“ดร.ปีติพงศ์” สน ตลาดสมุนไพรสหรัฐเตรียมศึกษาความเป็นไปได้นำสมุนไพรเข้าไปทำตลาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          “ดร.ปีติพงศ์” สน ตลาดสมุนไพรสหรัฐ หนุนสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร วอชิงตัน และฝ่ายการเกษตรกงสุลใหญ่ ลอสแอนเจลิส ศึกษาแนวโน้มตลาดและโอกาสนำสมุนไพรเข้าสู่ตลาดสหรัฐ
          ในโอกาสเข้าร่วมประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาศาสตร์ Bio International 2014 ณ เมือง ซานดิเอโก้ สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2557 ดร.ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ได้มีโอกาสศึกษาดูงานตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์จากภาคเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพในนครลอสแอนเจลิส เพื่อเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์อันเกิดจากภาคเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนเจรจาธุรกิจและแลกเปลี่ยนข้อมูลการตลาด โดยมีนางกฤษณา สุขุมพานิช กงสุลฝ่ายการเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส พร้อมด้วยนางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล จากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี ซี ให้การต้อนรับ
          นอกจากนี้ ดร.ปีติพงศ์ฯ ในฐานะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO มีความสนใจในความก้าวหน้าของสหรัฐฯ ด้านการพัฒนาสินค้าจากพืชสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามจากธรรมชาติ โดยได้เข้าพบและหารือกับบริษัท Irwin Naturals และบริษัท Dragon Herbs ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐฯ ผู้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากธรรมชาติ สมุนไพร และพืชออร์แกนิคที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ เพื่อรับทราบแนวโน้มตลาดสินค้าประเภทนี้ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ ประชากรมีกำลังซื้อสูง และมีความตื่นตัวและสนใจในการบริโภคอาหารสุขภาพและผลิตภัณฑ์ด้านความงามจากสารธรรมชาติ รวมทั้งได้เยี่ยมชมกิจการและหารือกับนางกิริยา หิรัญพลกุล (จอย) เจ้าของร้านบ้านสมุนไพรไทย บนถนน Sunset Blvd. ซึ่งเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสินค้าออร์แกนิคจากประเทศไทยรายใหญ่ นอกจากนี้ยังได้ เยี่ยมชมซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำซึ่งจำหน่ายสินค้าจากธรรมชาติและออร์แกนิคอีกด้วย เช่น Whole Foods, Trader Joe’s, Erewhon ฯลฯ
          BEDO ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนของไทย ภายใต้หลักการสำคัญ 3 ประการ คือมีการใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่นของตนเป็นหลัก ใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ และผลกำไรที่ได้จากการประกอบการจะปันส่วนคืนกลับไปยังชุมชน เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนด้วย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ที่ BEDO ให้การสนับสนุนชุมชน อาทิ ผลิตภัณฑ์สบู่จากถ่านไม้ไผ่ เส้นใยจากไผ่ เช่น ผ้าทอจากใยไผ่ ผ้าฝ้ายย้อมคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ได้มีการนำนวัตกรรมบางส่วนมาร่วมจัดแสดงในงาน 2014 BIO – International Convention ณ เมืองซานดิเอโก ระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายน 2557 อีกด้วย
          จากการศึกษาดูงานในนครลอสแอนเจลิสแล้ว ดร.ปีติพงศ์ฯ เห็นว่าตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพสูง จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจตลาดอย่างจริงจังทั้งในแถบตะวันออกและตะวันตกของประเทศ ในฐานะประธานกรรมการบริหาร BEDO นายปีติพงศ์ฯ จึงเห็นควรสนับสนุนให้สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี ซี และฝ่ายการเกษตรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ศึกษาแนวโน้มตลาดและความเป็นไปได้ในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงามจากสมุนไพรของไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ทั้งนี้ ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในเขตร้อนมีข้อได้เปรียบเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน กระชายดำ ถึงแม้มีงานวิจัยและพัฒนามากมาย แต่ต้องพัฒนาเพื่อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับสากลและเหมาะสมกับความต้องการของแต่ละตลาดด้วย

“ดร.ปีติพงศ์” สน ตลาดสมุนไพรสหรัฐเตรียมศึกษาความเป็นไปได้นำสมุนไพรเข้าไปทำตลาด
“ดร.ปีติพงศ์” สน ตลาดสมุนไพรสหรัฐเตรียมศึกษาความเป็นไปได้นำสมุนไพรเข้าไปทำตลาด
“ดร.ปีติพงศ์” สน ตลาดสมุนไพรสหรัฐเตรียมศึกษาความเป็นไปได้นำสมุนไพรเข้าไปทำตลาด
“ดร.ปีติพงศ์” สน ตลาดสมุนไพรสหรัฐเตรียมศึกษาความเป็นไปได้นำสมุนไพรเข้าไปทำตลาด
 

ข่าวศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์+ปีติพงศ์ พึ่งบุญวันนี้

MEDEZE ร่วมอภิปรายงานประชุมวิชาการนานาชาติ "สถานการณ์การพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMPs) ในประเทศไทย"

นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ (ที่ 1 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE นพ.โอฬาร เปี่ยมกุลวนิช (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินเซลล์ รีเซิร์ช จำกัด ผศ.ดร.วิยะดา ปัญจรัก (ที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการศูนย์เซลล์บำบัดรักษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (ที่ 4 จากขวา) ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.), คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด... วว. คว้ารางวัล Medal of Excellence จากเวที COSMETIC 360 ปี 2024 ณ ประเทศฝรั่งเศส — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจั...

ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึ... นาโนเทค-อย.-TCELS หนุนระบบรับรองวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร ยกระดับอุตฯ ไทยสู่สากล — ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลก มีมูลค่าตลาดสูงถึง 56.50 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็...

ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์คว... TCELS นำเสนอเทคโนโลยีโปรตอนลดความเหลื่อมล้ำ ต้อนรับรองนายกอนุทิน — ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หร...

16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รอง... TCELS เข้าร่วม NCRN conference 2023 พร้อมหนุนเสริมงานวิจัยคลินิกของประเทศ — 16 พ.ย. 2566 ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว...

15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชี... TCELS พร้อมหนุน บีบีเอช ฮอสปิทอล แมเนจเม้นท์ เข้า mai ปี 2570 — 15 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ศลช.) โดยฝ่ายยุทธศาส...

13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทย... TCELS ร่วมออกบูธ อว. ต้อนรับนายอนุทิน ชาญวีรกูล — 13 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการ...

8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา... TCELS ผนึกกำลัง VNU พร้อมยกระดับ Bio Asia Pacific 2024 — 8 พ.ย. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดย คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล รองผู้อ...

16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีวว... TCELS พาผู้ประกอบการไทยบุกตลาดโลก ในงาน Cosmetic 360 ปารีส — 16-20 ต.ค. 2566 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) นำโดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจ...

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์... TCELS จัดอบรมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา TRIUP Act และ FTO — ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) จัดอบรมหลักสูตร "ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ...