นักวิชาการเผย “ปรากฏการณ์อาทิตย์ 3 ดวง” คือ การทรงกลดแบบซันด็อก (Sundogs )

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--สวทช.

ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ในช่วงเช้าของวันที่ 19 มิถุนายน 2553 ได้เกิดปรากฎการณ์ที่ดูเสมือนว่ามีดวงอาทิตย์ถึง 3 ดวงอยู่บนฟ้าจังหวัดศรีสะเกษ อีกทั้งเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ก็ได้เกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกันนี้ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้สร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นักท่องอินเตอร์เน็ตว่าจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองหรือไม่อย่างไร ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย และผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ อธิบายว่า นี่คือ อาทิตย์ทรงกลด (solar halo) แบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า ซันด็อก (Sundogs) ซึ่งอาจเกิดเป็นคู่อยู่ด้านซ้ายและขวาของดวงอาทิตย์ แต่บางครั้งก็เกิดเพียงด้านเดียว “ซันด็อกเกิดจากการที่แสงอาทิตย์หักเหผ่านผลึกน้ำแข็งรูป 6 เหลี่ยมแบนๆ ที่อยู่ภายในเมฆระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เมฆซีร์โรสเตรตัส (cirrostratus) แสงที่เดินทางผ่านผลึกจะปรากฏเป็นแถบแสงอยู่ข้างดวงอาทิตย์ โดยมีสีแดงจะอยู่ด้านใกล้ดวงอาทิตย์ 1. ซันด็อก ที่มาภาพ : http://atoptics.co.uk ชื่อซันด็อกมาจากตำนานเทพของพวกนอรส์ (Norse) โดยดวงอาทิตย์เปรียบเสมือนเทพโอดิน (Odin) และแถบแสง 2 ข้างคือ สุนัขป่าที่ติดสอยห้อยตามเทพโอดิน หากแถบซันด็อกสว่างมากๆ จะทำให้ดูเหมือนว่ามีดวงอาทิตย์ 3 ดวงอยู่บนท้องฟ้า ซึ่งฝรั่งเรียกว่า ม็อคซัน (mock suns) แปลว่า ดวงอาทิตย์เลียนแบบ ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ในภาษาละตินคือ พาร์ฮีเลีย (parhelia) มาจากคำอุปสรรค์ par (อยู่ข้าง) กับ helios (ดวงอาทิตย์) รวมกันหมายถึง อยู่ข้างดวงอาทิตย์ นั่นเอง” 2.ซันด็อกเกิดจากแสงอาทิตย์หักเหผ่านผลึกน้ำแข็ง 6 เหลี่ยมที่วางตัวในแนวระนาบ ที่มาภาพ : http://atoptics.co.uk 3. เส้นทางเดินของแสงในผลึกที่ทำให้ซันด็อกที่เกิดขึ้น มีสีรุ้ง โดยสีแดงจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ที่มาภาพ : http://atoptics.co.uk ตำแหน่งของแถบแสงในปรากฏการณ์ซันด็อกจะขึ้นอยู่กับมุมเงยของดวงอาทิตย์ กล่าวคือ หากดวงอาทิตย์มีมุมเงยต่ำ เช่น 3 องศา ซันด็อกอยู่ในแนวระดับใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 22 องศา แต่หากดวงอาทิตย์มีมุมเงยสูงขึ้น ซันด็อกจะเคลื่อนตัวออกห่างจากดวงอาทิตย์และจางลง จนกระทั่งเมื่อมุมเงยของดวงอาทิตย์อยู่เกิน 40 องศา จะเห็นซันด็อกได้ยากเนื่องจากแถบแสงจางมาก 4. แผนภาพแสดงตำแหน่งของซันด็อกสำหรับค่ามุมเงยในช่วง 0 ถึง 40 องศา 5. สำหรับดวงอาทิตย์มีมุมเงย 3 องศา ซันด็อกอยู่ในแนวระดับใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ 6. สำหรับมุมเงยที่ 52 องศา เส้นทางเดินของแสงจะซับซ้อนทำให้แถบซันด็อกจาง ที่มาของภาพ : http://atoptics.co.uk ดร.บัญชา กล่าวว่า ปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ยังอาจเกิดกับดวงจันทร์ได้อีกด้วย โดยเรียกว่า "มูนด็อก" (moondog) แต่มูนด็อกเป็นปรากฏการณ์ที่สังเกตเห็นได้ยากกว่า เนื่องจากดวงจันทร์จะต้องสว่างมาก เช่น ใกล้คืนวันเพ็ญ และมีเมฆซีร์โรสเตรตัสบดบังดวงจันทร์อยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทรงกลดแบบต่างๆ ของดวงอาทิตย์ สามารถศึกษาจากเว็บของ ชมรมคนรักมวลเมฆ (http://portal.in.th/cloud-lover) หรือสอบถาม ชมรมคนรักมวลเมฆ สาขา FaceBook ได้โดยสมัครเป็นสมาชิกของชมรมฯ ที่มาของภาพ http://atoptics.co.uk สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวบัญชา ธนบุญสมบัติ+จังหวัดศรีสะเกษวันนี้

เปิดประสบการณ์ใหม่ท่องไปกับดินแดนตัวหนังสือ ในงาน เชียงใหม่บุ๊คแฟร์ ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย. – 7 ก.ค.62 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ขอเชิญทุกท่านเปิดประสบการณ์ใหม่ท่องไปกับดินแดนตัวหนังสือ ในงาน เชียงใหม่บุ๊คแฟร์ พบกับนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล คุณโตมร ศุขปรีชา คุณปราบต์ เนียรปาตี ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ แห่งชมรมคนรักมวลเมฆ คุณภาณุ ตรัยเวช คุณธีรภัทร เจริญสุข ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ และคุณธิดา จงนิรามัยสถิต ผู้แปลเซเปี่ยนส์ 21 บท

“a day TALK” 5 วิทยากรคัดสรร ตามหา...1 วิทยากรคัดเสริม !

นิตยสาร “a day” จัดกิจกรรมใหม่เอี่ยมเปี่ยมแรงบันดาลใจในโครงการ “a day TALK” ชวน 5 วิทยากรคัดสรรมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่แปลกประหลาด ฉลาด ขำ บ้า แต่ว่าน่ารู้และน่ารัก อาทิ ดร.สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด นักฟิสิกส์ปริญญาเอกและคอมเมนเต...

กิจกรรม “โอริงามิ” กระดาษพับ...อัศจรรย์

ร้านนายอินทร์ชวนเพื่อนนักอ่านช่างประดิษฐ์มาเรียนรู้วิธีการพับกระดาษแบบญี่ปุ่น ที่เรียกว่า “โอริงามิ”ในกิจกรรม “โอริงามิ กระดาษพับ...อัศจรรย์” สรรค์สร้างจินตนาการผ่านกระดาษ พร้อมพบกับวิธีการพับกระดาษในรูปแบบต่างๆ โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ในวันอาทิตย์ที่ 19...

นักวิชาการเผย “รุ้งหัวกลับ” แท้จริงคือ“อาทิตย์ทรงกลด”แบบเส้นโค้งเซอร์คัมซีนิทัล

จากกรณีที่มีการนำภาพคล้าย รุ้งกินน้ำกลับหัว ซึ่งถ่ายโดย ดร.แจ็กเกอลีน มิตตอง นักดาราศาสตร์ อวกาศแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งถ่ายภาพได้จากท้องฟ้าบริเวณใกล้บ้านพักที่ประเทศอังกฤษนั้น ได้ทำให้เกิดกระ...

ปรากฏการณ์ “หมวกเมฆสีรุ้ง” ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช.

ในช่วงเย็นของวันที่ 2 มิถุนายน 2553 บนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกในบริเวณกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอันแสนงดงาม คือ ภาพของมวลเมฆขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้ริ้วแสงสีรุ้ง ซึ่งได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่พบเห็น...

ขอเชิญสมัครร่วมกิจกรรม “โอริงามิ ศาสตร์ในงานศิลป์”

นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แจ้งว่า สสวท. ขอเชิญผู้สนใจเข้ากิจกรรม “โอริงามิ ศาสตร์ในงานศิลป์” โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกอบด้วย...

นักวิชาการเตือนหลบฝน ใต้ต้นไม้ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ เสี่ยงถูกฟ้าผ่า

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงเดือนมีนาคมถึง...

Kids and School Forum VOL.1 ไขคำตอบ “กลยุทธ์สร้างเด็กพันธุ์ใหม่...ต้องเก่งรอบด้าน”

นิตยสาร Kids and School เปิดพื้นที่ให้คุณพ่อคุณแม่ของคุณหนูๆวัย 3-9 ปี ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ...