การกลับมาของพะยูนที่อ่าวตังเข็น แหลมพันวา จ.ภูเก็ต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

นักวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบพะยูนบริเวณอ่าวตังเข็น แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต หลังจากไม่ได้พบในบริเวณนี้มาเกือบ 30 ปี หวั่นการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวจะทำให้พะยูนหายไป นางกาญจนา อดุลยานุโกศล นักวิชาการประมง 8 ว หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า เมื่อปลายปี 2551 คณะนักวิจัยกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ภูเก็ต นำทีมโดยนายเผ่าเทพ เชิดสุขใจ นักวิชาการประมง ได้สำรวจพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูน (feeding trails) จำนวนมากที่อ่าวตังเข็น แหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นเวลานานแล้วที่มีการพบพะยูนที่อ่าวตังเข็นนี้ โดยสถาบันฯ เคยได้พบพะยูนความยาว 2.8 เมตรที่กอ่าวตังเข็น เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 หลังจากนั้นก็ไม่เคยได้รับข่าวว่ามีพะยูนเข้ามาในอ่าวตัวเข็นอีกเลย จึงทำให้ทีมงานเกิดความสนใจที่จะค้นหาตัวพะยูนเป็น ๆ ทั้งนี้ ทีมงานได้ขออนุญาตโรงแรมเดอะรีเจนต์ที่ตั้งอยู่บนเขาสูงด้านขวาของอ่าวตังเข็นเพื่อขึ้นไปสังเกตพะยูน และตื่นเต้นมาก เพราะเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 เวลาประมาณ 10:00 น. ได้พบพะยูนจำนวน 1 ตัวโผล่ขึ้นมาหายใจและดำลงไปกินหญ้าทะเลในบริเวณแนวหญ้าทะเลกลางอ่าว เป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง และทีมงานสามารถบันทึกภาพไว้ได้ หลังจากนั้นทีมงานก็เพียรเฝ้าสังเกตพะยูนจากโรงแรมเดอะรีเจนต์เกือบทุกวัน โดยสามารถสังเกตเห็นพะยูนได้ 5 ครั้งใน 4 วัน (วันที่ 29 พฤศจิกายน 2551, วันที่ 6, 7 และ 9 ธันวาคม 2551) จากการเฝ้าสังเกตทั้งหมด 26 ครั้ง และพบว่าพะยูนเข้ามากินหญ้าทะเลแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง ในช่วงน้ำทะเลขึ้นเต็มฝั่ง พะยูนตัวดังกล่าวมีขนาดความยาวประมาณ 2 เมตร เข้ามากินหญ้าทะเลในอ่าวตังเข็นในช่วงน้ำทะเลขึ้น บางครั้งพบเห็นเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง โดยจะกินหญ้าทะเลและขึ้นมาหายใจทุก 2-3 นาที และในช่วงน้ำทะเลลง ทีมงานได้สำรวจและติดตามรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนมาตลอดเวลา 2 เดือนเศษ มีการวางทุ่นเพื่อกำหนดบริเวณพื้นที่ที่ศึกษาจำนวน 5 ทุ่น พร้อมทำเครื่องหมายรอยกินของพะยูนเพื่อให้สามารถติดตามรอยกินครั้งใหม่ ๆ ได้ถูกต้อง และได้พบรอยกินวันละ 19-30 รอย ซึ่งรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนมีความกว้างประมาณ 15 เซนติเมตรและความยาวประมาณ 2 เมตร “ สิ่งที่น่าห่วงใย คือ หาดแห่งนี้มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์มาก ชายหาดด้านในมีแหล่งหญ้าทะเล ส่วนด้านนอกเป็นแนวปะการัง และด้านขวาของหาดเป็นป่าชายเลน จากเดิมที่อ่าวนี้มีเฉพาะชาวบ้านและชาวประมงขนาดเล็กเพียงไม่กี่หลังคาเรือน แทบไม่มีการทำการประมงในอ่าวนี้เลย ชาวบ้านอาจหาเก็บหอยเป็นครั้งคราวในตอนน้ำลง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาชายหาดของอ่าวตังเข็นเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ และหากมีการสร้างท่าเทียบเรือหรือมีเรือเร็วเข้าออกในอ่าวนี้ พะยูนคงจะอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน” นักวิชาการ ทช. กล่าวในที่สุด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กลุ่มสื่อสารองค์กร www.dmcr.go.th

ข่าวกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง+สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลวันนี้

อ.อ.ป. ร่วมประชุมภาคีป่าไม้แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 20 (UNFF20)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั... มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง — มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้ส...

นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดี... LET จัดอบรม e-Service การบริหารจัดการสัตว์ป่าตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ — นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รัก...