9 อาหารเลิฟ วันแห่งรัก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--14 ก.พ.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TCELS) โดยศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ สนับสนุนคนไทยให้ความรักต่อกันในเดือนแห่งรักกุมภาพันธ์ จึงขอแนะนำ เมนูอาหารเพื่อบุคคลอันเป็นที่รักซึ่งหามาได้จากผลผลิตทางการเกษตรของเราเองมีประโยชน์มากมายมหาศาลที่หลายคนคาดไม่ถึง นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า เมนูอาหารที่เหมาะสมพร้อมเสิร์ฟให้บุคคลที่รักหลัก ๆ มีอยู่ 9 เมนูคือ 1. พริกจัดเป็นอาหารกระตุ้นอารมณ์รักที่มักถูกมองข้ามไปทั้งพริกทั่วไปและพริกหยวก หรือพริกหวานโดยเฉพาะชนิดที่ถูกป่นเป็นผงเครื่องเทศที่เรียกว่า “ปาปริก้า(Paprika)” ซึ่งไม่เผ็ดแต่หอมและช่วยเจริญอาหาร ในพริกหยวกมีเคมีสำคัญที่ช่วยให้เส้นเลือดทั่วร่างกายสดชื่นตื่นตัวคือ “ไนอาซิน(Niacin)” หรือวิตามินบีสาม มีส่วนช่วยป้องกันหัวใจวายช่วยให้เส้นเลือดขยายตัวโดยเฉพาะในท่านที่รับประทานแบบอาหารเสริมหรือในปริมาณสูงจะทำให้เกิดอาการวูบวาบเหมือนถูกกระตุ้นตามที่ต่างๆได้ 2. ข้าวที่มีเยื่อใย หรือข้าวแห่งรัก เป็นอาหารของพี่น้องไทย โดยเฉพาะข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีมากอย่าง ข้าวกล้อง,ข้าวซ้อมมือ,ข้าวหอมนิลและข้าวเหนียวดำ ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินบีที่ช่วยบำรุงเส้นประสาทให้ทำงานได้ดีเพราะในร่างกายเรามีเส้นประสาทอยู่แทบทุกส่วน การมีเส้นประสาทที่ดีจะช่วยให้ไวต่อความรู้สึกและสัมผัสต่างๆได้ดีขึ้น ที่สำคัญคือ “วิตามินบีสาม” หรือไนอาซินก็มีมากในข้าวที่กล่าวข้างต้น ช่วยลดไขมันป้องกันการขาดใจจากโรคหัวใจ นอกจากนั้นไนอาซินยังมีมากในจมูกข้าวและยีสต์สกัดชนิดทาขนมปังด้วยครับ 3.ช็อกโกแลตดำ ในช็อกโกแลตมี “เคมีรัก(Phenylethylamine)” อยู่อย่างเต็มเปี่ยม อีกทั้ง “เคมีสุข” อย่าง อานันดาไมด์ก็ยังมีอยู่อย่างเพียบพร้อม นอกจากนั้นช็อกโกแลตยังช่วยให้คู่รักตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาด้วย “คาเฟอีน” ที่มีอยู่เช่นเดียวกับกาแฟ แต่มีข้อแม้ว่าขอให้เลือกเป็นช็อกโกแลตชนิดดำหรือชนิดที่มี “โกโก้แท้” อยู่ในปริมาณที่มากพอด้วย 4.ถั่วมันๆ โดยเฉพาะถั่วเหลืองกับถั่วลิสง มี ตัวช่วยเคมีรักตัวเดียวกับที่มีในช็อคโกแลตดำที่ช่วยกระตุ้นสมองให้กะปรี้กะเปร่าขึ้นได้ นอกจากนั้นในธัญพืชอย่างงาดำบด,เมล็ดป่านและอัลมอนด์ก็มีเคมีที่ว่านี้มากด้วยเช่นกัน ท่านอาจเลือกเมนูง่ายๆอย่างนมถั่วเหลืองจิบแกล้มกับขนมปังโฮลวีตทาเนยถั่วก็ได้ 5.กล้วยหอม ในกล้วยมี “ทริปโตแฟน(Tryptophan)” เป็นวัตถุดิบที่ใช้สร้างสารสุขในสมองนอกจากนั้นการกินกล้วยยังช่วยให้ท่านได้แร่ธาตุ “โพแทสเซียม” ซึ่งจำเป็นต่อหัวใจ 6. บร็อคโคลี,หน่อไม้ฝรั่งและมะเขือเทศ เป็นสามเกลอสำคัญที่เปี่ยมไปด้วย “กรดโฟลิก(Folic acid)” ที่ช่วยสร้างเคมีกระตุ้นหลอดเลือดให้ขยาย(Histamine) ทำให้ส่วนสำคัญของร่างกายได้รับเลือดมาเลี้ยงเกิดความแข็งแรง นอกจากนั้นร่างกายที่ได้กรดโฟลิกอย่างเต็มที่ยังมีส่วนช่วยในเรื่องการตัวอ่อนและตั้งครรภ์ด้วย 7.อะโวคาโด,มะกอกและทุเรียน เป็น 3 ผลไม้ที่อุดมไปด้วย “ไขมัน” ในกรณี 3 ผลไม้ที่เลือกมานี้มีไขมันสำคัญเป็นชนิดที่ “ไม่อิ่มตัว(MUFA)” ซึ่งปลอดภัยกับสุขภาพมากหากไม่ได้กินดุจนเกินไป ในตัวเราต้องการไขมันเป็นวัตถุดิบไปสร้างเป็น “ฮอร์โมนเพศ(Sex hormone)” ทั้งเพศชายและหญิงล้วนต้องการเคมีเพศที่สร้างจากไขมันคุณภาพสูงทั้งสิ้น 8.นมสด หรือของกินที่ทำจากนมวัวสดก็ได้ อาทิ โยเกิร์ต,ชีส,เนยหรือเวย์โปรตีน เพราะในนมวัวและนมสัตว์อีกหลายชนิดมี “วิตามินดี” ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแกร่ง กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงมีพลังแห่งความเป็นหนุ่มสาวเต็มที่ และที่สำคัญคือวิตามินดีช่วยปกป้องสมองจากอาการซึมเศร้าที่เป็นตัวการทำให้ “เฉารัก” ได้ด้วย และสุดท้ายคือ ซีฟู้ดส์ ปู,ปลา,กุ้งและหอยนางรม มีเคมีสำคัญที่ช่วยเรื่องรักอยู่ 2 อย่างหลักคือ “แอล- อาร์จินีน(L-arginine)” กับ “สังกะสี(Zinc)” ครับ ในส่วนของแอล-อาร์จินีนมีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้เส้นเลือดสำคัญๆในร่างกายยืดหยุ่นได้ดี ช่วยให้มีการขยายของเส้นเลือดฝอยในบริเวณสำคัญ อย่างบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ที่ประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมหาศาลที่ยืดหยุ่นได้ทั้งในชายและหญิง จำเป็นต้องมีการทำงานของหลอดเลือดที่ดีอยู่เสมอครับ การรับประทานอาหารที่มีแอล-อาร์จินีนสม่ำเสมอจะมีส่วนช่วยได้เสมือน “ยากระตุ้นรักจากธรรมชาติ” อยู่ทุกเวลา ติดต่อ: www.tcels.or.th, 02-6445499 -กผ-

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติวันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์... TCELS จัดอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา TRIUP Act และ FTO — ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร "ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ...