ปรากฏการณ์ “หมวกเมฆสีรุ้ง” ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--สวทช.

ในช่วงเย็นของวันที่ 2 มิถุนายน 2553 บนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกในบริเวณกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอันแสนงดงาม คือ ภาพของมวลเมฆขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้ริ้วแสงสีรุ้ง ซึ่งได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่พบเห็นเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย และผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า เมฆก้อนใหญ่ที่เห็นได้แก่ เมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud) หรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ซึ่งตามปกติแล้วเมฆฝนฟ้าคะนองจะสูงในช่วง 7-10 กิโลเมตร แต่จากภาพและหลักฐานที่ปรากฏเชื่อว่าเมฆก้อนนี้น่าจะมีความสูงมากกว่า 10 กิโลเมตร (ข้อมูลวิชาการระบุว่า เมฆฝนฟ้าคะนองอาจมีขนาดสูงสุดได้ถึง 23 กิโลเมตร) ส่วนสิ่งที่ทำให้เมฆก้อนนี้มีความงดงามโดดเด่นเนื่องจากมีปรากฏการณ์อย่างน้อย 3 แบบหลักที่เกิดขึ้นในเวลาพร้อมๆ กัน ได้แก่ หมวกเมฆ (pileus) ปรากฏการณ์สีรุ้ง (irisation) และเงาเมฆ (cloud shadow) นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ย่อยอื่นๆ เช่น ขอบเงิน (silver lining) เป็นต้น “ปรากฏการณ์สีรุ้ง หรือ irisation (เรียกว่า iridescence ก็ได้) เกิดจากการที่แสงอาทิตย์สีขาวตกกระทบเม็ดน้ำขนาดต่างๆ ในเมฆจางๆ ซึ่งเป็นเมฆที่มีจำนวนหยดน้ำไม่หนาแน่นมากนัก เมื่อแสงตกกระทบหยดน้ำแต่ละหยด จะเกิดการหักเหเปลี่ยนทิศทางไปจากแนวเดิม แต่เนื่องจากแสงสีต่างๆ (ที่ประกอบขึ้นเป็นแสงสีขาว) หักเหได้ไม่เท่ากัน ผลก็คือ แสงสีขาวแตกออกเป็นสีรุ้ง และเนื่องจากในเมฆจางๆ ที่ว่านี้มีเม็ดน้ำขนาดต่างๆ กัน ทำให้สีรุ้งสีหนึ่ง (เช่น สีเขียว) ที่หักเหออกจากเม็ดน้ำขนาดหนึ่งๆ ซ้อนทับกับสีรุ้งอีกสีหนึ่ง (เช่น สีเหลือง) ที่มาจากเม็ดน้ำอีกขนาดหนึ่ง จึงทำให้มองเห็นสีรุ้งมีลักษณะเหลือบซ้อนทับกันอย่างสลับซับซ้อน บางทีก็คล้ายสีรุ้งบนผิวไข่มุก บางทีก็ซ้อนกันเป็นชั้นๆ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวบัญชา ธนบุญสมบัติ+กรุงเทพมหานครวันนี้

เปิดประสบการณ์ใหม่ท่องไปกับดินแดนตัวหนังสือ ในงาน เชียงใหม่บุ๊คแฟร์ ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย. – 7 ก.ค.62 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ขอเชิญทุกท่านเปิดประสบการณ์ใหม่ท่องไปกับดินแดนตัวหนังสือ ในงาน เชียงใหม่บุ๊คแฟร์ พบกับนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล คุณโตมร ศุขปรีชา คุณปราบต์ เนียรปาตี ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ แห่งชมรมคนรักมวลเมฆ คุณภาณุ ตรัยเวช คุณธีรภัทร เจริญสุข ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ และคุณธิดา จงนิรามัยสถิต ผู้แปลเซเปี่ยนส์ 21 บท

“a day TALK” 5 วิทยากรคัดสรร ตามหา...1 วิทยากรคัดเสริม !

นิตยสาร “a day” จัดกิจกรรมใหม่เอี่ยมเปี่ยมแรงบันดาลใจในโครงการ “a day TALK” ชวน 5 วิทยากรคัดสรรมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่แปลกประหลาด ฉลาด ขำ บ้า แต่ว่าน่ารู้และน่ารัก อาทิ ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด นักฟิสิกส์ปริญญาเอกและคอมเมนเต...

กิจกรรม “โอริงามิ” กระดาษพับ...อัศจรรย์

ร้านนายอินทร์ชวนเพื่อนนักอ่านช่างประดิษฐ์มาเรียนรู้วิธีการพับกระดาษแบบญี่ปุ่น ที่เรียกว่า “โอริงามิ”ในกิจกรรม “โอริงามิ กระดาษพับ...อัศจรรย์” สรรค์สร้างจินตนาการผ่านกระดาษ พร้อมพบกับวิธีการพับกระดาษในรูปแบบต่างๆ โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ในวันอาทิตย์ที่ 19...

นักวิชาการเผย “รุ้งหัวกลับ” แท้จริงคือ“อาทิตย์ทรงกลด”แบบเส้นโค้งเซอร์คัมซีนิทัล

จากกรณีที่มีการนำภาพคล้าย รุ้งกินน้ำกลับหัว ซึ่งถ่ายโดย ดร.แจ็กเกอลีน มิตตอง นักดาราศาสตร์ อวกาศแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งถ่ายภาพได้จากท้องฟ้าบริเวณใกล้บ้านพักที่ประเทศอังกฤษนั้น ได้ทำให้เกิดกระ...

นักวิชาการเผย “ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง” คือ การทรงกลดแบบซันด็อก (Sundogs )

ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ในช่วงเช้าของวันที่ 19 มิถุนายน 2553 ได้เกิดปรากฎการณ์ที่ดูเสมือนว่ามีดวงอาทิตย์ถึง 3 ดวงอยู่บนฟ้าจังหวัดศรีสะเกษ อีกทั้งเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ก็ได้เกิดปรากฏการณ์เช่น...

ขอเชิญสมัครร่วมกิจกรรม “โอริงามิ ศาสตร์ในงานศิลป์”

นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า สสวท. ขอเชิญผู้สนใจเข้ากิจกรรม “โอริงามิ ศาสตร์ในงานศิลป์” โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกอบด้วย...

นักวิชาการเตือนหลบฝน ใต้ต้นไม้ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เสี่ยงถูกฟ้าผ่า

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงเดือนมีนาคมถึง...

Kids and School Forum VOL.1 ไขคำตอบ “กลยุทธ์สร้างเด็กพันธุ์ใหม่...ต้องเก่งรอบด้าน”

นิตยสาร Kids and School เปิดพื้นที่ให้คุณพ่อคุณแม่ของคุณหนูๆวัย 3-9 ปี ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ...