ฟิลิปส์ร่วมกับสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลกเดินหน้าสร้างกระแสให้โลกตระหนักถึงความสำคัญของการนอนที่มีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต

22 Mar 2012

กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

ฟิลิปส์ร่วมกับมูลนิธิโรคนอนกรนและการนอนหลับผิดปกติมอบทุนสนับสนุนงานวิจัยโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับในเอเชีย

ฟิลิปส์รณรงค์ให้คนไทยทำแบบทดสอบประเมินการนอนหลับด้วยตนเองแบบออนไลน์

ในภาพ: ฟิลิปส์ร่วมกับมูลนิธิโรคนอนกรนและการนอนหลับผิดปกติและสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับเนื่องในวันนอนหลับโลกในฐานะผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ งานวันนอนหลับโลกปี 2555 ซึ่งจัดโดยสมาคมแพทย์เพื่อการนอนหลับโลกสำหรับในประเทศไทย ได้รับเกียรติจาก อ.พญ. นฤชา จิรกาลวสาน, อาจารย์ประจำศูนย์ความเป็นเลิศด้านความผิดปกติจากการนอนหลับ แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ซ้าย) และคุณวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์, ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ฟิลิปส์ ประเทศไทย (ขวา) เข้าร่วมงาน

รอยัล ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ ประกาศร่วมเป็นพันธมิตรระดับโลกกับสมาคมแพทย์เพื่อการนอนหลับโลกในฐานะเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการในการจัดงานวันนอนหลับโลกปี 2555 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดงานพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 16 มีนาคม 2555 การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรของฟิลิปส์ในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของฟิลิปส์ที่ต้องการให้ทั่วโลกตระหนักความสำคัญของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นหรือ obstructive sleep apnea (OSA) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยงานวันนอนหลับโลกในปีนี้ถูกจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “หายใจง่าย นอนหลับสบาย (Breathe Easily, Sleep Well)”

สำหรับในประเทศไทย สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก, มูลนิธิโรคนอนกรนและการนอนหลับผิดปกติ, สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยและศูนย์ความเป็นเลิศด้านความผิดปกติจากการนอนหลับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยจัดงานสัมมนาบรรยายให้ความรู้แก่ประชาชนส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพเนื่องในวันนอนหลับโลกประจำปี 2555 ในวันที่ 15 มีนาคม 2555

ฟิลิปส์รณรงค์ให้คนไทยและหน่วยงานแพทย์ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น

ในภูมิภาคเอเชีย ฟิลิปส์และมูลนิธิโรคนอนกรนและการนอนหลับผิดปกติและสมาคม โรคจากการหลับแห่งประเทศไทย มีแผนที่จะมอบทุนวิจัยให้กับแพทย์และนักศึกษาแพทย์ที่ต้องการจะศึกษาวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น โดยทุนวิจัยนี้จะมีต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปีคือตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี พ.ศ. 2557 ทุนวิจัยนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น, โรคร่วมต่างๆที่เกิดขึ้นและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นจากผู้ที่เป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น แพทย์และนักศึกษาแพทย์ที่สนใจจสามารถส่งแบบคำขอเข้ารับทุนได้ที่มูลนิธิโรคนอนกรนและการนอนหลับผิดปกติแห่งประเทศไทยได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

“โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea (OSA)) นั้นทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้ป่วย และส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานที่ถดถอยซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุตามมา โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นเป็นสาเหตุของโรคร่วมอื่นๆเช่น ความดันโลหิตสูง, จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ, โรคหัวใจขาดหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดตีบ เพราะเหตุนี้เอง ฟิลิปส์จึงต้องการรณรงค์ให้คนหันมาเห็นถึงความสำคัญของโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น เราเชื่อว่าด้วยทุนวิจัยนี้ เราจะสามารถช่วยสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทยได้” คุณวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์ และการดูแลสุขภาพ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

สำหรับการแผนการรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพนั้น ฟิลิปส์มีแผนที่จะจัดงานประชุมแพทย์ (General Practitioners (GP) Symposium) ประจำปี 2555 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นในหมู่แพทย์ ในหัวข้อต่างๆอาทิวิธีการสังเกตอาการของโรคและการตรวจรักษา

นอกจากนี้สำหรับบุคลลทั่วไปที่สนใจเกี่ยวกับโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น ฟิลิปส์ได้เปิดเว็ปไซต์www.areyousnoring.com เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ นอกจานี้ผู้ที่สงสัยว่าตนเองเป็นโรคนี้หรือไม่สามารถทำแบบทดสอบประเมินการนอนหลับด้วยตนเองเพื่อดูความเสี่ยงของตนต่อการเป็นโรคหรือค้นหาสถานที่ตั้งของคลินิกการนอนหลับในประเทศที่เว็บไซต์นี้อีกด้วย

“เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้ร่วมกันกับสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลกในการจัดกิจกรรมวันนอนหลับโลกประจำปี 2555 เพื่อให้คนไทยตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาของโรคที่เกิดขึ้นจากการนอนหลับและความสำคัญของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพซึ่งรวมถึงโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น”, ดร.เดวิท ไวท์ ประธานแผนก Philips Home Healthcare Solution และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เพื่อการนอนหลับจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด กล่าว “ฟิลิปส์มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่เป็นโซลูชั่นสำหรับโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจวินิจฉัยจนไปถึงเครื่องมือช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยภายในบ้านให้สามารถนอนหลับได้อย่างมีคุณภาพ ช่วยทำให้สุขภาพความเป็นอยู่ของผู้ป่วยทั่วโลกดีขึ้น” ดร. ไวท์ กล่าวเสริม

“ผลกระทบของโรคที่เกิดจากความบกพร่องในการนอนหลับเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย แม้โรคที่เกี่ยวกับการนอนหลับจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีคนไข้น้อยคนนักที่ใส่ใจไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอาการ ฟิลิปส์และสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลกจึงมีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกันเพื่อช่วยรักษาผู้ป่วยทีมีปัญหาด้านการหายใจขณะนอนหลับสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วย” มร. อลัน โอ ไบรอัน, ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลกกล่าว

โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นในประเทศไทย

แม้ว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับจะมีอยู่หลายโรค แต่โรคที่พบเห็นได้อยู่บ่อยครั้งคือโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น โดยทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่ราว 4 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทย ผู้ที่ประสบปัญหาโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นนั้นมีอยู่ราว 11.4%[1] หรือเทียบเป็นสี่เท่าของประมาณการณ์จำนวนผู้ป่วยทั่วโลก ผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นจะมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นจากการปิดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน(ด้านหลังลิ้น) ขณะนอนหลับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจจะส่งผลให้เกิดโรคความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดตีบ ทั้งนี้อาการนอนกรนในเด็กก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเด็กก็มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นได้เช่นเดียวกัน

สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ: คุณนรานาฏ พวงกนก ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด โทร: +66 2614 3333 # 3486 อีเมลล์:[email protected] ธัญญวรรณ ศุระศรางค์ (อุ๋ย) ประชาสัมพันธ์ บริษัท สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด โทร : +66 2653 2717 อีเมลล์: [email protected]

[1] ข้อมูลจาก 11.4% of the adult population (Prevalence of sleep apnea in HRH Princess Maha Chakri Srinthorn Medical Center, Thailand, 2010)

-นท-

สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net