อายุรแพทย์ชี้ผู้ที่ติดอาหารรสเค็ม เสี่ยงเป็นโรคเรื้องรัง พบคนไทยบริโภคเกลือสูงเกินมาตรฐาน 2 เท่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มศว

แพทย์หญิงจุฑาธิป ลิ้มคุณากูล อายุรแพทย์ สังกัดศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ให้ความรู้ว่า การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนทุกวันนี้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล บริโภคอาหารที่มีรสชาติหวานจัด มันและเค็มจัดมากเกินไป อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกายจนส่งผลเสียต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2554 พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 21.4 หรือ 1.5 ล้านคน โรคไต ร้อยละ 17.5 หรือ 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด ร้อยละ 1.4 หรือ 0.75 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ร้อยละ 1.1 หรือ 0.5 ล้านคน โรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการกินอาหารรสเค็มจัด คือ อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสเค็ม ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม โดยมีการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมสูงเกินที่แนะนำ 2 เท่า หรือเกลือ 10.8 กรัม หรือโซเดียม 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเกลือโซเดียมเพื่อที่จะปรับพฤติกรรมการกินอาหาร “โซเดียม” เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีในอาหารธรรมชาติ เช่น ข้าว แป้ง หมู ปลา ไข่ ผัก ผลไม้ และยังมีอยู่ในเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซอสหอยนางรม ผงชูรส รวมทั้งมีในอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารหมัก ดอง เป็นต้น ดังนั้นแม้จะไม่ได้ปรุงอาหารเพิ่มเราก็ได้รับโซเดียมจากอาหารธรรมชาติแล้ว สำหรับหน้าที่ของโซเดียมคือคอยควบคุมการกระจายตัวของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมีผลอย่างมากต่อความดันโลหิต ดังนั้นการกินอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปจึงมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และทำให้มีการสะสมของน้ำตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย อาทิ เกิดภาวะบวมน้ำ และการที่มีความดันโลหิตสูงในระยะยาวส่งผลต่อหลอดเลือดแดงและนำไปสู่ภาวะอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ และนำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และไตวายในที่สุด สำหรับปริมาณโซเดียมตามปกติที่ควรได้รับคือประมาณ 2,000 – 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งในแต่ละวันเรารับประทานอาหารหลักจากธรรมชาติจะมีปริมาณโซเดียมอยู่แล้ว 350 – 450 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นเมื่อนำไปหักจากปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวัน เราจึงสามารถเติมเครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ ได้อีกประมาณ 1,650 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่น 1 ช้อนชาต่อวัน หรือ ซีอิ้วขาว 3 – 4 ช้อนชาต่อวัน ดังนั้นหากซื้ออาหารปรุงสำเร็จรับประทานก็ควรหลีกเลี่ยงการเติมพริกน้ำปลาหรือซอสปรุงรสต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มลงครึ่งหนึ่ง นับเป็นการป้องกันการเกิดโรคเรื้องรังต่างๆ และสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ+มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวันนี้

ทีมบุคลากรทางการแพทย์ ศปช. มศว ลงพื้นที่ปฏิบัติงานหน่วยแพทย์พระราชทานฯ จ.แม่ฮ่องสอน

คณะบุคลากรทางการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ออกปฏิบัติภารกิจหน่วยแพทย์พระราชทาน ในโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปอหมื้อ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุกรักษ์ไทยพุทธศิลป์ 2 ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 5 10 มกราคม 2568 การให้บริการตรวจรักษาที่ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปอหมื้อ มีผู้

แพทย์หญิงปณัชญา คงอ่อน อาจารย์แพทย์สาขาวิ... รู้ทันสัญญาณมะเร็งเต้านม รู้เร็วมีโอกาสรักษาหาย — แพทย์หญิงปณัชญา คงอ่อน อาจารย์แพทย์สาขาวิชาศัลยกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลั...

รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทย... งานครบรอบ 17 ปี วันสถาปนาศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ — รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป...

นายแพทย์พิชย์นันทน์ โปตระนันทน์ อาจารย์อา... โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สังเกตอาการได้เร็วเท่าไหร่ ลดความเสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาตได้ — นายแพทย์พิชย์นันทน์ โปตระนันทน์ อาจารย์อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์การแพท...

ทีมแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคล... ลงพื้นที่ตามทีมหมอหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ขึ้นเขาไปชายแดนไทย-พม่า ตรวจสุขภาพและให้บริการทันตกรรม — ทีมแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ของ...

บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด (... SMT ร่วมสู้โควิด-19 บริจาคชุด PPE ให้โรงพยาบาล 10,000 ชุด มูลค่ากว่า 3,500,000 บาท — บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SMT ได้บริจาคชุด...

โรคภูมิแพ้คืออะไร มีอะไรบ้าง และรักษาให้ห... การรักษาโรคภูมิแพ้ด้วยวิธีปรับภูมิคุ้มกัน — โรคภูมิแพ้คืออะไร มีอะไรบ้าง และรักษาให้หายได้หรือไม่ ? นายแพทย์จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี อาจารย์แพทย์อนุสาขา...