เมื่อวันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน 2557 ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรศาสตร์ โครงการติดตามนโยบายสื่อและ โทรคมนาคม หรือ NBTC Policy Watch ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมภายใต้การกำกับของ กสทช.: ซิมดับ 3G คุกกี้รัน ฯลฯ” โดย ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอ รายงานการศึกษาเรื่อง “ราคาคาโทร 3G หนึ่งปเปลี่ยนไปอยางไร?”
พรเทพ กล่าวว่า เครือข่าย 3G ให้บริการมาตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2556 และตลอดระยะเวลา 1 ปี หลังจากการเปิดให้บริการ โครงการ NBTC Policy Watch ติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาค่าบริการ ว่าเป็นไปตาม อัตราที่ กสทช.กำหนดให้ผู้ให้บริการทุกรายลดราคาแพคเกจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G ลงอย่างน้อย ร้อยละ 15 ที่ประกาศภายหลังจากการถูกสังคมวิจารณ์ถึงความล้มเหลวในการการจัดประมูล 3G หรือไม่
พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ประเด็นปัญหาที่พบยังเป็นประเด็นเดิมที่ถูกนำเสนอไปแล้วแต่ยังไม่ถูกแก้ไข โดย ประเด็นหลักคือ ราคาค่าบริการ 3G โดยเฉลี่ยยังลดลงไม่ถึง 15% โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีเพียงบริษัท DTAC เท่านั้นที่ราคาค่าบริการโดยเฉลี่ยลดลงมากกว่า 15% โดยหากเปรียบเทียบแพคเกจค่าโทรเดือนล่าสุด (มิถุนายน 2557) กับเดือน พฤษภาคม 2556 พบว่า DTAC มีค่าบริการลดลงประมาณ 24% ในขณะที่ TRUE มีค่าบริการลดลงประมาณ14% ในขณะที่AIS ลดลงเพียง8% เท่านั้น โดยพบว่าแพคเกจการให้บริการของผู้ ให้บริการแต่ละรายไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท AIS นั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงแพคเกจค่าบริการรายเดือนเลยตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 เป็นต้นมา
นอกจากนี้ การที่ กสทช. ประกาศ อัตราอ้างอิงที่ประกาศเป็นรายบริการนั้นไม่สอดคล้องกับลักษณะ การให้บริการในอุตสาหกรรมที่คิดราคาเป็นแพคเกจซึ่งการให้บริการเสียงและข้อมูลถูกผูกรวมกัน ไม่สามารถ แยกซื้อบริการแต่ละประเภทแยกกันได้ ทาให้ทั้งผู้บริโภคและ กสทช. ไม่สามารถตรวจสอบว่าในแต่ละแพคเกจบริการใดคิดราคาเกินกว่าราคาอ้างอิง
“สำนักงาน กสทช. ออกมาให้ข่าวบ่อยครั้งว่าราคา 3G ลดลงแล้วมากกว่า 15% แต่ กสทช. กลับไม่เคย เปิดเผยว่า กสทช. แยกราคาบริการต่างๆ ออกจากราคาแพคเกจรวมอย่างไร ใช้วิธีการใดในการคำนวณราคา ค่าบริการ และใช้ข้อมูลอะไรบ้างในการคำนวณ” พรเทพ กล่าว
ในประเด็นต่อมา พรเทพ ชี้ว่า แพคเกจที่ราคาลดลงในสัดส่วนที่สูงมักเป็นแพคเกจที่ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยมี ผู้บริโภคเลือกใช้มากนัก เช่นแพคเกจสำหรับผู้ใช้ข้อมูลอินเตอร์เน็ตในปริมาณมากตั้งแต่ 1GB หรือ 2GB ต่อเดือน เป็นต้นไป
ดร.พรเทพ ยังให้ความเห็นว่า ผู้ใช้บริการ DTAC เกือบทุกกลุ่ม (19 จาก 24 กลุ่ม) ได้รับราคาค่าบริการ ลดลงมากกว่า 15% โดยพรเทพชี้ว่า ความสำเร็จในการลดราคาค่าบริการของ DTAC น่าจะมีสาเหตุมาจากการแบ่งการคิดราคาเป็นรายบริการ (unbundled) และเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเลือกส่วนผสมของบริการเสียงและข้อมูลที่ต้อง การอย่างยืดหยุ่น ซึ่งแพคเกจ 3G แบบ post-paid ของ DTAC สามารถแบ่งย่อยลงได้ถึง 24 แพคเกจ เทียบกับ TRUE และ AIS ที่มีเพียงรายละ 5 แพคเกจเท่านั้น
