พายุนาคเล่นน้ำ (waterspout)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--11 ก.ย.--สวทช.

ช่วงนี้ประเทศไทยได้เจอกับปรากฏการณ์พายุงวงช้างอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อยนัก ซึ่งเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม มีพายุงวงช้างเกิดขึ้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน และล่าสุดก็มีการเกิดพายุงวงช้าง ที่บริเวณบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (สวทช.) อธิบายถึงปรากฏการณ์พายุงวงช้างที่เกิดขึ้นว่า พายุงวงช้าง มีชื่อที่ถูกต้องคือ พายุนาคเล่นน้ำ หรือ พวยน้ำ (waterspout) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายท่อน้ำขนาดใหญ่เชื่อมต่อระหว่างผืนฟ้าและพื้นน้ำ ลักษณะการเกิดนาคเล่นน้ำมี 2 แบบ ได้แก่ 1. เป็นพายุทอร์นาโดที่เกิดขึ้นเหนือผืนน้ำ (ซึ่งอาจจะเป็นทะเล ทะเลสาบ หรือแอ่งน้ำใดๆ) โดยพายุทอร์นาโดจะเกิดขึ้นระหว่างที่ฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก เรียกว่า พายุฝนฟ้าคะนองแบบซูเปอร์เซลล์ (supercell thunderstorm) และมีระบบอากาศหมุนวนที่เรียกว่า เมโซไซโคลน (mesocyclone) พายุนาคเล่นน้ำแบบนี้จึงเรียกว่า นาคเล่นน้ำที่เกิดจากทอร์นาโด (tornadic waterspout) 2. เกิดจากการที่มวลอากาศเย็นเคลื่อนผ่านเหนือผิวน้ำที่อุ่นกว่า โดยบริเวณใกล้ๆ ผิวน้ำมีความชื้นสูง และไม่ค่อยมีลมพัด (หรือพัดเบาๆ) ผลก็คืออากาศที่อยู่ติดกับผืนน้ำซึ่งอุ่นในบางบริเวณจะยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้อากาศโดยรอบไหลเข้ามาแทนที่ จากนั้นจึงพุ่งเป็นเกลียวขึ้นไป ในช่วงที่อากาศพุ่งขึ้นเป็นเกลียววนนี้ หากน้ำในอากาศยังอยู่ในรูปของไอน้ำ จะยังมองไม่เห็นอะไร แต่หากอากาศขยายตัวและเย็นตัวลงถึงจุดหนึ่ง ไอน้ำก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำจำนวนมาก ทำให้เราเห็นท่อหรือ ‘งวงช้าง’ เชื่อมผืนน้ำและเมฆ แบบนี้เรียกว่า นาคเล่นน้ำของแท้ (true waterspout) หรือ นาคเล่นน้ำที่เกิดในช่วงอากาศดีพอสมควร (fair-weather waterspout) ซึ่งเกิดได้บ่อย และเป็นประเภทเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่เกิดมักจะมีพายุฝนฟ้าคะนองน่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างนาคเล่นน้ำทั้งสองแบบนี้ก็คือนาคเล่นน้ำที่เกิดจากทอร์นาโดจะเริ่มจากอากาศหมุนวน (ในบริเวณเมฆฝนฟ้าคะนอง) แล้วหย่อนลำงวงลงมาแตะพื้น คือ อากาศหมุนจากบนลงล่าง ส่วนนาคเล่นน้ำของแท้นั้น จะเริ่มจากอากาศหมุนวนบริเวณผิวพื้นน้ำ แล้วพุ่งขึ้นไป คือ อากาศหมุนจากล่างขึ้นบน สำหรับขนาดพายุนาคเล่นน้ำส่วนใหญ่ยาวประมาณ 10-100 เมตร แต่บางครั้งยาวมากถึง 600 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางก็พบได้ตั้งแต่เล็กๆ แค่ 1 เมตร ไปจนถึงหลายสิบเมตร โดยในนาคเล่นน้ำแต่ละตัว อาจมีท่อหมุนวนเพียงท่อเดียวหรือหลายท่อก็ได้ โดยแต่ละท่อจะหมุนด้วยอัตราเร็วในช่วง 20-80 เมตรต่อวินาที (หากลองเปรียบเทียบกับพายุทอร์นาโดซึ่งมักจะยาวประมาณ 100-300 เมตร และหมุนวนเร็วกว่าคือ 40-150 