IFRA ประกาศปรับปรุงมาตรฐานการผลิตน้ำหอม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

บรัสเซลส์--19 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์


สมาคมน้ำหอมนานาชาติ (International Fragrance Association / IFRA) ประกาศอย่างเป็นทางการถึงการปรับปรุงหลักการดำเนินงานของ IFRA ครั้งที่ 47 ในฐานะที่หลักการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความปลอดภัย*ในอุตสาหกรรม

มาตรฐานใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ**มี 6 ข้อ, มาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงมี 4 ข้อ, มาตรฐานใหม่ที่เป็นตัวกำหนดการใช้สารเฟอร์ฟูรัล (Furfural), กลุ่มมาตรฐานใหม่ที่ห้ามใช้สาร 2,4-ดีนอลส์ (Dienals) และมาตรฐานปรับปรุงใหม่ 11 รายการ ซึ่งคำนึงถึงการใช้สารประกอบสชิฟฟ์ เบส (Schiff Base) และสุดท้าย มาตรฐานที่กำหนดปริมาณการใช้สูงสุด

1 ในมาตรฐานใหม่ 6 ข้อ มาจากข้อมูลใหม่ที่สนับสนุนการใช้สารไดไฮโดรคูมาริน (Dihydrocoumarin) อย่างปลอดภัย ผลที่ได้คือสารที่เคยถูกห้ามใช้ชนิดนี้จะถูกจำกัดปริมาณการใช้ ปัจจุบัน มาตรฐานต่างๆประกอบด้วย:

- 102 IFRA Standards มาตรฐานจำกัดปริมาณการใช้สารประกอบ

- 80 IFRA Standards มาตรฐานห้ามใช้สารประกอบ

- 20 IFRA Standards มาตรฐานการกำหนดค่าบริสุทธิ์

สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดของการปรับปรุงครั้งที่ 47 และเอกสารแนะนำที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ฟรีบนเว็บไซต์ใหม่ของ IFRA ที่: http://www.ifraorg.org

การปฏิบัติตามมาตรฐานของหลักการดำเนินงานเป็นกฏข้อบังคับสำหรับทุกบริษัทที่อยู่ภายใต้การดูแลของ IFRA โดยตรง หรือสมาชิกของสมาคม IFRA

หลักการดำเนินงานดังกล่าว มีการนำมาใช้กับภาคการผลิต และการควบคุมส่วนผสมของน้ำหอม ในทุกรูปแบบการใช้งาน และยังใช้มาตรฐานของ IFRA ทั้งหมด บริษัทลูกค้าส่วนใหญ่ รวมถึงบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องหอม และเครื่องใช้ในครัวเรือน คาดหวังว่า ผลิตภัณฑ์น้ำหอมของตนเองจะเป็นไปตามมาตรฐานของ IFRA ที่ระบุไว้ในหลักการดำเนินงาน

หลักการดำเนินงานของ IFRA ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมถึงสมาชิกทั้งหมดของสมาคม และกลุ่มบริษัทสมาชิก นอกจากนี้ยังรวมถึงหน่วยงานภาครัฐฯ และผู้อื่นที่สนใจ

หมายเหตุบรรณาธิการ:

*โครงการความปลอดภัยของอุตสาหกรรมน้ำหอม

โครงการความปลอดภัยของอุตสาหกรรมน้ำหอมเกิดขึ้น เพื่อประเมินส่วนผสมของน้ำหอม และจัดทำ 'ระดับการใช้งานที่ปลอดภัย' หรือการห้ามใช้สารเคมีบางชนิด โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยผลกระทบของส่วนผสมบางชนิดที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ระบบความปลอดภัยมีมาตรฐานทั้งหมด 186 ข้อ ซึ่งจำกัด หรือห้ามใช้ส่วนผสมน้ำหอมบางชนิด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าอุตสาหกรรมน้ำหอมจะปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของสมาคม

สมาคมน้ำหอมนานาชาติ หรือ IFRA มีหลักปฏิบัติด้านการผลิตน้ำหอม ในแต่ละปีจะมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ 50 รายการ จากรายการที่คัดเลือกมาจากร้านค้าต่างๆใน 10 ประเทศ จำนวน 450 รายการ หากผลิตภัณฑ์ชิ้นใดไม่ผ่านมาตรฐาน และหลักปฏิบัติของสมาคม IFRA จะประสานงานกับบริษัทผู้ผลิตเพื่อให้ดำเนินการผลิตเป็นไปตามมาตรฐาน

**การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ (QRA)

IFRA ได้นำเสนอกระบวนการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ หรือ QRA เมื่อปี 2548 เพื่อจำกัดปริมาณส่วนผสมของน้ำหอมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง QRA เป็นวิธีการประเมินส่วนผสมที่ไวต่อความรู้สึกที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น และยังเป็นแนวทางที่จำเป็นในการกำหนดปริมาณส่วนผสมที่ใช้ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ และการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และสุดท้าย QRA จะเป็นวิธีที่สามารถปกป้องผู้บริโภคจากการแพ้สารเคมีบางชนิดได้ดียิ่งขึ้น

แหล่งข่าว: IFRA

-ปม-

ข่าวสมาคมน้ำหอมนานาชาติ+ประเมินความเสี่ยงวันนี้

หวั่นควันพิษจากเหตุไฟไหม้พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง จังหวัดนครปฐม ส่ง ทีม SEhRT กรมอนามัย เร่งดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีม SEhRT ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ประสานการดำเนินงานร่วมกับทีมระดับจังหวัด เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากสารมลพิษที่เกิดจากไฟไหม้พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งในพื้นที่จังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งเน้นย้ำสื่อสารให้คำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงในการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เมื่อเช้าของวันที่ 23 เมษายน 2568 เกิดสถานการณ์ไฟไหม้ภายในพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าคณะกรรมกา... ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่องหนุน กนง. คงดอกเบี้ยนโยบาย — ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแ...

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย... "Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90% เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้! — โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย เปิดตัวแอป "Che...

ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary ... CT CALCIUM SCORE การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ — ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ หรือ Coronary Artery Calcium (CAC) คือการตรวจวัดปริมาณแคลเซียมที่สะสมในผ...