มองข้ามช็อต! อนาคตแรงงานไทยปี 57 เศรษฐกิจแย่ การเมืองซ้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           ผอ.วิจัยการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ มองข้ามช็อต เตือนแรงงานรับมือผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ และวิกฤติการเมืองยืดเยื้อ ห่วงป.ตรีตกงานสะสมเพิ่ม 
          สถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อและยังไร้ข้อยุติ ยิ่งนานวัน ยิ่งเบียดขับปัญหาอื่น ๆ ของสังคมไทยที่ควรได้รับการแก้ไขให้เลือนลางไร้การเหลียวแล โดยเฉพาะความเดือดร้อน ทุกข์ยากจากผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ของภาคแรงงานไทย 
          ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีขึ้น จากหลายปัจจัยทั้งการส่งออก การบริโภคในประเทศ การลงทุน และการใช้จ่ายของรัฐบาลช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล นักเศรษฐศาสตร์มหภาคคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวในไตรมาสแรก และอาจจะค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้นช่วงไตรมาส 2,3 และ 4 หากการเมืองจบเร็วก็จะไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากไทยยังมีอัตราการว่างงานต่ำ และจากโครงสร้างตลาดแรงงานที่ใช้แรงงานระดับล่างมีการใช้แรงงานต่างด้าวเป็นหลักอยู่แล้ว การผันผวนตลาดแรงงานจะถูกดูดซับแรงงานระดับล่างที่ว่างงานในระดับนี้ได้ ส่วนแรงงานระดับกลางช่างเทคนิคยังผลิตไม่เพียงพอ ปัญหาขาดแคลนเชิงปริมาณน่าจะลดลงแต่ปัญหาด้านคุณภาพคงยังไม่หมดไป ระดับป.ตรีมีมากเกินความต้องการของตลาดจึงมีการว่างงานสะสมต่อเนื่อง โดยภาพรวมปัญหาขาดแคลนแรงงานระดับล่างจะดีขึ้นแต่การว่างงานของแรงงานระดับบนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น 
          มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้จีดีพีจะเติบโตได้เพียง 3-4% โดยหลักการแล้ว หากจีดีพีโตต่ำกว่า 4% อาจส่งผลให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1% จากเดิมที่มีประมาณ 0.7-0.8% เท่านั้น ดังนั้นหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ไปอีก 6 เดือน หรือ 1 ปี ผลกระทบของภาคแรงงานจะปรากฏชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการผลิตที่อ่อนไหว คือ อุตสาหกรรมและภาคบริการที่เป็นแหล่งดูซับแรงงานแบบเข้มข้นหลายสาขาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรับจ้างนำชิ้นส่วนมาประกอบจะถูกกระทบมาก 
          ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า ปัญหาที่น่าวิตกและคาดว่าจะปรากฏชัดในครึ่งหลังของปี 2557 และปีถัดไป คือผลกระทบจากปัจจัยการเมืองที่จะทำให้นักลงทุนชะลอหรือตัดสินใจไม่ลงทุนใหม่ หรือย้ายการลงทุนไปประเทศอื่นหรือย้ายฐานการผลิตเร็วขึ้น ซึ่งตรงนี้จะมีผลกระทบกับแรงงานมากพอสมควร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ซึ่งรองรับแรงงานมากกว่า 3-4 แสนคน ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะไม่มีผลกระทบมากนักเนื่องจากมีเครือข่ายหรือฐานการผลิตในหลายประเทศและสามารถใช้เครือข่ายทางการตลาดส่งสินค้าไปยังที่ที่มีความต้องการผลผลิตอยู่ ดังนั้นผลกระทบโดยภาพรวมอาจจะไม่ย่ำแย่อย่างที่คิดกล่าวคือวิกฤติของอุตสาหกรรมหนึ่งแต่จะเป็นผลดีกับอีกอุตสาหกรรมหนึ่งเนื่องจากแรงงานสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยง่ายจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่ยังมีความต้องการแรงงานอยู่มาก 
          ในส่วนภาคบริการซึ่งดูดซับแรงงานได้หลายสาขา แต่เป็นภาคที่มีความอ่อนไหวมากกับสถานการณ์ความมั่นคงของรัฐบาล จึงถูกกระทบเร็วและหากสถานการณ์ยังยืดเยื้อผลกระทบก็ยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ และกระทบต่อแรงงานกลุ่มภาคบริการ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงอาชีพที่อยู่นอกระบบ ที่มักมาหารายได้เสริมจากงานในภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น การค้าขายต่าง ๆ สปา นวดแผนไทย ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะการเคลื่อนย้ายมาทำงานตามฤดูกาลเพื่อเป็นรายได้เสริม 
          สำหรับสถานการณ์แรงงานปี 2557 โดยภาพรวมจากโครงสร้างการจ้างงานยังคงมีทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงาน และปัญหาการว่างงานไม่แตกต่างจากปีที่เพิ่งผ่านมา โดยผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองจะทำให้การเติบโตเศรษฐกิจต่ำกว่าคาด ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอีต้องปรับตัวมากขึ้นและเร็วขึ้น ชะลอการจ้างงานใหม่ จำกัดการจ้างงานใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น กลุ่มแรงงานที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ แรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยเฉพาะระดับปริญญาตรีที่มีปัญหาว่างงานสะสมมาต่อเนื่องทุกปี 
          อย่างไรก็ตามในตลาดแรงงานที่มีความผันผวนสูงและต้องการคนที่มีสมรรถนะสูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อเช่นนี้ ผู้ที่ทำงานอยู่ แรงงานรุ่นเก่า อาจจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความผวนผวนนี้อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ความเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน สูญเสียรายได้ ขณะที่แรงงานจบใหม่ก็ต้องเตรียมความพร้อมรับมือด้วยการหาความรู้เพิ่มรอเวลาที่ตลาดแรงงานจะฟื้นตัวไปก่อน หรือถ้าคอยไม่ไหวก็คงต้องผันตัวเองไปสู่อาชีพอิสระมากขึ้น.
 
