สถาบันพัฒนา SMEs จัดเสวนา กลยุทธ์การสร้าง Value Creation ในกลุ่มบริการสปาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

25 Nov 2010

กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำเนินโครงการพัฒนามาตรฐานและศักยภาพธุรกิจสปาไทย สถาบันฯ จึงได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และสมาคมไทยล้านนา สปา จัดการเสวนา กลยุทธ์การสร้าง Value Creation ในกลุ่มบริการสปาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อเปิดเวทีให้ผู้ให้บริการสปาและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสปาได้แลกเปลี่ยนมุมมองในการพัฒนาบริการสปาไทยและผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย โดยการประยุกต์ภูมิปัญญาพื้นบ้านและศาสตร์การแพทย์แผนไทยกับการจัดการสมัยใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจด้วยจุดขายอัตลักษณ์ความเป็นไทย ผู้สนใจเข้าร่วมงานดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.ismed.or.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-2564-4000 ต่อ 6204 (คุณสินีนาฏ)

กำหนดการ กลยุทธ์การสร้าง Value Creation ในกลุ่มบริการสปาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร โครงการพัฒนามาตรฐานและศักยภาพธุรกิจสปาไทย วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ณ ห้องสามล้าน โรงแรมบีพี เชียงใหม่ ซิตี้

09.00-09.15 ลงทะเบียน 09.15-09.45 การพัฒนานวัตกรรมบริการและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสปาของเครือข่ายล้านนา

  • กลยุทธ์การสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ในบริการสปาด้วยอัตลักษณ์ไทยสู่สากล

โดย ภก.พลแก้ว วัชระชัยสุรพล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

  • กลยุทธ์การสร้างคุณค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสปาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • กลยุทธ์ Low Cost Marketing For Spa Service การตลาดสมัยใหม่ด้วย Social Media Network

โดย คุณธนันธน์ อภิวันทนาพร ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาโครงการ ISMED 09.45-10.15 A Perspective towards Thai spa service & product from International clienteles

“ถอดรหัสความต้องการใช้สปาไทยในสายตาชาวต่างชาติ”

โดย คุณอภิชัย เจียรอดิศักดิ์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์สปาไทย 10.15-11.30 ระดมความคิด IT for Spa Service ค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สร้างช่องทางการตลาดสมัยใหม่

บนเครือข่าย Social Media Network 11.30-12.30 ระดมความคิดพัฒนานวัตกรรมบริการ Service Innovation 12.30-13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน 14.00-16.30 การสร้างเครือข่าย ขยายตลาด และเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์สปาเครื่องสำอางไทย และธุรกิจบริการสปา

  • มุมมองใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสปาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
  • ระดมความคิดพบปะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผู้ให้บริการสปา ถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อนำเสนอจุดขายความเป็น

Thainess

  • แนวโน้มของอุตสาหกรรมสุขภาพ และโอกาสการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับการให้บริการสปา
  • ลักษณะและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สปาไทยของสถานบริการสปา
  • ปัจจัยในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภาคการผลิต