เอสเอ็มอีไทยในยุควิกฤติแรงงานและโอกาสในAEC

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--ทีดีอาร์ไอ

ทีดีอาร์ไอเตือนเอสเอ็มอีไทยเร่งปรับตัวรับมือยุควิกฤตแรงงานที่ยังคงขาดแคลนทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะกิจการขนาดกลางและย่อม ทางเลือกอยู่ให้รอดต้องยกระดับใช้เทคโนโลยี เพิ่มโอกาส เปิดตลาดในเออีซี ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า เอสเอ็มอีเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ โดยสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 38%ของจีดีพี จากจำนวนเอสเอ็มอีที่มีมากถึง 2.9 ล้านแห่งหรือ 99.6% แต่ในจำนวนนี้มีเอสเอ็มอีที่มีขนาดใหญ่จริง ๆ เพียง 9,128 แห่งหรือคิดเป็น 0.3% ซึ่งถือว่าน้อยมาก รองลงมาคือเอสเอ็มอีขนาดกลาง 18,383 แห่งหรือ 0.6% ขณะที่เหลืออีก 99% หรือ 2,894,713 แห่งคือเอสเอ็มอีขนาดย่อม รายได้ส่วนใหญ่มาจากเอสเอ็มอีขนาดใหญ่มากสุด รองลงมาคือขนาดกลางและขนาดเล็กตามลำดับ จะเห็นว่าจำนวนเอสเอ็มอีกับการสร้างรายได้ไม่สมดุลกัน เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากเอสเอ็มอีขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนน้อย ขณะที่เอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีมากกว่า 2.8 ล้านแห่งนั้นแท้จริงแล้วไม่ได้กระจายอยู่ทั่วไปแต่กระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และเมืองใหญ่ เพื่อความคล่องตัวในการคมนาคม ขนส่ง ในแง่การเป็นแหล่งจ้างงานเอสเอ็มอีสามารถดูดซับแรงงานได้มากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานคือ ราว 13 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 3 ล้านคนที่ทำงานในเอสเอ็มอีขนาดใหญ่ ที่เหลืออีก 10 ล้านคนอยู่ในธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดกลางลงมา ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจในลักษณะธุรกิจครอบครัว แบบเถ้าแก่ทำเอง สภาพการจ้างงานมีความสุ่มเสี่ยงต่อการไม่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการตามกฎหมาย งานหนัก เหนื่อยยาก จึงมักมีอัตราการเข้า-ออกของแรงงาน(Turn over) สูงถึง 25-30% จึงมีภาระผู้ประกอบการในการสรรหาบุคลากรทดแทนอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในมุมมองของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแล้ว อุปสรรคในการดำเนินธุรกิจโดยภาพรวมกลับไม่ได้ให้ความกังวลในเรื่องแรงงานสูงในทุกขนาดอุตสาหกรรม แต่วิตกกับปัจจัยในเรื่องอื่นๆมากกว่า เช่น ราคา ตลาด ภาวะเศรษฐกิจ ค่าน้ำมัน ปัญหาค่าจ้างแรงงานไม่เป็นอุปสรรคมากนักในเอสเอ็มอีขนาดใหญ่ แต่จะมีผลกระทบกับเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ซึ่งมีขนาดกลางและเล็กซึ่งต้องปรับตัวอย่างมาก แต่สำหรับเอสเอ็มอีขนาดย่อมไม่เกิน 5 คนทาง สสว.กลับเห็นว่าไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงสูง ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับตัวของเอสเอ็มอีไทยขนาดกลางและขนาดเล็กก็คือจะต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพและมีการยกระดับเทคโนโลยีที่ใช้ทดแทนแรงงานคนให้มากขึ้นโดยเร็วเพื่อควบคุมต้นทุนและให้ธุรกิจแข่งขันได้ นโยบายค่าจ้างสูงอาจจะทำให้เอสเอ็มอีบางส่วนต้องปิดตัวลงและเลิกจ้างแรงงานแต่สถานการณ์ไม่น่าจะเลวร้ายเนื่องจากประเทศไทยยังขาดแคลนแรงงานระดับกลางและระดับล่างหลายแสนคนในขณะนี้ ดังนั้นรัฐจึงควรเข้ามาสนับสนุนทำให้เกิดการถ่ายเทการจ้างงานจากแหล่งงานที่ลดคนงานไปสู่แหล่งงานที่ขาดคนงาน เพราะมีธุรกิจมากกว่าร้อยละ 66 ยังมีความต้องการแรงงาน จึงเป็นโอกาสดีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมจัดหางาน จะเข้าไปทำการ matching คนตกงานกับแหล่งธุรกิจที่ยังมีความต้องการแรงงานไทยเพิ่มอยู่เป็นอย่างมาก จะช่วย บรรเทาปัญหาลดคนงานในเอสเอ็มอีและแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานได้อีกทางหนึ่ง สำหรับโอกาสเอสเอ็มอีไทยใน AEC ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ มีกระบวนการผลิตทันสมัย ต้องเพิ่มผลิตภาพหรือคุณภาพเข้าไป ใช้แรงงานฝีมือ (ต้นทุนต่ำ คุณภาพสินค้ามีมาตรฐาน บรรจุภัณฑ์โดดเด่น) ราคาสินค้าต้องแข่งขันได้ (มียี่ห้อ มีตลาดรองรับ) ทั้งนี้ผลิตภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เชื่อว่าซึ่งหากปรับปรุงเรื่องทางด้านทุน(กายภาพ)เรื่องเทคโนโลยีและทุนมนุษย์เข้ามาในอนาคตประเทศไทยจะกลับไปรุ่งเรืองทั้งๆที่เป็นเศรษฐกิจค่าแรงแพงได้อีกครั้ง.-กภ-

ข่าวสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย+สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศวันนี้

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย"

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" Kick off พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน รณรงค์ พ.ร.บ. ปี 2568 พร้อมจัดเวทีเสวนาถอดรหัส ถนน 304 เสนอบังคับใช้ กม. ออกมาตรการลดเสี่ยง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่ง ถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" ภายใต้

The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ... The Active Thai PBS จับมือ TDRI "ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่" ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านพลังงาน — The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ สะท...

Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนา... ไทยพีบีเอส จัดงาน Thai PBS World Forum เตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงสื่อยุค AI — Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนาคตของห้องข่าว' เตรียมพร้อมรับ...

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพ... วางผังภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล — ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นประธานในงาน ...