ภัยเงียบที่ยังถูกมองข้าม “หลับไม่สนิทจริง...เสี่ยงเป็นโรคร้ายแรง”

07 May 2014
คุณเคยฉุกคิดและตั้งคำถามกับตนเองบ้างหรือไม่ว่าการนอนหลับของคุณนั้นเป็นการนอนหลับที่สนิทดีมีคุณภาพจริงหรือไม่ เพราะแม้ว่าคุณจะสามารถนอนหลับได้ครบ 8 ชั่วโมง ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่หากแท้จริงแล้วคุณอาจไม่รู้ว่าการนอนหลับของคุณมีความผิดปกติ คุณอาจไม่ได้นอนหลับสนิทอย่างที่ควรเป็น ซึ่งอาจส่งผลกระทบอันตรายต่อสุขภาพของคุณเกิดกว่าที่คาดหมายไว้

คุณวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การศึกษาของ ฟิลิปส์ระบุว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการนอนหลับมากกว่า 2 ใน 3 ไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาด้านการนอน ด้วยปัจจุบัน เราพบว่าคนไทยมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ซับซ้อนมากกว่าสมัยก่อน กิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ทั้งหน้าที่การงาน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมไปถึงการบริหารความเครียด ล้วนส่งผลกระทบต่อการขาดการนอนหลับเต็มอิ่มอย่างมีสุขภาพดีได้ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะเส้นโลหิตไปเลี้ยงสมองอุดตัน และโรคเบาหวาน ปัญหาด้านการนอนหลับหนึ่งที่สำคัญคือโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep apnea หรือ OSA) ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ยังขาดความตระหนักและความเข้าใจในวงกว้าง ถือเป็นอุปสรรคต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีที่ไม่ควรละเลย หลายๆ คนไม่ได้ฉุกคิดในส่วนนี้ เพราะสามารถจัดสรรเวลาเข้านอนได้แต่หัวค่ำ แต่กลับไม่ทราบว่าจริงๆ แล้วตนเองนอนหลับไม่สนิท นี่คือความเสี่ยงที่คนส่วนใหญ่ยังคงมองข้าม เพราะพวกเขาไม่รู้ตัว”

ภาวะการนอนหลับผิดปกติ ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ โรคนอนไม่หลับ, ภาวะการนอนไม่หลับซึ่งเกิดจากการปรับตัวด้านสภาพเวลาไม่ทัน (เจ็ทแล็ก), การละเมอ (การละเมอเดินระหว่างหลับ, การฝันผวา, การเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงระหว่างการฝัน และ การรับประทานอาหารระหว่างหลับ), โรคนอนเกิน (ภาวะนอนไม่พอ และ ภาวะ ไม่สามารถควบคุมการหลับได้) และ โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep apnea หรือ OSA) ทั้งนี้แม้ว่าภาวะการนอนหลับผิดปกติ เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันและรักษาได้ แต่มีไม่ถึง 1 ใน 3 ของมีกลุ่มผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับผิดปกติ ที่เลือกปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดการรักษาภาวะดังกล่าว โดยมีการประมาณการว่า มีประชากรหลายล้านคนทั่วโลกที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะการนอนหลับผิดปกติเรื้อรัง มาทำความรู้จักโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep apnea หรือ OSA) กันเถอะ

ปัจจุบัน มีการประเมินว่ามีประชากรกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น ซึ่งถือเป็นภาวะการนอนหลับผิดปกติที่พบได้มากที่สุด ในกลุ่มภาวะการนอนหลับผิดปกติที่เกิดผลจากระบบหายใจ อาการของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น คือผู้ป่วยจะหยุดหายใจเป็นระยะระหว่างการหลับ เกิดจากช่องหลอดอากาศด้านบนที่หดแคบลงหรือปิดลงระหว่างการนอนหลับ การหยุดหายใจในแต่ละครั้งมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 วินาทีขึ้นไป นำไปสู่ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ลดลง หากมีการหยุดหายใจในลักษณะดังกล่าวมากกว่า 5 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ของการหลับ ถือว่ามีระดับการเป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นที่เด่นชัด โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีการหยุดหายใจแบบอุดกั้น ได้มากถึง 100 ครั้งต่อชั่วโมงการหลับ ผู้ป่วยโรคดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตัน และเบาหวาน

ลักษณะอาการของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น คือ นอนกรนเสียงดัง นอนอ้าปากค้าง หรือหายใจขัดระหว่างหลับ รู้สึกง่วงอย่างหนักในเวลากลางวัน ปวดหัวในช่วงเช้า ขี้ลืม มีปัญหาทางการเรียนรู้ หงุดหงิดระหว่างวัน ขาดสมาธิในการทำงาน อารมณ์แปรปรวน มีหลายบุคลิก หรือรู้สึกหดหู่ รวมไปถึงมีอาการคอแห้งเมื่อตื่นนอน และเข้าห้องน้ำเบาบ่อยในช่วงกลางคืน

ทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น ได้แก่ การใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายทางเดินหายใจ หรือ Continuous Positive Airway Pressure (CPAP) ซึ่งจะเป่าความดันลมผ่านจมูก และ/หรือ ปาก ของผู้ป่วยซึ่งสวมหน้ากากระหว่างนอนหลับ ความดันลมดังกล่าวจะป้องกันช่องหลอดอากาศด้านบนไม่ให้หดแคบหรือปิดตัวลง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้สะดวกตลอดช่วงการนอนหลับ โดยการบำบัดจากภายนอกดังกล่าวจะช่วยบรรเทาอาการของโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นลงได้

อย่างไรก็ดี ทั้งในกลุ่มสาธารณชนและหรือแม้กระทั่งในแวดวงการแพทย์ ยังคงมีระดับความตระหนักและความเข้าใจต่อโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นในระดับต่ำ ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ร้ายแรงต่อเนื่องได้ ทั้งนี้มีการประมาณการว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการของผู้ป่วยโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี นั้นมีมูลค่าสูงถึง 3.4 พันล้านเหรียญ ขณะที่คาดการณ์ว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น มีระดับสูงกว่านี้มาก โดยเป็นต้นทุนทางอ้อม ทั้งจาก ผลิตภาพการทำงานที่ลดลง อุบัติเหตุ และผลจากความพิการเริ่มต้นดูแลตัวเองวันนี้...ด้วยการตรวจสอบคุณภาพการนอนหลับของคุณ

14 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา ฟิลิปส์ได้ร่วมฉลองวันนอนหลับโลก (World Sleep Day) ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยสมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก (World Association of Sleep Medicine หรือ WASM) ด้วยการออกแคมเปญ “พลังแห่งการนอนหลับ” หรือ Sleep Powers ชูประเด็น “การนอนหลับที่ดี เพื่อพลังงานเต็มเปี่ยมตลอดวัน” ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ โดยได้เปิดออนไลน์ควิส “ตรวจคุณภาพพลังแห่งการนอนหลับของคุณ” (คลิก http://www.worldsleepday.respironics.com/files/wsd-sleep-quiz.pdf) เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจวัดระดับคุณภาพการนอนหลับของตนได้ด้วยการตอบคำถามง่ายๆ เกี่ยวกับนิสัยในการนอนหลับและสุขภาพ โดยผู้บริโภคที่ได้คะแนนคุณภาพการนอนหลับต่ำ จะได้รับลิงก์ “คู่มือตรวจสอบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น (คลิกhttp://www.worldsleepday.respironics.com/risk-test.html) ซึ่งประกอบด้วยการตอบคำถามเพียงไม่กี่ข้อเช่นกัน

นอกจากนี้ ฟิลิปส์ยังนำเสนออินโฟกราฟิก ใน 2 หัวข้อ ได้แก่“คู่มือ OSA “ที่จะช่วยให้ผู้บริโภครู้จักและเข้าใจ โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้น มากยิ่งขึ้น (คลิก http://www.worldsleepday.respironics.com/files/sleep-apnea-infographic.pdf ) และ “7 เคล็ดลับ เพื่อการพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม และความสดชื่นของคุณเมื่อยามตื่น” (7 Tips to A More Restful & Refreshed You) ส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ อันจะส่งผลดีต่อทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วันนอนหลับโลก ประจำปี 2557 และกิจกรรมส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีคุณภาพของฟิลิปส์ได้ที่ www.philips.com/worldsleepday หรือร่วมติดตามกิจกรรม วันนอนหลับโลก ประจำปี 2557· ทวิตเตอร์ www.twitter.com/PhilipsHealth และ www.twitter.com/PhilipsResp · เฟสบุ๊ค www.facebook.com/Philips_Healthcare และ www.facebook.com/Philips_Respironics · อินสตาแกรม @Philips_Healthcare