 
 

ข่าวสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย+สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศวันนี้

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย"

คปภ. ผนึกกำลังจังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย ทีดีอาร์ไอ จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่งถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" Kick off พื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนน รณรงค์ พ.ร.บ. ปี 2568 พร้อมจัดเวทีเสวนาถอดรหัส ถนน 304 เสนอบังคับใช้ กม. ออกมาตรการลดเสี่ยง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จังหวัดปราจีนบุรี ภาคธุรกิจประกันภัย และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดงาน "ปราจีน ยืนหนึ่ง ถนนปลอดภัย อุ่นใจด้วยการประกันภัย" ภายใต้

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประก... คปภ. เผยมุมมองผู้เชี่ยวชาญ ประเทศไทยต้องปรับตัวเร่งด่วน รับมือ Climate change ภาคประกันภัย…มีส่วนสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลง — สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ง...

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอา... ทีดีอาร์ไอเปิดเวทีเสวนา "เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ชูกรณีศึกษา Grab ช่วยขับเคลื่อน GDP สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแสนล้าน — สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)...

The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ... The Active Thai PBS จับมือ TDRI "ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่" ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านพลังงาน — The Active Thai PBS จับมือ TDRI และภาคีฯ ปั้นนักสื่อสารรุ่นใหม่ สะท...

การศึกษาล่าสุด โดยองค์การยูนิเซฟและสถาบัน... รายงานใหม่โดยยูนิเซฟและทีดีอาร์ไอ พบว่า เด็กยากจนร้อยละ 34 ไม่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด — การศึกษาล่าสุด โดยองค์การยูนิเซฟและสถาบันวิจั...

Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนา... ไทยพีบีเอส จัดงาน Thai PBS World Forum เตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงสื่อยุค AI — Thai PBS World เปิดเวทีสาธารณะ 'AI และอนาคตของห้องข่าว' เตรียมพร้อมรับ...

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพ... วางผังภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล — ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นประธานในงาน ...

เคทีซีจัดงานเสวนา KTC FIT Talks #9 จับเข่... เคทีซี x ทีดีอาร์ไอ เปิดเวทีเสวนา KTC FIT Talks #9 "จับตาเศรษฐกิจไทยและธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคครึ่งหลังปี 2566" — เคทีซีจัดงานเสวนา KTC FIT Talks #9 ...

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานกา... วช. หนุนทีดีอาร์ไอศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของอุบัติเหตุทางถนน หวังผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลวิจัยไปใช้กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับประเทศให้มีความชัดเจน — ดร.วิภารัตน...

เมื่อวัน 5 กุมภาพันธ์ 2564 นางปิยนุช วุฒิ... ดีอีเอส ร่วม TDRI ศึกษาความพร้อมของไทย ก่อนเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม — เมื่อวัน 5 กุมภาพัน...