บริษัทในเชียงใหม่ถูกตรวจค้นข้อหาใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน

04 Feb 2009

กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--วีโร่พับลิครีเลชั่นส์

เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นบริษัท 2 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์หลังจากจับตามองมาเป็นเวลานานกว่า 2 เดือน ข้อมูลจากทางตำรวจระบุว่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ตรวจพบเป็นผลิตภัณฑ์ของโอโตเด็สค์ ไมโครซอฟต์ และไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส

เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก. ปศท.) นำกำลังเข้าค้นและตรวจสอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวน 76 เครื่องของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปอาหาร 2 แห่ง ปรากฏว่าพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนกว่า 150 รายการ มูลค่ารวมประมาณ 2.5 ล้านบาท

หลายฝ่ายในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ย้ำว่า การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์จำเป็นต่อธุรกิจซอฟต์แวร์ในภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน และเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง รวมทั้งขอให้ภาครัฐดำเนินการป้องปรามอย่างเข้มงวดต่อไป

“การปกป้องสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังก่อให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ อันจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ” นางสาวศิริภัทร ภัทรางกูร โฆษกคณะกรรมการกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ ประจำประเทศไทยกล่าว “การปกป้องลิขสิทธิ์ก่อให้เกิดการจ้างงานคุณภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งซอฟต์แวร์เถื่อนให้ไม่ได้”

เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยยืนยันว่า จะเดินหน้าดำเนินการกับผู้ที่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ต่อไปอย่าง เต็มกำลัง

“บริษัทที่ละเมิดกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยทำให้ภาคไอทีและเศรษฐกิจของประเทศอ่อนแอ” พ.ต.อ. ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการบก. ปศท. กล่าว “เจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยของเรามีหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ไม่ว่าจะเป็นบริษัทไทยหรือต่างชาติ เราจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ว่าจะต้องเข้าตรวจค้นจับกุมกี่ครั้งก็ตาม”

บุคคลต่างๆ ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต่างแสดงความชื่นชมในการดำเนินงานของบก. ปศท. ในการปราบปรามการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา คุณสมพร มณีรัตนะกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ ผู้คิดค้นซอฟต์แวร์พจนานุกรมภาษาไทยที่ได้รับความนิยมอย่างสูงกล่าวว่า การป้องปรามของตำรวจช่วยให้บริษัทสามารถมุ่งมั่นกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่

“โปรแกรมพจนานุกรมของไทยซอฟต์แวร์ฯ เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดตัวหนึ่งในประเทศไทย ทำให้เรามีอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ คุณสมพรกล่าว แต่หากมีการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง ผมเชื่อมั่นว่าเราจะยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายธุรกิจ และจ้างงานใหม่ได้”

ผู้บริหารองค์กรธุรกิจที่ต้องการจัดการความเสี่ยงด้านกฎหมายและทางธุรกิจที่เกี่ยวกับการใช้งานซอฟต์แวร์สามารถนำแนวทางบริหารจัดการสินทรัพย์ด้านซอฟต์แวร์ (Software Asset Management หรือ SAM) มาใช้ แนวทางนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานและการบริหารจัดการระบบต่างๆ ด้านไอที

“กรณีนี้แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความเสี่ยงที่บริษัทต้องเผชิญหากละเลยไม่บริหารจัดการสินทรัพย์ด้านซอฟต์แวร์ ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้ให้แน่ชัดว่าพนักงานของตนใช้ซอฟต์แวร์อะไรอยู่” มร. ดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว “ผู้บริหารองค์กรต้องสื่อสารให้พนักงานเข้าใจว่าการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและขัดต่อกฎหมาย”

บีเอสเอเปิดสายด่วนเพื่อรับรายงานเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ผู้แจ้งเบาะแสผ่านทาง สายด่วน โทร 02-714-1010 หรือทางออนไลน์ มีสิทธิ์ได้รับรางวัลเงินสดสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้จาก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

อาทิมา ตันติกุล

ชลิดา ศิริสุทธิเดชา

วีโร่พับลิครีเลชั่นส์

วีโร่พับลิครีเลชั่นส์

โทร: +66 (0) 2684-1551

โทร: +66 (0) 2684-1551

แฟกซ์: +66 (0) 2684-1553

แฟกซ์: +66 (0) 2684-1553

E-mail: [email protected]

E-mail: [email protected]