เมตรต่อวินาที) กระแสลมในตัวพายุเร็วถึง 100-190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจสูงถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถคว่ำเรือเล็กๆ ได้สบาย นอกจากหมุนวนรอบตัวเองแล้ว นาคเล่นน้ำยังสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วตั้งแต่ 3 ถึง 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ค่อนข้างช้าประมาณ 18-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นจึงมีคำแนะนำสำหรับชาวเรือว่า ให้สังเกตทิศทางการเคลื่อนที่ให้ดี แล้วหนีไปในทิศตรงกันข้าม อย่างไรก็ดี พายุนาคเล่นน้ำมีอายุไม่ยืนยาวนัก คืออยู่ในช่วง 2-20 นาที (แต่นานถึง 30 นาทีก็เคยพบ) และหากนาคเล่นน้ำขึ้นฝั่ง ก็จะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ความยาว (เมตร) เส้นผ่านศูนย์กลาง (เมตร) อัตราเร็วของการหมุนแต่ละท่อ (เมตรต่อวินาที) การเคลื่อนที่ของพายุนาคเล่นน้ำ (กิโลเมตรต่อชั่วโมง) อายุ (นาที) 10-600 1-10 20-80 3-130 2-20 สำหรับท่านใดที่มีความสนใจ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://gotoknow.org/blog/weather/101100 ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2564 7000 ต่อ 1460-1462 โทรสาร 0 2564 7000 ต่อ 1482 e-mail : [email protected] สำหรับขนาดพายุนาคเล่นน้ำส่วนใหญ่ยาวประมาณ 10-100 เมตร แต่บางครั้งยาวมากถึง 600 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางก็พบได้ตั้งแต่เล็กๆ แค่ 1 เมตร ไปจนถึงหลายสิบเมตร โดยในนาคเล่นน้ำแต่ละตัว อาจมีท่อหมุนวนเพียงท่อเดียวหรือหลายท่อก็ได้ โดยแต่ละท่อจะหมุนด้วยอัตราเร็วในช่วง 20-80 เมตรต่อวินาที (หากลองเปรียบเทียบกับพายุทอร์นาโดซึ่งมักจะยาวประมาณ 100-300 เมตร และหมุนวนเร็วกว่าคือ 40-150 เมตรต่อวินาที) กระแสลมในตัวพายุเร็วถึง 100-190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจสูงถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถคว่ำเรือเล็กๆ ได้สบาย นอกจากหมุนวนรอบตัวเองแล้ว นาคเล่นน้ำยังสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วตั้งแต่ 3 ถึง 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ค่อนข้างช้าประมาณ 18-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นจึงมีคำแนะนำสำหรับชาวเรือว่า ให้สังเกตทิศทางการเคลื่อนที่ให้ดี แล้วหนีไปในทิศตรงกันข้าม อย่างไรก็ดี พายุนาคเล่นน้ำมีอายุไม่ยืนยาวนัก คืออยู่ในช่วง 2-20 นาที (แต่นานถึง 30 นาทีก็เคยพบ) และหากนาคเล่นน้ำขึ้นฝั่ง ก็จะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ความยาว (เมตร) เส้นผ่านศูนย์กลาง (เมตร) อัตราเร็วของการหมุนแต่ละท่อ (เมตรต่อวินาที) การเคลื่อนที่ของพายุนาคเล่นน้ำ (กิโลเมตรต่อชั่วโมง) อายุ (นาที) 10-600 1-10 20-80 3-130 2-20 สำหรับท่านใดที่มีความสนใจ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://gotoknow.org/blog/weather/101100 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวบัญชา ธนบุญสมบัติ+วิทยาศาสตร์วันนี้

