ทช.รุกสะกัดปัญหาลักลอบชำแหละฉลามวาฬ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--4 มี.ค.--กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พบการลักลอบชำแหละฉลามวาฬในพื้นที่บริเวณชุมชนปากคลองแกลง จ.ระยอง เร่งประสานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสืบหาผู้กระทำผิดและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด นายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (จ.ระยอง) สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับแจ้งจากกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ในพื้นที่ชุมชนปากคลองแกลง ตำบลแกลง-กะเฉด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ว่ามีการลักลอบชำแหละฉลามวาฬ จึงได้มอบหมายให้ชุดปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดระยองเข้าตรวจสอบการลักลอบชำแหละ ซึ่งจากการเข้าตรวจสอบพบว่า มีการชำแหละเนื้อฉลามวาฬจริงจำนวน 1 ตัว ความยาวประมาณ 3 – 4 เมตร จึงได้ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อนำซากของฉลามวาฬไปเก็บและตรวจสอบ นายภุชงค์ กล่าวว่า พื้นที่ทางทะเลของจังหวัดระยอง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวหาดแม่รำพึง อ่าวเพ และอ่าวหาดแหลมแม่พิมพ์ช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนเมษายนของทุกปี จะพบฉลามวาฬขึ้นมาว่ายน้ำในบริเวณใกล้ฝั่งอยู่อย่างต่อเนื่อง และระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคมของทุกปีจะมีการปิดทะเลฝั่งอ่าวไทยเพื่อปล่อยให้สัตว์น้ำวางไข่ ซึ่งสัตว์ใหญ่ประเภทฉลามวาฬ วาฬ โลมา พะยูน เต่าทะเล จะเข้ามาอาศัยหากินจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิดการลักลอบล่าสัตว์เหล่านี้เพื่อการค้า เนื่องจากได้ราคาสูง สำหรับกรณีการลักลอบจับฉลามวาฬมาชำแหละในครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเพื่อนำไปจำหน่ายหรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะลักษณะของชิ้นส่วนการชำแหละเป็นการเตรียมการเพื่อขนย้ายจากจุดที่พบ ซึ่งขณะนี้ ทช.ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริง หากพบว่ามีความผิดจะดำเนินการตามกฎหมาย คือจำคุก 4 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ทช. ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ในพื้นที่เป้าหมายช่วยกันเฝ้าระวังสอดส่อง คุ้มครอง ดูแล แจ้งเบาะแสการลักลอบนำฉลามวาฬมาชำแหละ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังบริเวณต่าง ๆ ที่เป็นจุดเสี่ยงในการลักลอบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กลุ่มเครือข่ายและอาสาสมัคร ฯ ยังให้ความรู้ คำแนะนำเบื้องต้นที่ถูกต้องเกี่ยวกับฉลามวาฬแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย ฉลามวาฬถือเป็นสัตว์ทะเลหายาก ถูกจัดอยู่ในรายชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลกโดย IUCN (International Union for Conservation and Natural Resources) และอยู่ในบัญชีรายชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสัญญา CITES นับตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศภาคีที่ร่วมลงนามตามอนุสัญญา และในน่านน้ำทะเลไทย ฉลามวาฬถูกจัดให้เป็นสัตว์คุ้มครองตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 28 มีนาคม 2543 และเป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ซึ่งในประเทศไทยสามารถพบฉลามวาฬได้ทั้งทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เช ่น บริเวณเกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่ กองหินโลซิน สิมิลัน เกาะบอน ริชลิว เป็นต้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มสื่อสารองค์กร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 120 หมู่ 3 ชั้น 5 อาคารรวมหน่วยราชการ (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 0-2141-1299 โทรสาร 0-2143-9249

ข่าวกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง+ภุชงค์ สฤษฎีชัยกุลวันนี้

มิสทิน ร่วมกับ ทช. เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการัง

มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เดินหน้าโครงการยกเลิกการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อปะการังในผลิตภัณฑ์กันแดดปลูกจิตสำนึก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน มิสทิน ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำโดย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมด้วยคณะให้การต้อนรับคุณปราการ สท้านโยธิน กรรมการผู้จัดการ และคณะผู้บริหาร บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด และ และ บริษัท เบทเตอร์เวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในนามผู้จัดจำหน่าย

นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดี... LET จัดอบรม e-Service การบริหารจัดการสัตว์ป่าตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ — นายอรรถพล เจริญชันษา (ที่2จากซ้าย) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รัก...