สยามเทค ใช้ “ระบบทวิภาคีไทย-เยอรมัน” ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาศักยภาพอาชีวะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           กระแสวิกฤติ ‘ อาชีวะแรงงานขาดแคลน แต่ทำไมเด็กไทยกลับเรียนอาชีวะน้อยลง ’ กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคมขณะนี้
รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) และนายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย จึงมีความมุ่งมั่นและพยายามที่จะผลักดันสร้างโมเดลใหม่ในประเทศไทย เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพและศักยภาพ ยกระดับ ‘เด็กอาชีวะ’ สู่ความเป็นเลิศ ทั้งวิชาการและทักษะฝีมืออย่างมืออาชีพที่เป็นที่ต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน โดยใช้ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาศักยภาพอาชีวศึกษา ด้วยระบบ ‘ทวิภาคีไทย-เยอรมัน’
          
          “ระบบทวิภาคี เป็นกลยุทธ์ที่พัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและสมรรถนะสูงที่สอดคล้องตรงต่อความต้องการของแรงงาน และการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ทั่วโลกถือเอาการจัดการระบบทวิภาคีของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นแม่แบบ ประเทศที่นำวิธีการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีไปประยุกต์ใช้แล้วประสบความสำเร็จ ได้แก่ ออสเตรเลีย สมาพันธรัฐสวิส เดนมาร์ก สวีเดน โรมาเนีย จีน และเกาหลี โดยการนำไปประยุกต์ดัดแปลงรายละเอียดให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานในประเทศนั้นๆ


          นับเป็นนิมิตรที่ดี ที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามสัญญาว่าด้วยการศึกษาทวิภาคีไทย-เยอรมันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไทยและเยอรมันแสดงเจตนาที่จะร่วมกันพัฒนาการอาชีวศึกษาของไทย เพื่อคุณภาพของนักเรียนอาชีวะสำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะสอดคล้องกับความต้องการแรงงาน โดยได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติในสถานที่ทำงานจริงอย่างสมดุล” รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช กล่าว