เปิดประสบการณ์ใหม่ท่องไปกับดินแดนตัวหนังสือ ในงาน เชียงใหม่บุ๊คแฟร์ ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย. – 7 ก.ค.62 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ขอเชิญทุกท่านเปิดประสบการณ์ใหม่ท่องไปกับดินแดนตัวหนังสือ ในงาน เชียงใหม่บุ๊คแฟร์ พบกับนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล คุณโตมร ศุขปรีชา คุณปราบต์ เนียรปาตี ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ แห่งชมรมคนรักมวลเมฆ คุณภาณุ ตรัยเวช คุณธีรภัทร เจริญสุข ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ และคุณธิดา จงนิรามัยสถิต ผู้แปลเซเปี่ยนส์ 21 บท

“a day TALK” 5 วิทยากรคัดสรร ตามหา...1 วิทยากรคัดเสริม !

นิตยสาร “a day” จัดกิจกรรมใหม่เอี่ยมเปี่ยมแรงบันดาลใจในโครงการ “a day TALK” ชวน 5 วิทยากรคัดสรรมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่แปลกประหลาด ฉลาด ขำ บ้า แต่ว่าน่ารู้และน่ารัก อาทิ ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด นักฟิสิกส์ปริญญาเอกและคอมเมนเต...

กิจกรรม “โอริงามิ” กระดาษพับ...อัศจรรย์

ร้านนายอินทร์ชวนเพื่อนนักอ่านช่างประดิษฐ์มาเรียนรู้วิธีการพับกระดาษแบบญี่ปุ่น ที่เรียกว่า “โอริงามิ”ในกิจกรรม “โอริงามิ กระดาษพับ...อัศจรรย์” สรรค์สร้างจินตนาการผ่านกระดาษ พร้อมพบกับวิธีการพับกระดาษในรูปแบบต่างๆ โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ในวันอาทิตย์ที่ 19...

นักวิชาการเผย “รุ้งหัวกลับ” แท้จริงคือ“อาทิตย์ทรงกลด”แบบเส้นโค้งเซอร์คัมซีนิทัล

จากกรณีที่มีการนำภาพคล้าย รุ้งกินน้ำกลับหัว ซึ่งถ่ายโดย ดร.แจ็กเกอลีน มิตตอง นักดาราศาสตร์ อวกาศแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งถ่ายภาพได้จากท้องฟ้าบริเวณใกล้บ้านพักที่ประเทศอังกฤษนั้น ได้ทำให้เกิดกระ...

นักวิชาการเผย “ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง” คือ การทรงกลดแบบซันด็อก (Sundogs )

ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ในช่วงเช้าของวันที่ 19 มิถุนายน 2553 ได้เกิดปรากฎการณ์ที่ดูเสมือนว่ามีดวงอาทิตย์ถึง 3 ดวงอยู่บนฟ้าจังหวัดศรีสะเกษ อีกทั้งเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ก็ได้เกิดปรากฏการณ์เช่น...

ปรากฏการณ์ “หมวกเมฆสีรุ้ง” ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช.

ในช่วงเย็นของวันที่ 2 มิถุนายน 2553 บนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกในบริเวณกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอันแสนงดงาม คือ ภาพของมวลเมฆขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้ริ้วแสงสีรุ้ง ซึ่งได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่พบเห็น...

ขอเชิญสมัครร่วมกิจกรรม “โอริงามิ ศาสตร์ในงานศิลป์”

นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า สสวท. ขอเชิญผู้สนใจเข้ากิจกรรม “โอริงามิ ศาสตร์ในงานศิลป์” โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกอบด้วย...

นักวิชาการเตือนหลบฝน ใต้ต้นไม้ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เสี่ยงถูกฟ้าผ่า

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงเดือนมีนาคมถึง...

Kids and School Forum VOL.1 ไขคำตอบ “กลยุทธ์สร้างเด็กพันธุ์ใหม่...ต้องเก่งรอบด้าน”

นิตยสาร Kids and School เปิดพื้นที่ให้คุณพ่อคุณแม่ของคุณหนูๆวัย 3-9 ปี ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ...