7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “ครรภ์เป็นพิษ”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น

7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “ครรภ์เป็นพิษ” ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อเดือนที่ผ่านมา หลายๆ ท่านคงจะได้อ่านข่าวกันแล้ว เกี่ยวกับนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังท่านหนึ่ง ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง ช็อกหมดสติ ต้องคลอดก่อนกำหนด รวมถึงมีภาวะเลือดออกในสมอง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดสมอง ต้องติดตามอาการกันวันต่อวัน เนื่องจากเข้าขั้นวิกฤตินั้น ภาวะ “ครรภ์เป็นพิษ” หรือ “พิษแห่งครรภ์” แม้เป็นภาวะที่พบได้เพียงร้อยละ 5 – 10 แต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของสตรีตั้งครรภ์(1) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง ถ้าเราได้ “ทำความรู้จัก” กับโรคนี้ให้มากขึ้น โดยศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้นำมาสรุปเป็น “7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับครรภ์เป็นพิษ” ดังนี้ ข้อ 1 ครรภ์เป็นพิษ มีสาเหตุการเกิดที่ “ไม่แน่ชัด” แรกเริ่มเดิมทีนั้น มีการบันทึกถึงภาวะครรภ์เป็นพิษมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ อริสโตเติล ผู้เป็นนักปราชญ์และแพทย์ชาวกรีกได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากความไม่สมดุลย์ ของธาตุในร่างกายทำให้มี “น้ำคั่ง” และเชื่อว่าเกิดจากมดลูก เป็นสาเหตุที่ส่งผลร้ายต่อตับ, กระเพาะ, ม้าม, และปอด (2) แต่จากวิทยาการความรู้ที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ณ. ปัจจุบันนี้จึงทำให้เราพบว่า สาเหตุการเกิดครรภ์เป็นพิษนั้น “ไม่แน่ชัด” มีเพียงแต่สมมุติฐานต่างๆ คาดเดากันไปเท่านั้น เช่น เชื่อว่า “รก” ทำงานผิดปกติ ทำให้มีการหลั่งสารบางอย่างมากระตุ้นหลอดเลือดให้หดรัดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ(3) อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่แน่นอนหนึ่งข้อก็คือ “การตั้งครรภ์” ดังนั้นถ้าไม่ตั้งครรภ์ ก็จะไม่เกิดภาวะนี้ขึ้น ข้อ 2 ครรภ์เป็นพิษ ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ โดยปกติภาวะครรภ์เป็นพิษ จะวินิจฉัยเมื่อความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) 140 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า หรือความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว(diastolic blood pressure) 90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า โดยวัดสองครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมง(4) นอกจากนี้ อาจตรวจพบโปรตีนรั่วออกมาปนในปัสสาวะ โดยความรุนแรงของโรคอาจมีตั้งแต่เล็กน้อย, รุนแรงจนกระทั่งทำให้เกิดการชักหมดสติ, มีภาวะซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกสลาย, เกร็ดเลือดลดต่ำทำให้มีเลือดออกผิดปกติ, การทำงานของตับผิดปกติ ส่งผลให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่และทารกในครรภ์ ข้อ 3 ครรภ์เป็นพิษ โดยส่วนใหญ่แล้วมักเป็น “มหันตภัยเงียบ” โดยส่วนมากแล้วนั้น สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ มักจะไม่ค่อยรู้สึกว่าตนเองนั้นป่วย จนกระทั่งโรคเกิดขึ้นรุนแรง(5) ดังนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึง “สัญญาณเตือนภัย” บางอย่างที่ร่างกายกำลังบอกเราให้ทราบว่า “ภาวะครรภ์เป็นพิษ” กำลังมาเยือนคุณแม่ทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ -ปวดศีรษะ, ตาพร่ามัว, คลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น รวมถึงสมองบวม หรือเลือดออกในสมอง -เจ็บจุกแน่นที่ลิ้นปี่หรือบริเวณชายโครงขวา เนื่องจากตับโตขึ้น หรือมีเลือดออกในตับ -เหนื่อยหอบ, หายใจลำบาก, นอนราบไม่ได้ เนื่องจากน้ำท่วมปอด - บวม, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นรวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน, ปัสสาวะออกน้อยลง เนื่องจากไตทำงานผิดปกติ มีการรั่วของโปรตีนออกมาในปัสสาวะ ในส่วนของทารกเองนั้นก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น เจริญเติบโตได้ช้า, น้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ และ เสียชีวิตได้ กรณีที่ครรภ์เป็นพิษนั้นรุนแรงมาก ข้อ 4 ครรภ์เป็นพิษ มักพบในครรภ์แรกมากกว่าครรภ์หลัง ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ มักพบในครรภ์แรกมากกว่าครรภ์หลัง, มักพบในสตรีที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป, หรือแม้เคยมีลูกมาแล้ว แต่เว้นระยะมานานมากกว่า 10 ปีขึ้นไปก็ถือว่ามีความเสี่ยง, สตรีที่อ้วนมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร, มีประวัติครอบครัวเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ, ตั้งครรภ์แฝด, เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษมาก่อน, มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่เดิม เป็นต้น ข้อ 5 ครรภ์เป็นพิษ รักษาโดยการ “คลอด” เป้าหมายในการรักษาสตรีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึง 3 สิ่งต่อไปนี้คือ ต้องให้คลอด, ให้ยาป้องกันการชัก และให้ยาลดความดันโลหิต การคลอดนั้น อาจต้องพิจารณาถึงอายุครรภ์ร่วมด้วย กรณีที่ครรภ์เป็นพิษนั้นไม่รุนแรงมาก แต่ในกรณีที่ครรภ์เป็นพิษนั้นอยู่ในขั้นรุนแรง จำเป็นต้องพิจารณาให้คลอด ไม่ว่าอายุครรภ์จะมากน้อยเพียงใด ครบกำหนดหรือไม่ เพื่อรักษาชีวิตของมารดาเป็นสำคัญ ส่วนที่ว่าจะคลอดโดยคลอดทางช่องคลอด หรือผ่าตัดคลอด ก็จะเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ สำหรับทารกที่อายุครรภ์ไม่ครบกำหนด อาจต้องมีการใช้ยาช่วยในการพัฒนาของปอดเพื่อให้ทารกสามารถหายใจได้เอง โดยพิจารณาเป็นรายๆไป ภาวะชัก เนื่องจากครรภ์เป็นพิษ (eclampsia) เป็นภาวะที่รุนแรง สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องมีการให้ยากันชักในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง(severe preeclampsia) โดยยาที่ให้คือ แมกนีเซียมซัลเฟต ซึ่งยาตัวนี้อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกร้อนวูบวาบ, คลื่นไส้อาเจียน, ความดันโลหิตลดต่ำลง จึงจำเป็นต้องมีการวัดสัญญาณชีพผู้ป่วยเป็นระยะๆ หลังจากที่ให้ยาตัวนี้กับผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตที่สูงมากก็อาจจำเป็นต้องพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตแก่ผู้ป่วย ซึ่งมีทั้งที่ให้ทางหลอดเลือดหรือการรับประทาน ข้อ 6 ครรภ์เป็นพิษ แม้จะงดอาหารที่มี “เกลือ” ก็ไม่อาจลดความดันโลหิตที่สูงลงได้ บ่อยครั้งที่เรามักทราบกันดีว่า ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงนั้น การหลีกเลี่ยงการรับประทาน “เกลือ” จะสามารถช่วยทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ แต่ในภาวะครรภ์เป็นพิษนั้น แนะนำว่า ให้รับประทานอาหารที่มีเกลือได้ตามปกติ เนื่องจากเกลือ ไม่ได้ส่งผลใดๆต่อความดันโลหิตในสตรีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ นอกจากนั้นแล้ว การรับประทานอาหารเสริมจำพวก กรดโฟลิก, แมกนีเซียม, สารต้านอนุมูลอิสระ(วิตามินซี และอี), น้ำมันปลา, หรือกระเทียม ก็มิได้ให้ผลในการช่วยการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษแต่อย่างใด ข้อ 7 ครรภ์เป็นพิษ สามารถที่จะตรวจพบได้แต่เนิ่นๆ ถ้ามาฝากครรภ์สม่ำเสมอ การฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มทราบว่าตั้งครรภ์และฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ สามารถจะช่วยให้แพทย์ตรวจคัดกรอง ค้นหาความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ได้ เช่น ต้องมีการซักประวัติของผู้ป่วยว่าตั้งครรภ์มาแล้วกี่ครั้ง, เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษในท้องก่อนๆ หรือไม่, มีโรคประจำตัวใดบ้าง และทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ จะต้องมีการตรวจซักถามอาการผิดปกติต่างๆ ของสตรีตั้งครรภ์, ชั่งน้ำหนัก, วัดความดันโลหิต, ตรวจปัสสาวะเพื่อหาน้ำตาลและโปรตีนว่ามีรั่วออกมาหรือไม่, มีการตรวจหน้าท้อง รวมถึงมีการตรวจวินิจฉัยทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าซาวด์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารก หรือทำการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์โดยตรวจติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารก พร้อมกับตรวจการหดรัดตัวของมดลูก เมื่อพบความผิดปกติที่ทำให้คิดถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ แพทย์และทีมจะได้รีบดำเนินการรักษาโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการสูญเสีย หรือทุพพลภาพของมารดาและทารก ดังคำกล่าวที่ว่า “ลูกเกิดรอด....แม่ปลอดภัย” -กผ-

ข่าวศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ+เครือโรงพยาบาลกรุงเทพวันนี้

เปิดวิสัยทัศน์ ประเด็นร้อน “10 ข่าว Life Science เปลี่ยนโลกแนวโน้มที่ต้องจับตามอง”

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรพิเศษ เปิดวิสัยทัศน์ สรุปประเด็นร้อน "10 ข่าว Life Science เปลี่ยนโลกแนวโน้มที่ต้องจับตามอง" ซึ่งกำลังป็นกระแสของโลก จัดโดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุม 7R1 ชั้น 7 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ และได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมฟังเต็มทุกที่นั่ง ทั้งยังได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ต้องจับตามอง อะไรที่เป็นกระแส อะ

นพ. ตฤณ จารุมิลินท ประธานฝ่ายแพทย์ และรอง... ภาพข่าว: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน เป็นศูนย์วิจัยทางคลินิก ของ AO Foundation — นพ. ตฤณ จารุมิลินท ประธานฝ่ายแพทย์ และรองกรรมการผู้อำน...

บทความ หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด ... หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด — บทความ หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ในช่วงนี้มีหลายโรคที่...

อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ โดย ศู... อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ — อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ หลายคนคงเคยประสบกับ...

เตือนระวัง...โรคไข้เหลือง (Yellow fever)

เตือนระวัง...โรคไข้เหลือง (Yellow fever) โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรคไข้เหลืองเป็นโรคติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน ซึ่งจัดเป็นโรคในกลุ่มไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 50 หากไม่...

ผลกระทบของโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่

บทความ ผลกระทบของโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยปกติรังไข่เป็นแหล่งฟูมฟักเซลล์ไข่ตั้งแต่เป็นเซลล์อ่อนจนโตเต็มที่ พร้อมที่จะผสมกับเซลล์อสุจิจากฝ่ายชาย การเกิดถุงน้ำกระจายแทรกในรังไข่ย่อมส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ...

บทความ: เตรียมรับมือผลกระทบน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล

บทความ เตรียมรับมือผลกระทบน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุน้ำมันดิบปริมาณ 50,000 ลิตร รั่วไหลออกจากท่อขนส่งลงสู่ทะเลจังหวัดระยองในขณะที่มีการส่งถ่ายจากเรือ...

รณรงค์เฝ้าระวัง...โคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระบาด

บทความ รณรงค์เฝ้าระวัง...โคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระบาด โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จากสถานการณ์และข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังโรค...

หยุด...วัณโรค ไว้ที่ช่วงชีวิตเรา

บทความ หยุด...วัณโรค ไว้ที่ช่วงชีวิตเรา โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ วันที่ 24 มีนาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “World TB Day” หรือ ในชื่อภาษาไทยที่ปี พ.ศ. 2556 นี้ กรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายได้เปลี่ยนจาก "วันวัณโรคโลก" เป็น "วันวัณโรคสากล” ...