หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บทความ
          หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด
          โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

          ในช่วงนี้มีหลายโรคที่แพร่ระบาดจนต้องมีการออกมารณรงค์ แต่โรคที่ไม่ควรมองข้ามอีกหนึ่งโรคก็คือ “โรคไข้หวัด” โดยเฉพาะช่วงย่างเข้าสู่ฤดูฝนเช่นนี้ มักจะพบเด็กเจ็บป่วยเป็นไข้หวัดกันมาก ยิ่งท่านที่มีลูกหลานเล็กๆ เพิ่งเข้าเรียนหนังสือเป็นปีแรกด้วยแล้ว คงรู้สึกกังวลใจไม่น้อยที่เด็กๆติด “เชื้อหวัด”จากเพื่อนในห้องเรียน จนต้องขาดเรียนบ่อยๆไม่เว้นแต่ละเดือน เพราะไข้หวัด ติดต่อกันง่าย ทางจมูกและคอเพียงแค่อยู่ใกล้ชิดกัน และรับเชื้อละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดกัน หรือจากการสัมผัส แล้วมาขยี้ตาหรือแคะจมูก เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายได้

          ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า โรคไข้หวัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของคนเรา การที่เด็กๆ หรือผู้ใหญ่ป่วยเป็น ไข้หวัด ก็เพราะได้รับเชื้อโรคที่เป็นไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งจากที่มีสายพันธุ์ย่อยๆมากกว่า 100ชนิดเมื่อหายจากไข้หวัดแล้วร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้นขึ้นมา แต่เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ก็มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆเช่นนี้ จึงทำให้คนเราเป็นไข้หวัดกันได้ปีละหลายครั้ง โดยเฉพาะในเด็กเล็กมักจะมีโอกาสเป็นไข้หวัดกันได้บ่อยๆ และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากยังมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดน้อยกว่าผู้ใหญ่ นั่นเอง เชื้อไข้หวัดสามารถติดต่อกันได้ง่าย เนื่องจากไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นคือ จมูกและคอเพียงแค่อยู่ใกล้ชิดกัน และรับเชื้อละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดกัน หรือจากการสัมผัส เมื่อมีเชื้อหวัดติดมือแล้วไปสัมผัสผู้อื่น เชื้อหวัดก็จะติดคนๆ นั้น หากไปขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นไข้หวัดได้โดยเฉพาะในเด็กที่มักชอบเล่นคลุกคลีกันอย่างใกล้ชิดจึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดได้ง่าย สำหรับอาการของไข้หวัด หลังจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายประมาณ 1 ถึง 3 วัน ก็จะเริ่มแสดงอาการและที่เห็นชัดเจนแตกต่างจากไข้อื่นๆ ก็คือ ต้องมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลอาจมี ไอ เจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรงจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อ เด็กยังวิ่งเล่นหรือ ผู้ใหญ่ทำงานได้ ในเด็กอาจมีไข้ตัวร้อนเป็นพักๆประมาณ 4-5วัน แต่อาการไข้จะไม่ขึ้นสูงตลอดทั้งวันทั้งคืน เมื่อรับประทานยาลดไข้แล้ว อาการมักจะดีขึ้นภายใน 3-4วัน อย่างมากก็ไม่เกิน 7 วัน แต่หากมีอาการปวดหู หูอื้อ ปวดศีรษะมาก มีอาการหอบเหนื่อย น้ำมูกหรือเสมหะเหลืองเขียว ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การรักษาไข้หวัดไม่จำเป็นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสทุกชนิดได้ แต่ให้รักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีอาการไข้ก็ให้รับประทานยาลดไข้ เป็นต้นพร้อมกับดูแลตัวเองหรือบุตรหลานโดยการพักผ่อนให้มากขึ้น ไม่อาบน้ำเย็น ห้ามดื่มน้ำเย็นหรือรับประทานน้ำแข็ง ควรดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ และรักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
          ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ชี้แนวทางการป้องกันไข้หวัดสามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารให้ครบหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอและต้องพยายามไม่ไปอยู่ใกล้คนที่เป็นไข้หวัดนอกจากนั้น ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัด ซึ่งมักจะเกิดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ฤดูฝน ฤดูหนาว ไม่ควรเข้าไปในสถานที่ๆ มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นหวัด เวลาไอหรือจาม ก็ควรปิดปากหรือใส่ผ้าปิดปาก เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไปยังบุคคลอื่น และควรอยู่ให้ห่างไกลจากผู้อื่น หรือไม่นอนรวมกับผู้อื่น แต่ทางที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัด ก็คือ การใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ.
หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด


ข่าวศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ+เครือโรงพยาบาลกรุงเทพวันนี้

เปิดวิสัยทัศน์ ประเด็นร้อน “10 ข่าว Life Science เปลี่ยนโลกแนวโน้มที่ต้องจับตามอง”

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรพิเศษ เปิดวิสัยทัศน์ สรุปประเด็นร้อน "10 ข่าว Life Science เปลี่ยนโลกแนวโน้มที่ต้องจับตามอง" ซึ่งกำลังป็นกระแสของโลก จัดโดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุม 7R1 ชั้น 7 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ และได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมฟังเต็มทุกที่นั่ง ทั้งยังได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ต้องจับตามอง อะไรที่เป็นกระแส อะ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ค... TCELS จับมือร่วมกับ สวทน. และ ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ จัดงานสัมมนา “จาก Big Data สู่ AI ไปถึง Robot สังคมไทยรู้เท่าทันแค่ไหน” — กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโน...

นพ. ตฤณ จารุมิลินท ประธานฝ่ายแพทย์ และรอง... ภาพข่าว: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน เป็นศูนย์วิจัยทางคลินิก ของ AO Foundation — นพ. ตฤณ จารุมิลินท ประธานฝ่ายแพทย์ และรองกรรมการผู้อำน...

อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ โดย ศู... อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ — อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ หลายคนคงเคยประสบกับ...

เตือนระวัง...โรคไข้เหลือง (Yellow fever)

เตือนระวัง...โรคไข้เหลือง (Yellow fever) โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรคไข้เหลืองเป็นโรคติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน ซึ่งจัดเป็นโรคในกลุ่มไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 50 หากไม่...

ผลกระทบของโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่

บทความ ผลกระทบของโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยปกติรังไข่เป็นแหล่งฟูมฟักเซลล์ไข่ตั้งแต่เป็นเซลล์อ่อนจนโตเต็มที่ พร้อมที่จะผสมกับเซลล์อสุจิจากฝ่ายชาย การเกิดถุงน้ำกระจายแทรกในรังไข่ย่อมส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ...

บทความ: เตรียมรับมือผลกระทบน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล

บทความ เตรียมรับมือผลกระทบน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุน้ำมันดิบปริมาณ 50,000 ลิตร รั่วไหลออกจากท่อขนส่งลงสู่ทะเลจังหวัดระยองในขณะที่มีการส่งถ่ายจากเรือ...

รณรงค์เฝ้าระวัง...โคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระบาด

บทความ รณรงค์เฝ้าระวัง...โคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระบาด โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จากสถานการณ์และข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังโรค...

หยุด...วัณโรค ไว้ที่ช่วงชีวิตเรา

บทความ หยุด...วัณโรค ไว้ที่ช่วงชีวิตเรา โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ วันที่ 24 มีนาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “World TB Day” หรือ ในชื่อภาษาไทยที่ปี พ.ศ. 2556 นี้ กรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายได้เปลี่ยนจาก "วันวัณโรคโลก" เป็น "วันวัณโรคสากล” ...