แรงงานเด็ก อาชีพและการคุ้มครอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--13 ต.ค.--ทีดีอาร์ไอ

ทีดีอาร์ไอเผยยังมีการใช้แรงงานเด็กในขั้นตอนก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตแท้จริงในบางอุตสาหกรรม เช่น ใน “ล้ง” คัดแยกกุ้งก่อนส่งโรงงาน นำร่องศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรมส่งออกกุ้งแช่แข็งทั้งระบบ เป็นตัวอย่างกำหนดอาชีพและการคุ้มครองแรงงานเด็กให้เหมาะสม ป้องกันไม่ให้ถูกยกเป็นข้ออ้างกีดกันการค้าเสรี ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทีดีอาร์ไอกำลังศึกษาการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมการแปรรูปกุ้งและอาหารทะเลซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญและมีมูลค่ามากกว่า 9 หมื่นล้านบาท แต่จากในการสำรวจแรงงานต่างด้าวใน 5 จังหวัด พบว่าในจำนวนแรงานต่างด้าว 600 คน ที่ตอบแบบสอบถาม เป็นแรงงานเด็กกว่า 20 ราย โดยในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 15 -18 ปี อีกครึ่งอายุต่ำกว่า 15 ปี ในกลุ่มอายุ 15-18 ปี บางคนทำงานถึงวันละ 10 -12 ชั่วโมง ซึ่งเกินกฎหมายกำหนด และรัฐยังดูแลไม่ถึง จึงเน้นการศึกษาตั้งแต่กระบวนการแรกของอุตสาหกรรมก่อนจะส่งเข้าโรงงาน ซึ่งมีแรงงานเข้าไปเกี่ยวข้องมากทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว การศึกษานี้จะทำให้เกิดความชัดเจนในการใช้แรงงานเด็ก เพื่อดูว่าเด็กซึ่งควรอยู่ในโรงเรียน (ตามกฎหมายมีนโยบายเรียนฟรี) แต่ตกหล่นไม่ได้เรียน และต้องมาสู่การใช้แรงงานนั้นเข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนไหน ด้วยเหตุผลใด มีสภาพการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งในส่วนของคนไทย ทุกปีจะมีแรงงานในระดับ ม.ต้น และม.ปลายซึ่งตกหล่นจากระบบโรงเรียนราว 1.3 แสนคน ส่วนหนึ่งอาจย้อนกลับไปเรียนต่อได้ แต่มีบางส่วนที่มาเข้าสู่ตลาดแรงงาน เริ่มจากทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ และบางคนอาจเข้าไปทำงานที่ไม่ค่อยเหมาะสม การศึกษาครั้งนี้เน้นกรณีแรงงานเด็กต่างด้าว 20 คนจากผลการสำรวจ และลงศึกษาเชิงลึกใน 5 จังหวัด เช่นสมุทรสาคร นครศรีธรรมราช เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบไม่ได้อยู่ในโครงสร้างที่จะได้รับการคุ้มครองใด ๆ ส่วนใหญ่ทำงานกับนายจ้างรายย่อยในขั้นต้นกระบวนการของอุตสาหกรรม เช่น “ล้ง” ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายย่อย ทำหน้าที่ในการตัดหัว แกะเปลือก ทำความสะอาดกุ้ง ก่อนส่งเข้าสู่โรงงาน แรงงานเด็กก็จะมีส่วนมาทำงานตรงนี้ การสำรวจที่ครอบคุมแรงงานไทยของหน่วยราชการจึงยังไม่พบว่ามีสถานประกอบการรายใดใช้แรงงานเด็ก ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาเพิ่มเติมจะนำไปสู่การกำหนดกรอบการศึกษาภาพรวมทั้งประเทศอีกครั้งหนึ่ง มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กที่จำเป็นต้องเข้าสู่การทำงานได้รับการคุ้มครองดูแลในการทำงานที่เหมาะสม และไม่ถูกเอาเปรียบและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ก็ควรจะอยู่ในโรงเรียน ดร.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า นายจ้างรายย่อยอย่าง “ล้ง” อาจจะรู้หรือไม่รู้ว่าเมื่อใช้แรงงานเด็กก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วย ดังนั้นการมีบัญชีอาชีพที่เด็กทำได้ทำไม่ได้จะเป็นประโยชน์ในการคุ้มครองแรงงานเด็ก และผู้ประกอบการจะได้ตระหนักและปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะการใช้แรงงานเด็กยังเป็นปัญหาอ่อนไหวที่อาจถูกนำไปใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้ากับบางประเทศได้ เช่น สหรัฐฯ. เผยแพร่โดย ทีมสื่อสารสาธารณะ-ทีดีอาร์ไอ โทร.0-2270-1350 ต่อ 113 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย+สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศวันนี้

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย"

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" Kick off พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน รณรงค์ พ.ร.บ. ปี 2568 พร้อมจัดเวทีเสวนาถอดรหัส ถนน 304 เสนอบังคับใช้ กม. ออกมาตรการลดเสี่ยง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่ง ถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" ภายใต้

The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ... The Active Thai PBS จับมือ TDRI "ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่" ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านพลังงาน — The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ สะท...

Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนา... ไทยพีบีเอส จัดงาน Thai PBS World Forum เตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงสื่อยุค AI — Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนาคตของห้องข่าว' เตรียมพร้อมรับ...

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพ... วางผังภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล — ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นประธานในงาน ...