กระทรวงวิทย์ฯห่วงกระแสเฟอร์บี้ฟีเวอร์ ออกโรงเตือน 7 ผลร้ายต่อเด็กที่ผู้ใหญ่ต้องรู้ให้ทัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--21 ก.พ.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ ห่วงใยกระแสเฟอร์บี้ฟีเวอร์ที่กำลังระบาดในกลุ่มเด็กวัยรุ่นอยู่ในขณะนี้ จึงได้ฝากเตือนผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด พร้อมเผยพฤติกรรม 7 ชนิดที่ผู้ใหญ่ต้องต้องสังเกตคือ ลืมคุยสังคม จมกับของเล่น เป็นนอนดึก ฝึกนึกก้าวร้าว เข้าใจไปเอง ไม่วิ่งเล่นสมวัย กลายเป็นเด็กอมโรค นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันมีของเล่นไฮเทคหลายชนิดที่เข้ามาในประเทศไทยล่าสุดก็ตุ๊กตาพูดได้หรือเฟอร์บี้ที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งแม้ของเล่นต่าง ๆ จะมีความทันสมัยสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็ก ๆ ก็ตาม แต่ผู้ใหญ่ก็ควรให้ความใส่ใจเพราะอะไรที่มากเกินไปก็อาจจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดี โดยผู้ใหญ่เองอาจคาดไม่ถึง นายแพทย์ กฤษดา กล่าวว่า เบื้องต้น มีผลร้าย 7 อย่างที่เห็นได้ชัดสำหรับเด็กที่หมกมุ่นอยู่กับการเล่น คือ 1. ลืมคุยสังคมคือเด็กที่จมอยู่กับเกมส์ไฮเทคหรือแม้แต่ผู้ใหญ่คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในบางครั้งก็ห่วงเล่นจนลืมกินข้าว ลืมทำการบ้าน หรือบางครั้งลืมหลับนอนเลยก็มี การไม่เงยหน้าขึ้นจากของเล่นถ้าเป็นนานๆ จะทำให้ไม่คุ้นชินกับการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และอาจกลายเป็นคนไม่เป็นมิตรต่อสังคมได้ 2.จมกับของเล่น ของเล่นยุคใหม่มีเทคนิคล่อใจทั้งพัฒนาเป็นตุ๊กตาพูดได้คล้ายมีชีวิตอย่างเฟอร์บี้ก็ยิ่งทำให้ติดจนไม่อยากวาง และถ้าเด็กนำไปโรงเรียนด้วยก็จะยิ่งทำให้เสียสมาธิในการเรียนหรือกลับบ้านมาวิ่งหาของเล่นก่อนคุณพ่อคุณแม่ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง 3.เป็นเด็กนอนดึก เด็กที่ติดของเล่นจนลืมเข้านอนตามเวลาที่ควรจะทำให้กลายเป็นเด็กแกร็น ไม่โตได้ เพราะการนอนดึกในเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยที่ยังไม่ถึง 20 ปีจะมีผลไปกดโกร๊ทฮอร์โมนหรือเคมีตัวสูงช่วยให้เด็กโตเต็มวัย มีกล้ามเนื้อและที่สำคัญคือโกร๊ทฮอร์โมนช่วยให้สมองดีได้ด้วย 4.ฝึกนึกก้าวร้าว เด็กที่หมกมุ่นอยู่กับของเล่นเสมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงไฮเทค หรือเกมส์ในแท็บเล็ตที่ดูเสมือนเล่นกับสัตว์ คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาให้ลูกได้พบเจอสัตว์จริงๆบ้าง การที่เด็กอยู่กับของเล่นเสมือนสัตว์พวกนี้ตลอดเวลาจะทำให้จิตใจติดอยู่แต่ในกรอบสัตว์ของเล่นเท่านั้น และคิดจะคิดว่าสัตว์มีชีวิตตายก็คิดว่าเสียเหมือนของเล่นที่ซ่อมใหม่ได้ และถ้ารุนแรงจนเข้าใจผิดว่าสัตว์ไม่มีชีวิตจิตใจเหมือนของเล่นจะกลายเป็นเด็กก้าวร้าวทำร้ายสัตว์เล็กๆ และลามเกเรรวมไปถึงเพื่อนเด็กคนอื่นๆได้ 5.เข้าใจไปเอง เด็กที่อยู่กับของเล่นนานๆ อาจมีอาการพูดคนเดียวได้ แม้จะไม่ใช่เรื่องแปลกแต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายคือ พัฒนาการพูดและพัฒนาการสมองอาจช้าลง คือเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่ใช่คนจริงๆแต่เป็นเพียงแค่ของเล่น เสมือนจริงเท่านั้น ทั้งนี้สมองของเด็กยังไม่อาจแยกแยะเสียงแท้หรือเสียงเทียมได้อย่างชัดเจน ก็อาจทำให้เด็กเลียนเสียงตามของเล่น กลายเป็นเด็กเสียงการ์ตูนไป 6.ไม่วิ่งเล่นสมวัย เด็กที่จมอยู่กับของเล่นทั้งวันจะทำให้ไม่ยอมออกไปวิ่งเล่นตามวัย ยิ่งเด็กในวัยเรียนยิ่งขาดทักษะการเล่นไม่ได้เลย โดยเฉพาะการวิ่งเล่น ว่ายน้ำ เล่นกีฬาหรือว่าเล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพราะการเล่นเป็นการต่อยอดทักษะอื่น อาทิ การขยับกายบ่อยๆ ช่วยฝึกสมอง หรือการวิ่งเตะบอลกับเพื่อนสักแค่ครึ่งชั่วโมงก็มีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อกับกระดูกแข็งแรง การออกกำลังกายตามวัยแค่วันละไม่กี่อึดใจช่วยให้สมองดี และมีพัฒนาการทางความสูง ได้ แต่ถ้าถูกจับให้ติดอยู่กับของเล่นที่เสียเวลาไปเป็นชั่วโมงจะทำให้เด็กเฉื่อยและกลายเป็นเด็กอ้วนแทน และสุดท้ายคือ กลายเป็นเด็กอมโรค สิ่งที่ไม่ควรวางใจในของเล่นคือ เป็นแหล่งเพาะโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางเดินหายใจ อย่าง ไข้หวัด,ไข้หวัดใหญ่,ภูมิแพ้หรือโรคผิวหนังอย่างผื่นคัน,เป็นแผลตามปากและจมูก,ตุ่มฝีตามตัว,โรคมือเท้าปากไปจนถึงโรคติดเชื้อเล็กๆน้อยๆ นั่นเป็นเพราะของเล่นเหล่านี้มีที่เก็บเชื้อ เช่น ตุ๊กตาขนปุยก็จะอมเชื้อไว้ที่ขนนุ่มๆนั้นได้ก่อให้เกิดภูมิแพ้จากไรฝุ่นและขนละเอียด ส่วนคอมพิวเตอร์ไฮเทคแบบแท็บเบล็ตที่ใช้นิ้วสัมผัสก็พาโรคมาทางการสัมผัส ทั้ง โรคหวัด,มือเท้าปากหรือตาแดงเจ็บตาการใช้ของเล่นที่ผิดวิธีหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจนำมาซึ่งผลร้าย ซึ่งผู้ใหญ่ไม่ควรมองข้าม ติดต่อ: www.tcels.or.th, 02-6445499 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติวันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์... TCELS จัดอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา TRIUP Act และ FTO — ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร "ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ...