สถาบันอาหารชี้ “สินค้าแปรรูป” โอกาสของอุตฯ อาหารไทย ในตลาดโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--สถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร ระบุการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทยจากนี้ไป ต้องมุ่งเพิ่มสัดส่วนส่งออก “สินค้าแปรรูป” ให้เพิ่มสูงขึ้น เน้นส่งออกสินค้าปริมาณน้อย แต่มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น เลี่ยงการแข่งขันกับประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีต้นทุนแรงงานต่ำกว่าไทย ควบคู่การพัฒนาทักษะแรงงาน เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือพัฒนาสินค้าทั้งในแง่มูลค่าเพิ่ม และความหลากหลาย เพื่อขยายช่องทางการตลาดไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น ชู Food Safety และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจุดแข็งทำให้ไทยอยู่เหนือคู่แข่ง ดร.อมร งามมงคลรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เผยว่าในระยะ 7 – 8 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในเชิงปริมาณไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารเน้นหนักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเข้มข้น ซึ่งปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศร่อยหรอลงมาก หลายอุตสาหกรรมเริ่มเกิดปัญหาจากการพึ่งพิงวัตถุดิบจากภายนอกประเทศ การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่จึงเป็นผลมาจากการเพิ่มปัจจัยทุนและแรงงานเข้าสู่ระบบเป็นหลัก การเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ทุนและแรงงานยังไม่มีให้เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก ขณะที่ทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารมีความผันผวนอยู่มาก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่นำผลผลิตในภาคเกษตรกรรมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉลี่ยคิดเป็น 70-80% ของต้นทุนทั้งหมด (แตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรม) โดยเฉพาะการผลิตสินค้าขั้นปฐมในกลุ่มเกษตรและอาหารแปรรูปขั้นต้น เนื่องจากสินค้าเหล่านี้กลายเป็นหนึ่งในระบบห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศไปแล้ว ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนถึงเดือนมิถุนายน 2552 ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ในรูปเงินบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทยเติบโตได้ค่อนข้างสูงอย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวได้รวมปัจจัยทางด้านราคาเข้ามาไว้ด้วย จึงไม่ได้สะท้อนให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงของอุตสาหกรรมอาหารมากนัก “หากโฟกัสไปที่เวทีการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารโลกแล้ว ประเทศไทยจัดอยู่ในผู้เล่นที่อยู่ตรงกลาง ตามหลังประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ที่เข้มแข็งในเรื่องนวัตกรรมและ R&D ขณะที่ประเทศคู่แข่งที่ไล่หลังไทยมาติดๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และเวียดนาม มีสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ คือ สินค้าเกษตรและแปรรูปอย่างง่าย ส่วนสินค้าแปรรูปยังมีมาตรฐานและความปลอดภัยเป็นรองไทย และกลายเป็นช่องว่างที่แบ่งแยกอุตสาหกรรมอาหารของไทยกับประเทศเหล่านี้ออกจากกัน การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในระยะต่อไป จำเป็นต้องมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อเลี่ยงการแข่งขันกับประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีต้นทุนแรงงานต่ำ ซึ่งแนวทางดังกล่าวคงไม่เน้นการเพิ่มรายได้ เข้าประเทศจากการส่งออกสินค้าจำนวนมาก และต้องแลกมาด้วยการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ควรเน้นส่งออกสินค้าปริมาณน้อยแต่ให้มีรายได้เข้าประเทศมาก และกลไกในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าวก็ต้องอาศัยการพัฒนาทักษะแรงงาน ยกระดับเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาสินค้า ทั้งในแง่มูลค่าเพิ่มและความหลากหลาย สามารถขยายช่องทางการตลาดไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น และสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กับไปคือ การยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าให้มีความปลอดภัย (Food Safety) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นจุดแข็งที่ทำให้ไทยอยู่เหนือคู่แข่งได้” ดร.อมร กล่าว การส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปมีการเปลี่ยนแปลงที่มีเสถียรภาพมากกว่ากลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปขั้นต้น เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของไทยเพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีในการแปรรูปรวมทั้งทักษะความชำนาญในการผลิต ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้ไทยได้เปรียบประเทศคู่แข่งอื่นๆ อีกหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ส่งผลให้สินค้าอาหารแปรรูปของไทยมีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับจากตลดาดต่างประเทศ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวอุตสาหกรรมอาหารไทย+ทรัพยากรธรรมชาติวันนี้

อาหารไทยไปไกลในยุโรป

มาสเตอร์เชฟนูรอ โซ๊ะมณี สเต็ปเป้ (ที่ 4 จากซ้าย) คณะอนุกรรมการอาหารถิ่นฯ ของสภาอุตสาหกรรมอาหารไทย และลูกสาว เชฟแซนดร้า สเต็ปเป้ (ที่ 3 จากขวา) ร่วมสาธิตการทำเมนูอาหารไทยยอดนิยม "ต้มข่าไก่ และต้มข่าเห็ด" ซึ่งถ่ายทอดสดจากบลู เอเลแฟ่น ภูเก็ต สู่ผู้ชมในประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประจำกรุงปารีส โดยมี คิม สเต็ปเป้ (ซ้ายสุด) โยเอล เรโนด์ และ คริส สเต็ปเป้

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ - ซีพีแรม และ ซีพี ฟู้ดแล็บ ลงนามความร่วมมือยกระดับการศึกษา "จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการอาหาร"

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซีพีแรม และ ซีพี ฟู้ดแล็บ ลงนามความร่วมมือยกระดับการศึกษา "จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการจัดการอาหาร" เสริมแกร่งอุตสาหกรรมอาหาร...

บริษัท เจดีฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ JDF เป... JD FOOD เตรียม Grand Opening เปิดตัวร้านอาหาร Kindee By Chef R วันที่ 8 พฤษภาคมนี้ — บริษัท เจดีฟู้ด จำกัด (มหาชน) หรือ JDF เป็นผู้ผลิตเครื่องปรุงรสและอาห...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบความสามารถลดการก่อภูมิแพ้ของสารสกัดและอาหาร — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเ...

CPF หนุน BCG Model พัฒนา "Future Food" ร่วมขับเคลื่อนสู่ความมั่นคงทางอาหาร

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตอกย้ำความเป็น "ครัวของโลกที่ยั่งยืน" โชว์นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคตที่เน้นการพัฒนาอาหารจากวัตถุดิบทางเลือก และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อความปลอดภัย และสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้บริโภค...

อร่อยกรุบไม่หยุด… 'ห้าดาว x เจ้าสัว' ครั้... ห้าดาว x เจ้าสัว เปิดตัวสแน็ก 'ข้าวตังมินิไก่หยอง สูตรไก่ย่างห้าดาว' — อร่อยกรุบไม่หยุด… 'ห้าดาว x เจ้าสัว' ครั้งแรกของธุรกิจแฟรนไชส์อาหารแถวหน้าของไทยกับ...

ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์แ... วว. โชว์งานบริการนวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารครบวงจร ในงาน Fi Asia 2022 เสริมแกร่งผู้ประกอบการ — ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม ...