรายเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น อเมริกาเหนือในไตรมาส 1/11 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีเพียงร้อยละ 25 ที่เห็นว่าตลาดหุ้นอเมริกาเหนือน่าลงทุน ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) จากไตรมาสก่อนที่ราวร้อยละ 75 เคยมองว่าน่าลงทุน ลด เหลือร้อยละ 50 ในไตรมาส 1/11 โดยร้อยละ 43 ของผู้จัดการกองทุนมองว่าตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจปานกลาง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33 ในไตรมาส 4/10 เนื่องจากมีความวิตกกังวลว่ารัฐบาลจีนจะดำเนินมาตรการที่เข้มงวดและใช้นโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อ มร.บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า ผลสำรวจ ความคิดเห็นผู้จัดการกองทุน ชี้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้เปลี่ยนไปอย่างมาก โดยผู้จัดการกองทุนทุกรายเห็นว่าตลาดหุ้นน่าลงทุน แต่ไม่มีรายใด เลยที่แนะลงทุนในพันธบัตรหรือถือครองเงินสด ล่าสุดผู้จัดการกองทุนกำลังให้ความสนใจในตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น มี การควบรวมกิจการหลายแห่ง และรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทที่น่าจะมีทิศทางดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนต่างก็ลังเลที่จะลงทุนในตลาดหุ้น เอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) เนื่องจากกังวลปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค และเห็นว่าตลาดหุ้นจีนเริ่มคลายความร้อนแรงลง เนื่องจากผลพวงเรื่องมาตรการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ “อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 1/11 ผู้จัดการกองทุนทุกรายเห็นว่าตลาดพันธบัตรเอเชียน่าลงทุน เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีเพียงร้อยละ 60 ที่เห็น ว่าน่าสนใจ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชีย และฐานะการเงินที่แข็งแกร่งของรัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม และบริษัทเอกชน ที่ออกพันธบัตรในภูมิภาคนี้ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และญี่ปุ่น อาจเป็นชนวนให้เกิดความไม่แน่นอนและความผันผวนของตลาด ซึ่งจะไม่ส่งผลดีสำหรับ ไตรมาสแรก แต่โดยรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะยาวยังอยู่ในเกณฑ์ดี” กลยุทธ์การจัดสรร ลดน้ำหนักการลงทุน คงน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนักการลงทุน เงินลงทุนไตรมาส 1/2011 (Underweight) การลงทุน(Neutral) (Overweight) หุ้น 0% (0%) 0% (50%) 100% (50%) พันธบัตร 43% (14%) 57% (86%) 0% (0%) เงินสด 71% (57%) 29% (29%) 0% (14%) หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บเป็นผลการสำรวจในไตรมาส 4/2010 ธนาคารเอชเอสบีซีสำรวจและวิเคราะห์ความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 12 แห่ง1 เป็นประจำทุกไตรมาส โดยวิเคราะห์ปริมาณ เงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (funds under management: FUM) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดตราสารต่างๆ (asset allocation views) และกระแส เงินลงทุนทั่วโลก (global money flows) ทั้งนี้ประมาณการกระแสเงินลงทุนสุทธิ (net money flow estimates)2 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุน ภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 4/2010 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การ บริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนทั้ง 12 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดอยู่ที่ 3.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 16.4 ของปริมาณ เงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (total global FUM)3 กระแสเงินลงทุนทั่วโลก ในไตรมาส 4/10 ประเภทตลาด และตราสาร สิ้นไตรมาส 4/2010 สิ้นไตรมาส3/2010 ตลาดหุ้นจีน +9.6% -1.0% ตลาดหุ้นเกิดใหม่ +5.9% +1.9% ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) -0.3% +5.2% ตลาดหุ้นยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร -0.9% -3.8% ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ -3.6% -2.9% ตลาดหุ้นทั่วโลก -4.7% -3.9% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -7.7% -1.3% ตลาดพันธบัตรทั่วโลก +11.6% +9.4% ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่/ให้ผลตอบแทนสูง +7.2% +10.9% ตลาดพันธบัตรยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร -0.8% -4.3% ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา -0.9% +2.8% ผลการสำรวจพบว่าเมื่อสิ้นไตรมาส 4/2010 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการเพิ่มขึ้น 98.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.54 จากไตรมาส 3/2010 โดยกองทุนเกือบทั้งหมดมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ยกเว้นกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงิน ส่วนกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินมีปริมาณเงินลดลง 33.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่กองทุนหุ้นมีปริมาณเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 79.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่กองทุนพันธบัตรมียอด เงินสูงขึ้น 23.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ กระแสเงินลงทุนสุทธิในไตรมาส 4/2010 เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมการสำรวจ ในไตรมาส 4/10 พบว่า กระแสเงินลงทุนไหลเข้าในภูมิภาคที่เติบโตเร็ว กองทุนหุ้นที่ลงทุนในตลาดหุ้นจีน มีปริมาณเงินไหลเข้ามูลค่า 2.2 พัน ล้านเหรียญสหรัฐ ตามการเติบโตเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ส่วนกองทุนหุ้นที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ มีปริมาณเงินไหลเข้าอย่างมาก มูลค่า 5.5 พันล้านเหรียญ ส่วนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงมีเงินลงทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตรทั่วโลก มูลค่า 16.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง มีเม็ดเงินไหลเข้ามูลค่า 7.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 26 จากปริมาณเงินไหลเข้าของไตรมาสก่อน เนื่องจากส่วนต่างผลตอบแทนที่น้อย ทำให้ตลาด เติบโตได้ไม่ดีนัก มร. ลี กล่าวว่า “ผลสำรวจในไตรมาสที่แล้วชี้ว่าผู้จัดการกองทุนเห็นว่าตลาดเกิดใหม่น่าลงทุน การไหลของเงินลงทุนในไตรมาส 4/10 แสดงถึง กลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุนไปยังตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากตลาดหุ้นในเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นจีนมีโอกาสเติบโตได้ดี และในภาวะที่ อัตราดอกเบี้ยยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไป นักลงทุนยังคงลงทุนในตลาดพันธบัตร” “ธนาคารจัดทำสำรวจเพื่อช่วยให้นักลงทุนตื่นตัวกับโอกาสการลงทุนที่จะเกิดขึ้น และปรับพอร์ตการลงทุนให้กระจายอย่างสมดุลตามเป้าหมายการ ลงทุน และระดับการยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละราย HSBC Fund Flow Tracker ไตรมาส 4/10 ธนาคารเอชเอสบีซีได้จัดทำ HSBC Fund Flow Tracker ซึ่งเป็นดัชนีวัดกระแสเงินลงทุนสะสมทั้งหมดเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ไตรมาส 3/2006 เป็นต้นมา พบว่าในภาวะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนมาก จึงมีปริมาณเงินไหลออกจากกองทุนหุ้นอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาส 4/2010 กองทุนที่ ลงทุนในหุ้นมีกระแสเงินไหลออกสุทธิรวม 115.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับยอดเงินไหลออกสุทธิ 64.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่แล้ว ปริมาณเงิน ไหลออกที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินลงทุนที่ไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาเหนือเป็นหลัก เนื่องจากนักลงทุนที่ระมัดระวังฉกฉวยหาผลกำไรจากผลการดำเนินธุรกิจราย ไตรมาสที่ยอดเยี่ยม - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 มาอยู่ที่ระดับ 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 4/10 (เทียบกับ 7.2 พันล้าน เหรียญสหรัฐในไตรมาส 3/10) - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 มูลค่า 34.3 พันล้านเหรียญในไตรมาส 4/10 (เทียบกับ 28.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 3/10) - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น) ลดลงเล็กน้อยจาก 13.9 พันล้านเหรียญสหรัฐมาอยู่ที่ระดับ 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ - ปริมาณเงินไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ มูลค่า 14.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐจากไตรมาสก่อน ส่วนกองทุนพันธบัตรมีปริมาณเงินไหลเข้าสะสม มูลค่า 294.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 4/10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากไตรมาสก่อนในภาวะที่ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และตลาดมีสภาพคล่องสูง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606

ข่าวธนาคารเอชเอสบีซี+ธนาคารเอชเอสบีวันนี้

ธนาคารเอชเอสบีซี ได้รับการโหวตเป็น ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของไทย

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของประเทศไทย" หรือ Best Trade Finance Bank พร้อมรั้งตำแหน่งผู้นำด้านการให้บริการลูกค้า ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ และผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการค้าระหว่างประเทศ จากผลสำรวจ Euromoney Trade Finance Survey 2025 (ยูโรมันนี่ เทรด ไฟแนนซ์ เซอร์เวย์ 2025) ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 13,000 ราย จากธุรกิจในกว่า 100 ประเทศและเขตแดนทั่วโลก ธนาคารเอชเอสบีซี ยังได้รับการโหวตให้เป็น "ธนาคารเพื่อการค้าระหว่างประเทศยอดเยี่ยมของโลก"

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย มอบเงินจำนวน 2... ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย บริจาค 2.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยฯ — ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย มอบเงินจำนวน 2.2 ล้านบาท แก่มูลนิ...

ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกีย... ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย คว้ารางวัล Best Places to Work — ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัล Best Places to Work ซึ่งเป็นการรับ...

ธนาคารเอชเอสบีซี ออกบทวิเคราะห์จีดีพีประเ... เอชเอสบีซี เผยบทวิเคราะห์จีดีพีไทย ชี้การใช้จ่ายภาครัฐช่วยหนุนการเติบโตเศรษฐกิจ — ธนาคารเอชเอสบีซี ออกบทวิเคราะห์จีดีพีประเทศไทย ระบุจีดีพีไตรมาส 3 ปี 256...

Funding Societies ได้รับวงเงินสินเชื่อครั้งที่ 3 จาก HSBC เพื่อขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับ MSME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้อยู่ภายใต้กองทุน "ASEAN Growth Fund" ของ HSBC ซึ่งเป็นเม็ดเงินรวมกว่า 3.4 พันล้านบาท ตั้งแต่การเริ่มเป็นพันธมิตรกับ Funding Societies ...

นางอุทุมภรณ์ วีรานุวัตติ์ ผู้อำนวยการอาวุ... ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย มอบเงินสนับสนุนกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ — นางอุทุมภรณ์ วีรานุวัตติ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริการดูแลและรับฝากหลักท...

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ ร่วมกับ ธนาคารเอชเอสบ... มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ เปิดงานแสดงสินค้าโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ — มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ ร่วมกับ ธนาคารเอชเอสบีซี เปิดงานแสดงสินค้า "โครงการสร้าง...