ผลกระทบของโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น

บทความ ผลกระทบของโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยปกติรังไข่เป็นแหล่งฟูมฟักเซลล์ไข่ตั้งแต่เป็นเซลล์อ่อนจนโตเต็มที่ พร้อมที่จะผสมกับเซลล์อสุจิจากฝ่ายชาย การเกิดถุงน้ำกระจายแทรกในรังไข่ย่อมส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ซึ่งคุณผู้หญิงมักจะสังเกตพบว่ามีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ตั้งแต่ความผิดปกติที่ชัดเจน เช่น มีประจำเดือนกะปริบกะปรอย ไม่มีประจำเดือนหรือแต่งงานมาระยะหนึ่งแล้วมีภาวะมีบุตรยาก ไปจนถึงอาการที่ไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้ เช่น เยื่อบุมดลูกหนาตัว (Endometrial hyperplasia) จนอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูก โดยความผิดปกติเหล่านี้เป็นผลกระทบโดยตรงต่อระบบสืบพันธุ์ซึ่งคุณผู้หญิงทั่วไปให้ความสนใจ แต่อาจยังไม่ทราบว่าการเกิดถุงน้ำในรังไข่ยังเป็นสาเหตุของความผิดปกติของระบบอื่นๆ ของร่างกายตามมาอีกหลายระบบด้วย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จะพาไปรู้จักกับโรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่กัน โพลีซีสติก โอวารี่ ซินโดรม หรือ พี ซี โอ เอส (Polycystic Ovary Syndrome; PCOS) เป็นความผิดปกติของคุณผู้หญิง โดยเกิดมีถุงน้ำเล็กๆ กระจายอยู่ในรังไข่ ชาวบ้านทั่วไปอาจเรียกว่ามีซีสต์ในรังไข่ โรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อย ประมาณหนึ่งในสิบของสตรีวัยเจริญพันธุ์จนถึงอายุ 45 ปี ป่วยด้วยโรคนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากรังไข่ทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรังไข่ มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนอื่นๆ ในร่างกายไม่สมดุลและเป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติในระบบอื่นๆ ของร่างกาย โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของคุณผู้หญิงที่มีถุงน้ำในรังไข่ มีระดับฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ (Hyperinsulinemia) และร่างกายตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินน้อยกว่าปกติ (Insulin resistance) ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงและเกิดภาวะเบาหวานตามมา การที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่อยู่ในภาวะสมดุลนั้น มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วย โดยคุณผู้หญิงที่มีถุงน้ำในรังไข่มีความเสี่ยงที่จะมีระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ มีภาวะอ้วน ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัว แข็ง ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายสูงกว่าคนปกติที่มีอายุอยู่ในวัยเดียวกันถึงเจ็ดเท่า อย่างไรก็ดี การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ร่วมกับการรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้อย่างมาก ความผิดปกติอีกประการหนึ่งคือความผิดปกติภายนอกร่างกายที่สามารถสังเกตุเห็นได้ง่าย เช่น การมีภาวะอ้วนกว่าปกติ อาจมีผิวมัน มีสิวขึ้นบริเวณใบหน้าและตามลำตัวมากกว่าผู้หญิงทั่วไป มีขนขึ้นดกบริเวณแขน ลำตัว ต้นขาและขาหนีบ รวมทั้งผิวหนังอาจมีลักษณะเป็นปื้นสีเข้มกว่าปกติโดยเฉพาะบริเวณข้อพับ คอ แขนและขา ซึ่งลักษณะเหล่านี้มีผลต่อความสวยงามและรูปลักษณ์ภายนอก ส่งผลกระทบด้านจิตใจและความมั่นใจในตนเองของคุณผู้หญิง นอกจากความผิดปกติที่แสดงออกทางกายแล้ว ความไม่สมดุลของฮอร์โมนยังมีผลต่ออารมณ์และจิตใจด้วย โดยอาจมีอาการซึมเศร้าหรือมีความกังวลต่อเรื่องต่างๆ มากกว่าปกติ คุณผู้หญิงบางท่านอาจมีภาวะอ้วนและเกิดการหยุดหายใจเป็นเวลาสั้นๆ ในช่วงนอนหลับ ทำให้รู้สึกตัวตื่นเป็นระยะๆ นอนหลับไม่สนิท อาจส่งผลให้ง่วง ซึมหรือหงุดหงิดในช่วงเวลากลางวัน หากมีอาการดังกล่าวก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเพื่อแพทย์จะได้วางแผนการดูแลด้านอารมณ์และจิตใจไปพร้อมกับการรักษาภาวะผิดปกติของร่างกาย การเกิดถุงน้ำในรังไข่นี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุหลักคือการได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากบิดา-มารดา ดังนั้น คุณผู้หญิงที่มีคุณแม่ พี่สาวหรือน้องสาวป่วยด้วยโรคนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ขอแนะนำให้คุณผู้หญิงทุกท่านเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยในคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ บางครั้งอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่รังไข่มาระยะหนึ่งแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาอย่างชัดเจน คุณผู้หญิงหลายท่านอาจละเลยการไปพบแพทย์จนกระทั่งเกิดการเจ็บป่วยของระบบอื่นๆ ของร่างกายตามมา การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ค้นพบความผิดปกติที่รังไข่ได้ตั้งแต่ระยะแรกซึ่งก็จะช่วยให้คุณผู้หญิงปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ ด้วย สำหรับคุณผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคนี้และตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรืออาจคลอดก่อนกำหนด รวมทั้งอาจมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติซึ่งผลต่อสุขภาพของคุณผู้หญิงและบุตรในครรภ์ -กผ-

ข่าวศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ+เครือโรงพยาบาลกรุงเทพวันนี้

เปิดวิสัยทัศน์ ประเด็นร้อน “10 ข่าว Life Science เปลี่ยนโลกแนวโน้มที่ต้องจับตามอง”

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรพิเศษ เปิดวิสัยทัศน์ สรุปประเด็นร้อน "10 ข่าว Life Science เปลี่ยนโลกแนวโน้มที่ต้องจับตามอง" ซึ่งกำลังป็นกระแสของโลก จัดโดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุม 7R1 ชั้น 7 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ และได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมฟังเต็มทุกที่นั่ง ทั้งยังได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ต้องจับตามอง อะไรที่เป็นกระแส อะ

นพ. ตฤณ จารุมิลินท ประธานฝ่ายแพทย์ และรอง... ภาพข่าว: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน เป็นศูนย์วิจัยทางคลินิก ของ AO Foundation — นพ. ตฤณ จารุมิลินท ประธานฝ่ายแพทย์ และรองกรรมการผู้อำน...

บทความ หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด ... หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด — บทความ หน้าฝนนี้อย่ามองข้าม...โรคไข้หวัด โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ในช่วงนี้มีหลายโรคที่...

อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ โดย ศู... อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ — อุจจาระร่วง เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้ โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ หลายคนคงเคยประสบกับ...

เตือนระวัง...โรคไข้เหลือง (Yellow fever)

เตือนระวัง...โรคไข้เหลือง (Yellow fever) โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรคไข้เหลืองเป็นโรคติดเชื้อไวรัสแบบเฉียบพลัน ซึ่งจัดเป็นโรคในกลุ่มไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 50 หากไม่...

บทความ: เตรียมรับมือผลกระทบน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล

บทความ เตรียมรับมือผลกระทบน้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุน้ำมันดิบปริมาณ 50,000 ลิตร รั่วไหลออกจากท่อขนส่งลงสู่ทะเลจังหวัดระยองในขณะที่มีการส่งถ่ายจากเรือ...

รณรงค์เฝ้าระวัง...โคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระบาด

บทความ รณรงค์เฝ้าระวัง...โคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระบาด โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จากสถานการณ์และข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังโรค...

หยุด...วัณโรค ไว้ที่ช่วงชีวิตเรา

บทความ หยุด...วัณโรค ไว้ที่ช่วงชีวิตเรา โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ วันที่ 24 มีนาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “World TB Day” หรือ ในชื่อภาษาไทยที่ปี พ.ศ. 2556 นี้ กรมควบคุมโรคและภาคีเครือข่ายได้เปลี่ยนจาก "วันวัณโรคโลก" เป็น "วันวัณโรคสากล” ...