พร้อมกันนี้ กลุ่ม The State Academy สถาบันด้านการอบรมและพัฒนาบุคลากรที่กำกับการดูแลโดยรัฐมนตรีการศึกษา เยาวชน และการกีฬา แห่งรัฐบาเดน-เวือร์เทมแบรก์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นำทีมโดย มิสอลิซาเบธ โมเซอร์ ผู้อำนวยการและคณะกรรมการบอร์ดฯ พร้อมคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชมสาขาวิชาชีพต่างๆ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)ไม่ว่าจะเป็นสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ธนาคารโรงเรียน ศูนย์แมคคาทรอนิกส์ และศูนย์เทคนิคยานยนต์ โดยให้ความคิดเห็นและแนวทางต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กอาชีวะสยามเทค
          “การเลือกเส้นทางเดินทางการศึกษาถือเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะประกอบอาชีพอะไร เมื่อมุ่งมั่นมาทางสายอาชีวะที่ท้าทายความสามารถสู่สังคมสมัยใหม่ ต้องก้าวไปอย่างเชื่อมั่น พร้อมเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง โอกาสที่จะประสบความสำเร็จจะมีสูง” มิสอลิซาเบธ โมเซอร์ กล่าว
          โอฬาร เหมวัล วัย 20 ปี ระดับปวส.2 สาขาธุรกิจการโรงแรมและการบริการ ได้ไปฝึกงาน ที่โรงแรมสวิสโซเทล (Swissotel) ประเทศสิงคโปร์ ในตำแหน่งพนักงานเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม บอกเล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า- -
“ผมเพิ่งกลับมาครับ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ได้รับทั้งความรู้ ทั้งประสบการณ์ใหม่ๆ ทำให้เราสนุก ตื่นเต้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา ทำให้เรามีทักษะ ความเชี่ยวชาญมากขึ้น แล้วแถมยังมีรายได้ดีด้วย ดีใจมากๆ และหากฝึกงานจบแล้ว ถ้าเขารับผมเข้าทำงานที่นี่ ผมตัดสินใจทำงานทันที เพราะจะมีรายได้ต่อเดือน ประมาณเกือบ 60,000 บาทครับ”
          อมฤต เตชะรัตนะนำชัย วัย 20 ปี ปวส. สาขาเทคนิคยานยนต์ กล่าวว่า- - “เรียนไปด้วยทำงานไปด้วยดีครับ เพราะสิ่งที่เราเรียนรู้ภาคทฤษฎีเมื่อมาปฏิบัติทำให้เข้าใจมากขึ้น ทั้งเป็นการได้ฝึกฝีมือ ทำให้เกิดความชำนาญยิ่งขึ้น แล้วที่ดีที่สุดคือ ได้รับทั้งความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น แถมยังมีรายได้อีกยิ่งดีครับ คิดว่าเมื่อจบแล้ว ผมคงได้เข้ารับการทำงานเลยครับ หรืออาจจะไปสมัครที่อื่นๆ ก็ง่าย เพราะเรามีประสบการณ์ที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าใครครับ”
          รศ.ดร.จอมพงศ์ มาคลวนิช กล่าวเสริมในเรื่องของ ‘อาชีวะแรงงานขาดแคลน แต่ทำไมเด็กไทยกลับเรียนอาชีวะน้อยลง’ นั้น อันดับแรกควรจะสร้างค่านิยมใหม่ในการเรียนสายอาชีวศึกษา และที่สำคัญที่สุดรัฐบาลควรจะมีนโยบายที่ชัดเจน ทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการที่จะสนับสนุนกิจกรรมทวิภาคีในประเทศไทย 
          “นอกจากนี้ควรจะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาขยายผลการเรียนการสอนระบบทวิภาคีในสถานศึกษาทั้งของรัฐบาลและของเอกชน และไม่ควรจำกัดอยู่เพียงสาขางานช่างอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ควรขยายไปถึงสาขาด้านการบริหารและการบริการด้วย
...ทั้งควรสนับสนุนอาชีวศึกษาทวิภาคีให้มีบทบาทที่จะสนับสนุนสถานประกอบการที่ร่วมมือกับสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่จัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ซึ่งจะเป็นเรื่องดีในการพัฒนาอาชีวศึกษาให้ก้าวไกลสู่เวทีระดับโลก”

          เพื่อผลักดันแผนยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาศักยภาพอาชีวะ ให้ก้าวเติบโตในเส้นทางอาชีพของเด็กอาชีวะไทยสู่อนาคตที่สดใส

ข่าวสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยี+วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามวันนี้

กรุงไทย ผนึก สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนฯ หนุนการศึกษายุคดิจิทัล ผ่าน Krungthai Campus App

ธนาคารกรุงไทย ร่วมกับ สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ ยกระดับการบริหารจัดการสถาบันการศึกษา ที่เป็นสมาชิกกว่า 400 แห่ง ผ่าน Krungthai Campus Application นวัตกรรมดิจิทัลแบบ One Stop Service ตอกย้ำความมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับการศึกษาไทย นายวิเชียร์ เนียมน้อย นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ความร่วมมือกันในครั้งนี้ ทางสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีสถาบันต่างๆ ร่วม

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแร... รมว.สุชาติ ลงนามสักขีพยาน รุกขยายตลาดส่งช่างไทยไปทำงานอู่ต่อเรือในเกาหลีใต้ — นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึก...

นายสมเกียรติ พูลขวัญ (คนที่ 3 จากซ้าย) รอ... ภาพข่าว: ยามาฮ่า ส่งท้ายเกม Moto Challenge Season 3 นำนักแข่งอาชีวะสัมผัสสนามแข่งระดับโลก — นายสมเกียรติ พูลขวัญ (คนที่ 3 จากซ้าย) รองผู้จัดการใหญ่ ด้านบร...

นายสมเกียรติ พูลขวัญ (คนที่ 3 จากขวา) รอง... ภาพข่าว: ยามาฮ่า ร่วมยินดีนักแข่ง Yamaha Moto Challenge Season 3 สนามแรก — นายสมเกียรติ พูลขวัญ (คนที่ 3 จากขวา) รองผู้จัดการใหญ่ด้านบริหาร พร้อมผู้บริหาร...