ในประเด็นสุดท้าย พรเทพ ตั้งข้อสังเกตว่า การคิดค่าโทรในส่วนที่ผู้บริโภคใช้เกินแพคเกจยังสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่ กสทช. กาหนด คือ 0.99 บาท หรือ 0.82 บาทสาหรับ 3G ซึ่งเป็นปัญหามานานและยังไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด
“หากพิจารณาในภาพรวมจะพบว่า กลุ่มผู้ใช้บริการที่มีปริมาณการใช้งานบริการเสียงในระดับสูงจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการลดราคาแพคเกจน้อยที่สุด เหตุผลเนื่องจากว่าผู้บริโภคในกลุ่มนี้มีแนวโน้มการใช้บริการเสียงเกินจานวนนาทีที่แพคเกจกาหนด แต่ ราคาค่าโทรเกินแพคเกจสาหรับผู้ให้บริการทุกรายที่ 1.25-1.5 บาท ต่อนาที ยังมีค่าสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่ กสทช . กำหนด และราคาค่าโทรเกินแพคเกจในระบบ 3G เป็นต้นทุนที่ ยังไม่ลดลงสำหรับผู้บริโภคกลุ่มโทรมาก” พรเทพให้ความเห็น
พรเทพสรุปว่า กสทช. จำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือในการติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการทำธุรกิจ และลักษณะการใช้งานของผู้บริโภค การที่ กสท. กำหนดราคาค่าบริการ 3G ทุก แพคเกจ ให้ลดลงจาก 2G อย่างน้อย 15% ก็เพื่อชดเชยผลประโยชน์ของผู้บริโภคที่สังคมรู้สึกสูญเสียไป จากการประมูล 3G ซึ่ง กสทช. ควรจะดูแลอย่างจริงจังให้ทุกแพคเกจเป็นไปตามกำหนด ไม่ใช่เพียงแค่ผลักภาระให้กับผู้บริโภคด้วยข้ออ้างว่าผู้บริโภคต้องฉลาดเลือกแต่เพียงเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม http://nbtcpolicywatch.org/press_detail.php?i=1231&t=2
รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโลยีพระจอมเกล้า เปิดเผยถึงการนำผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยเริ่มต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในช่วงปี 2561-2562 และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านหน่วยบริหาร
อาจารย์ศศินทร์ รับรางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว.
—
รองศาสตราจารย์ ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาศ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่องานวิจัย ด้านบรรษัทภิบาล และการ...
ป.เอก การบริหารการศึกษา SPU ร่วมกับ สพม.กท 2 ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ ออนไลน์ "ความปกติใหม่ของการจัดการเรียนรู้"
—
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากา...
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) จัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ WiTThai เล่ม 3-4
—
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย แล...
Innovative house เสริมกระบวนการวิจัยและพัฒนาให้ SMEs ไทย ยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเวชสำอาง
—
ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศเจริญเติบโตอย่างต่...
“มิติใหม่ของข้าวเม่า” Fusion Food ฉบับบุรีรัมย์โมเดล
—
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ...
งานวิจัย ยืนยัน ระบบนิเวศป่าชายเลนไทย มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เบื้องต้นพบพื้นที่ป่าชายเลน 16 อำเภอใน 8 จังหวัด คุ้มค่าแก่การอนุรักษ์
—
โดย การนำผลงานวิจัยไปใช...
ได้เวลา “รักษ์น้ำ” โดย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
—
"เวลาที่เราพูดถึงเรื่องน้ำ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมักจะล...
คณะวิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการวิจัยระบบโลจิสติกส์กทม.และปริมณฑล รองรับ “มหานครแห่งเอเชีย”
—
ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ...